วันพฤหัสบดีที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

สมถะกรรมฐาน

ในการนั่งกรรมฐาน ก่อนที่เราจะนั่งต้องกราบ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์สามครั้ง กราบด้วยศรัทธา เชื่อมั่นในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ว่าเป็นของมีจริง เป็นที่เคารพศรัทธาอย่างสูง ไม่มีสิ่งใด       ที่จะเคารพยิ่ง พระรัตนตรัย แล้วกราบบิดามารดาอีกครั้งหนึ่ง กราบครูอาจารย์ผู้ที่สั่งสอนธรรมเราอีกครั้งหนึ่ง รวมแล้ว 5 ครั้ง เรียกว่าปัญจเคารพ เมื่อเราออกจากสมาธิก็กราบอีก 5 ครั้ง เช่นเดียวกัน ทั้งนี้ ก็เพื่อให้เรามีศรัทธาและมีความเคารพใน พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ บิดามารดา ครู อาจารย์ บิดามารดาของเราก็เป็นพระอรหันต์ของลูก พระพุทธองค์ตรัสไว้อย่างนั้นเป็นความจริง เราจึงจำเป็นที่จะต้องกราบไหว้บูชาเป็นการระลึกถึงพระคุณของท่าน ครูอาจารย์ก็เช่นเดียวกัน การที่เรามีความรู้ในปัจจุบันนี่ได้ต้องอาศัย ครูอาจารย์ผู้มีความรู้สั่งสอนเราเราจึงได้ความรู้ ไม่มีใครรู้ขึ้นมาเอง ต้องอาศัยครูอาจารย์ทั้งสิ้น แม้จะทางโลกก็ตามยิ่งทางธรรมดาแล้ว ยิ่งสำคัญมากเพราะการที่ครูอาจารย์ไม่รู้หรือรู้ผิด ๆ แล้วมาสอนเราผู้เป็นศิษย์เราก็ต้องรู้ผิดตามไปด้วย ต้องหลงผิดตามไปด้วย เมื่อครูอาจารย์ยังไม่รู้แจ้งเห็นจริง จะไปสอนลูกศิษย์ให้รู้แจ้งเห็นจริงได้อย่างไร นี่ให้ทำความเห็นอย่างนี้ให้ถูกต้อง ฉะนั้นจำเป็นที่จะต้องระลึกถึงพระคุณอาจารย์ด้วย เหมือนกับตัวอาจารย์นี้ ไม่เคยคิดว่าให้พวกศิษย์หรือใครๆ กราบไหว้อาจารย์หนักหนา เพราะ ในความคิดความนึกในใจของอาจารย์ ไม่มีสิ่งเหล่านี้ เพราะไม่ได้ยึดถือหลักธรรม 8 อันมี ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข ไม่ต้องการอะไรทั้งสิ้น เสื่อมลาภ เสื่อมยศนินทาและทุกข์ก็เช่นเดียวกัน อาจารย์ก็ไม่เดือดร้อนอะไรทั้งสิ้น เพราะเป็นโลกธรรม 8 ซึ่งมีฝ่ายที่ดี 4 ฝ่าย และฝ่ายไม่ดี 8 ฝ่าย ในการสั่งสอนของอาจารย์เพื่อเป็นแบบแผนให้ศิษย์มีปัญญา ถ้าศิษย์ไม่เคารพ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ บิดามารดา และครู อาจารย์ แล้ว จะไปเคารพอะไร เมื่อมีศรัทธาในการเคารพกราบไหว้บูชา อันเป็นการแสดงออกซึ่งความกตัญญูรู้คุณแล้ว ก็จะช่วยให้จิตใจของเราผ่องใสเป็นสิริมงคลก่อนที่เราจะปฏิบัติกรรมฐานต่อไป

         การนั่งก็เช่นเดียวกันเวลานั่งกรรมฐานถ้าเป็นฝ่ายอุบาสิกา จะนั่งพับเพียบก็ได้ จะนั่งขัดสมาธิก็ได้ ฝ่ายอุบาสกหรือผู้ชายนิยมนั่งขัดสมาธิ คือนั่งเอาเท้าขวาทับเท้าซ้าย มือขวาวางทับมือซ้ายบนตักของเราและตั้งตัวให้ตรง อย่าให้ตัวงอหน้าตรงอย่าก้มถ้านั่งหลังงอแล้วนั่งได้ไม่ทนมันจะปวดเอวปวดหลังทำให้เรานั่งนานเป็นชั่วโมง หรือ 40,50 นาทีไม่ได้ฉะนั้นกายให้นั่งตัวตรงเมื่อเสร็จแล้วก็เริ่มบริกรรมภาวนา คือ         ท่องในใจใช่ท่องคำว่า เกศา โลมา นขา ทันตา ตโจ เรียงกันไปเรียกว่าเป็นอนุโลม

 



         เมื่อว่าไป แล้ว จิตก็ยึดกรรมฐานได้ การที่จิตยึดกรรมฐานได้ก็ด้วยไม่หลง ถ้าหลงอย่าไปเที่ยวค้นหา เช่นว่า เกศา โลมา แล้ว มันก็ลืมเสียไม่รู้อะไรจำไม่ได้ อย่าเที่ยวนึก ถ้านึกแล้วเดี๋ยวสังขารขันธ์ หรือการปรับปรุงแต่งของจิตของเรามันจะเอาตัวอื่นมาใส่ให้ ซึ่งจะทำให้จิตมันคิดไปถึงเรื่องอื่นฉะนั้นอย่าไปนึกขึ้น ให้ตั้งต้นว่า เกศา โลมาใหม่ไม่นึกอะไร ถ้ามันนึกคิดอะไรก็ละเสีย เพราะธรรมชาติของจิตมันชอบนึกคิดอยู่นิ่งไม่ได้เมื่อเราภาวนาไปจนจิตตั้งมั่นไว้ดีแล้ว ฌาน ๑ ก็จะเกิดขึ้นไม่มีความนึกคิดอื่นมาปะปนเมื่อจิตยึดกรรมฐานได้มั่นคงแล้ว ก็จะเกิดปีติขึ้นมา โดยมีความรู้สึกต่างๆ เช่น รู้สึกว่าขนลุกขนพอง หรือซาบซ่าน      ที่ผิวกาย ขนลุกซู่ๆ ซ่าๆ อะไรอย่างนี้บางทีก็รู้สึกตัวพองออกไปหรือตัวยาวขึ้นบางทีรู้สึกว่าตัวเตี้ยลงแล้วมาตัวเล็กตัวเบา บางทีก็มีกระตุกที่มือ อาการเหล่านี้แสดงว่าฌาน ๒ เริ่มเกิดขึ้น

          ขณะที่จิตสู่ฌาน ๒ อาจจะมีการกระตุกเกิดขึ้น ก็อย่ากักไว้ กดไว้ คืออย่าเกร็งข้อมือไว้ ปล่อยให้มันเกิดขึ้นถึงตอนนี้กายอาจจะโยกคลอนหรือสั่นอย่างแรงดังสนั่นหวั่นไหวก็อย่าไปตกใจ นั่นแหละเป็นปีติของฌาน ๒ ชื่อของปีติอันอันนี้ชื่อว่า อุพเพงคาปีติ ส่วนที่รู้สึกซาบซ่านตามผิวกาย เรียกว่า ผรราปีติ  ผู้ปฏิบัติจะต้องพยายามทำให้อุพเพงคาปีติจึงจะสมบูรณ์ เพราะเหตุว่าฌาน ๒ นี้ อุพเพงคาปีติเป็นฤทธิ์กำลัง ที่เราต้องทำฌานก็เนื่องจากว่าเมื่อได้ฌาน 4 แล้วมันสู้กับทุกขเวทนาได้ คือความรู้สึกเจ็บปวดต่างๆ หรือง่วงเหงาหาวนอนจะหายไป แต่ถ้าไม่มีฌานแล้วมันสู้ไม่ได้ นอกจากนี้เมื่อปฏิบัติสูงแล้วการเหาะเหินเดินอากาศด้วยกายในกายของเรา หรือเรียกว่า กายทิพย์ ก็อาศัยฌานนี้การได้รสโผฏฐัพพะกระทบกายต่างๆ ก็รู้ด้วยฌานทั้งสิ้น หูทิพย์ ตาทิพย์หยั่งรู้ใจคนมีอิทธิฤทธิ์ระลึกชาติได้แล้วก็มีฤทธิ์ทางใจที่เรียกว่า  มโนมยิทธิ ส่วนการทำกิเลสให้ออกไปจากจิต โดยการฟอกจิตใจให้สะอาด ก็อาศัยฌานนี้แหละเป็นพื้นฐาน จึงจำเป็นที่จะต้องทำฌานถ้าขาดฌานเสียมรรคองค์ที่ 8 ก็ไม่สมบูรณ์ ฉะนั้นใครจะไปพระนิพพานกับมรรค 7,6 หรือ 5 องค์ หรือมรรคองค์เดียวไม่ใช่ทั้งสิ้น มรรค์ต้องครบทั้ง 8 องค์ จึงจะไปพระนิพพานได้

           ส่วนการเข้าฌานที่ 3 นั้น จะเข้าได้ต่อเมื่อฌาน 2 เกิดขึ้นแล้ว คือเมื่อมีอุพเพงคาปีติขึ้น โครมๆ             ดีแล้ว หรือกายสั่นท่าต่างๆ หรือ โยกหน้าโยกหลังแล้ว ซึ่งอาการของปีติเหล่านี้จะต้องมีสติเข้ากำกับอย่าให้ล้มหงายไปเมื่อมีสติอยู่รักษาจิต มันก็มีสติสัมปชัญญะสำหรับคุมกายไว้เอง เพราะสัมปชัญญะคู่สติ  สตินี้เป็นสิ่งสำคัญคอยคุมจิต สัมปชัญญะคอยคุมกายธรรม 2 ประการนี้เป็นธรรมที่มีอุปการะมาก คือส่งให้เราไปถึงพระนิพพานได้ทีเดียว เมื่อเราเข้าได้ ฌาน 2 ดีแล้ว เราก็กระตุกกายขึ้นไปให้ลำตัวตั้งตรง และให้คิดว่า ฌาน 3 อย่านึกถึงฌาน 2 แล้ว จิตของเราก็จะเข้าไปสู่ความสงบ บางครั้งก็พบกับความสุข นั่นคือ รุ้ว่าสุขกาย สุขใจฌานที่ 3 จึงได้ชื่อว่า ฌานสุข

           เมื่อเราไปอยู่ในฌาน 3 พอสมควรแล้ว เราก็มีสติกำหนดที่จิตว่า 4 กระตุกตัวขึ้นไปอีกให้กาย          ตั้งตรง อย่าลดตัวลงมาให้นิ่งเฉย แล้วก็ผ่อนลมหายใจให้อ่อนลงภาวนากรรมบานโดยท่อง เกศา โลมา นขา ทันตา ตโจ ไปเรื่อยๆ จิตก็จะแนบขึ้นๆ แนบเข้าๆ เมื่อจิตสงบมากขึ้นแล้ว บางคนจะพบว่า เท้าเริ่มชา มือเริ่มชาขึ้นมา คือชาทั้งปลายนิ้วมือ นิ้วเท้า แม้ที่ก้นของเราก็เริ่มชาขึ้นมา (ไม่ใช่เหน็บชา) ริมฝีปากก็ชา หากฌาน 4 จับดีจะชาเข้าไปถึงลิ้น แม้ข้อมือ ตลอดถึงลำแขน และหัวไหล่ก็ชา ตัวจะเกร็งเสียงที่มากระทบหูได้ยินแต่ วางเฉย แม้ฟ้าผ่าลงมาดังเปรี้ยงก็ไม่สะดุ้งเลย เพราะจิตเป็นเอกัคคตา-อุเบกขา   คือ    วางเฉย

            ตรงนี้ฝ่ายที่ปฏิบัติทางวิปัสสนา เขาตำหนิติเตียนว่า ทำทางสมถ คือทำฌานนั้นไปพระนิพพานไม่ได้เพราะว่าไปติดฌานเสียนั่นการที่กล่าวเช่นนี้เป็นความหลง หรือเป็นโมหะของผู้กล่าว ไม่รู้ถึงวิธีของการทำฌาน นอกจากนี้ยังไม่รู้ว่า เมื่อทำฌานแล้วจะไม่ให้ติดฌานได้อย่างไรโดยมากส่วนใหญ่ที่เห็นพวกปฏิบัติอยู่ในสมาธิแล้วถึงเวลาออกก็ลืมตาเฉยๆ ซึ่งถ้าขณะปฏิบัติอยู่ในสมาธิระดับลึก เช่น อุปจารสมาธิหรือฌาน 2,3,4 เวลาออกถ้าลืมตาเฉยๆ สมาธิก็จะค้างอยู่ทางที่ถูกแล้ว จะต้องถอยสมาธิออกมาเป็นขั้นๆ เช่นจากฌาน 4 ลงมา 3,2,1 แล้วสลัดกายพร้อมสติที่คิดในใจคอดว่าออกฌานก็ไม่ค้าง พระพุทธองค์สอน ไว้ดีแล้วสมบูรณ์ทุกอย่าง ทรงสอนให้เข้าใจฌานออกฌานให้ชำนิชำนาญเป็นวสี

                การเข้าฌานนั้นเราเข้าไปตั้งแต่ฌาน 1 ขึ้นฌาน 2 จากฌาน 2 ขึ้นฌาน 3 จากฌาน 3 ขึ้นฌาน 4 เรียกว่า “เข้าฌาน” เวลาออกก็จะต้องรู้จักวิธีออกฌานด้วย การออกฌานนั้นให้กำหนดที่จิตว่าถอย 3 โดยถอยจากฌาน 4 ลงมาฌาน 3 คือลดตัวลงมาหน่อยฌานก็จะถอยแล้วเมื่อจิตคิดถอย ฌาน มันก็จะถอยลงมา อุเบกขาค่อยหมดไปมาอยู่ที่ฌาน 3 ซึ่งเป็นฌานสุข แล้วก็ถอยจากฌาน 3 มาฌาน 2 พอถอยมาถึงฌาน 2      อุพเพงคาปีติก็ขึ้นโครมๆ กายโยกกายสั่นอีก ตรงนี้พวกที่ได้ฌานใหม่ๆติดมาก ที่มันติดเพราะมันสนุกชวนให้เพลินมาก รู้สึกมีกำลังชาด้วยแล้วรู้สึกกายมันเบาอยากกระโดดโลดเต้นไปด้วยซ้ำ ซึ่งถ้าจะกระโดดโลดเต้นก็จะออกอึกทึกไป เอาเพียงให้มันสั่น กายโยกกายสั่น กายคลอนบางทีหมุนติ้ว บางทีก็เอาแขนสองแขนตีปีกดังเหมือนไก่ก็มี บางทีก็ตบมือ   สองมือเลยมีลักษณะต่างๆ ปิติทั้งหมดมี 5 ชนิด แต่ละชนิดมี 8,9       อย่างอาการของปิติทั้งหมดมีถึง 38-39 อย่าง เมื่อออกจากญาณ 2 แล้วก็ให้ถอยมาฌาน 1 แล้ว ออกจากฌาน 1     โดยการสลับหัวพร้อมกับคิดว่าออกจากนั้นก็ลืมตาขึ้น เป็นการออกจากฌาน

            การเข้าฌานตามขั้นเหมือนกับเราขึ้นบรรไดเรือนขั้น 1 ขั้น 2 ขั้น 3 ขั้น 4 เวลาออกฌานก็เหมือนกับถอยหลังเดินลงมาจากขั้น 4 มาขั้น 3 2 และ 1 และก็ลงถึงพื้นเป็นแบบนี้ ถ้าใครอวดดีไม่ลงตามขั้นฌาน            คือ   ไม่ถอยลงมาจะไปติดฌาน 4 มันถอยไม่ออก จิตยังอยู่ในสมาธิ ระดับลึก เที่ยวเดินซึมอยู่นั่นแหละ     เป็นตนไม่พูด แม้บางครั้งเขาถามอะไรก็ไม่ได้ยิน บางทีพูดอะไรคำหนึ่ง แล้วก็ไม่พูดต่อมันเสียเพราะฌาน ยังค้างอยู่ ผู้ที่ได้ฌานแล้วตั้งแต่ ฌาน 2 3 4 อาจมีฤทธิ์มีอำนาจ วาจาสิทธิ์ได้เพราะวาจามีสัจจะ เราจะว่าใครให้ฉิบหายเข้าให้ป่นปี้อย่างใดอย่างหนึ่งไม่ได้ ถ้าว่าไปแล้วอาจเป็นจริง ๆขึ้นมา เพราะตอนที่เรามีฌานอยู่ ทุกวันนี้จิตเราเป็นพรหม แม้กายเรายังเป็นมนุษย์อยู่ก็จริงแต่จิตเป็นพรหม แม้กายเรายังเป็นมนุษย์อยู่ก็จริงแต่จิตเป็นพรหมจึงมีวาจาสิทธิ์ได้อย่าได้พูดปรักปรำใครอย่าได้กล่าวตำหนิใครในทางเสียหาย เขาอาจเสียจริงๆ ได้ เช่น สมมุติว่าเห็นคนขึ้นต้นไม้เราพูดเชิงเล่น ว่า เออระวังน้ำ มันจะตกลงมา อย่าพูดเข้า ถ้าพูดมันจะ     ตกลงมาจริงๆ นี่สำคัญมาก ฉะนันเราต้งระวังความคิด ระวังวาจา การทำฌานมีอานิสงฆ์มากมาย เช่น       
                    1. นอนก็หลับสบายไม่ฝันเลอะเทอะ ตื่นขึ้นมาก็สบายจิตใจผ่องใสไม่เศร้าหมอง หน้าตามีราศรี อิ่มเอบด้วยเลือดฝาด
                    2. ศาสตราวุธไม่กินกาย
                    3. ไฟก็ไม่ไหม้บ้าน แม้ยาพิษก็ทำอันตรายไม่ได้
                   4. เป็นที่รักใคร่ของมนุษย์และอมนุษย์ทั้งหลาย
                   5. เทวดาก็คุ้มครองรักษา
                   6. เป็นผู้มีโชคลาภ
                   7. โรคภัยไม่ค่อยเบียดเบียน
            ถ้าใครเกิดตายลงขณะที่มีฌานก็จะไม่เกิดในอบายภูมิ (อันมี นรก เปรต อสูรกาย สัตว์เดรัจฉาน) แต่จะเกิดในพรหมโลก แล้วแต่กำลังที่เรามี ฌานอยู่ถ้าเราอยู่ในฌานที่ 4 เต็มที่ ต้องไปเกิดในพรหมโลก ในชั้นที่ไม่เกิน 11 คือ วิสัญญีภพ มีอายุยืนถึง 500 กัลป์ (1 กัลป์ เท่า 6,420 ล้านปี ) ทุกสิ่งทุกอย่างที่อาจารย์แสดงธรรมในเรื่องการปฏิฌานที่ว่าตาทิพย์ อาจารย์ได้รู้ได้พบเห็นมาแล้วทั้งสิ้น เป็นของมีจริงเป็นจริง จึงยืนยันให้ศิษย์ทุกๆ คนจงเชื่อมั่นในคำสอนที่ให้ไว้นี้ ขอให้ตั้งใจปฏิบัติเมื่อเราได้ฌานแล้ว เราก็จะรู้ทันทีว่าคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าเป็นของมีจริงทำให้เรามีศรัทธาอันแรงกล้าขึ้นทีเดียวแล้วที่เมื่อก่อนเคยดูหมิ่นว่า พระพุทธ  พระธรรม พระสงฆ์ ไม่มีจริงอะไรเหล่านี้ เมื่อเราทำฌานได้  เราจะรู้คุณค่าของพระธรรมว่าพระธรรมเป็นของมีจริง เมื่อมีพระธรรมก็ก็ต้องมีพระพุทธเจ้าจริง พระสงฆ์ก็อาศัยพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุธเจ้าเป็นแนวทางในการประพฤติปฏิบัติจนหมดอาสวะ(กิเลสที่ละเอียด ตามเยี่ยงอย่างพระพุทธเจ้า)


        เมื่อครบแล้วก็ท่องถอยหลังว่า ตโจ ทันตา โลมา เกศา เรียกว่าปฏิโลม ระหว่างที่ภาวนาอยู่นั้น หากมีความคิดใด ๆ ขึ้นมาที่จิต ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอะไรก็ตามก็ให้พยายามมีสติรู้ว่ากำลังคิดเรื่องนั้นๆ  แล้วละความคิดนั้นเสีย หันมาภาวนาเกศา โลมา…ใหม่ โดยมากจิตเรานั้นชอบนึกชอบคิดเสมอ ดังนั้น   พระพุทธองค์จึงมีอุบายให้ภาวนา เพื่อให้จิตไปยึดกรรมฐาน ๕ (เกศา โลมา นขา ทันตา ตโจ) นอกจากกรรมฐาน ๕ แล้วยังมีกรรมฐานอื่นๆ อีกทั้งหมดตั้ง 40 อย่าง แต่จะไม่สอนเพราะถือว่ากรรมฐาน ๕ เป็นสิ่งสำคัญ ที่ว่าเป็นสิ่งสำคัญ ก็เพราะว่าตาบัญญัติเรียกว่า เป็น โกฏธาตุ คือเป็นสิ่งของที่หยาบมีอยู่ในตัวเราทั้งสิ้น สามารถเห็นด้วยตา   เนื้อ ได้
(ที่มาจากคู่มือ ณาญ 4 ของพระอาจารย์กมล สำนักปฏิบัติธรรมพุหวาย ที่ได้ไปอบรม)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น