วันเสาร์ที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

พิธีกรรมทางศาสนาที่เราชาวพุทธต้องทำ

     คำว่า “บวร”  จึงเป็นคำย่อ  โดยการนำเอาพยัญชนะต้นของคำว่า   บ้าน  วัด  โรงเรียน  มา  บัญญัติเป็นคำใหม่  คือ ซึ่งมีองค์ประกอบของ  “บวร”  (ธนพรรณ   ธานี,2545,น.6) ดังต่อไปนี้
                1. สถาบันการปกครอง  (บ้าน)  ซึ่งประกอบไปด้วย   กำนัน  ผู้ใหญ่บ้าน   คณะกรรมการหมู่บ้าน    อบต.  สาธารณสุขตำบล   เกษตรตำบล  เป็นต้น     รวมทั้งระบบกลไกในการบริหารที่มาจากรัฐ ในรูปอื่นๆ  ด้วย
                2.  สถาบันศาสนา  (วัด)  ประกอบด้วย  เจ้าอาวาส   พระภิกษุ  สามเณร  อุบาสก  อุบาสิกา  และ กลุ่ม หรือ  ชมรมทางศาสนา   ซึ่งในความหมายในเชิงกว้าง อาจจะหมายรวมถึง องค์กรหรือ หรือ สถาบันทางศาสนาต่างๆ ในชุมชนนั้นๆ ด้วย  
                3. สถาบันการศึกษา (โรงเรียน)  ประกอบ ด้วย   ครูใหญ่   อาจารย์ใหญ่ คณะครู นักวิชาการ และบุคคลากรทางการศึกษาอื่นๆ  ทั้งในโรงเรียน   วิทยาลัย   มหาวิทยาลัย  และองค์กรทางการศึกษาอื่นๆ ด้วย 
                จุดแข็งอย่างหนึ่งของสังคมไทย ก็คือ การมีพระพุทธศาสนาและได้รับการยอมรับโดยพฤตินัยว่า  ประเทศไทยเป็นเมืองแห่งพระพุทธศาสนา  มีบุคลากรทางพระพุทธศาสนาที่เป็นพระภิกษุและสามเณร จำนวน  340,303 รูป  มีวัดที่มีพระสงฆ์อยู่จำพรรษาจำนวน  33,674  วัด   (ข้อมูลจาก  สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ,2547)
      นอกจากนี้ความผูกพันระหว่างวัดและชุมชน จึงเป็นทุนทางจิตวิญญาณ (Spiritual  capital)  ทุนทางวัฒนธรรม (Cultural  capital)  ในสังคมไทยมาตั้งแต่อดีตจนปัจจุบัน  ตั้งแต่เกิดจนตาย  “บ้าน   วัด   โรงเรียน” จึงเป็นทุนมรดกทางสังคม ที่มีมาคู่สังคมไทย    สถาบันทั้ง 3  จึงมีความสัมพันธ์ในทางสังคม และเป็นตัวเชื่อมโยงกิจกรรมในชุมชนทั้ง มิติทางด้าน  เศรษฐกิจ    สังคม และ วัฒนธรรม
                  ลักษณะชุมชนที่ปรากฏในสังคมไทยจึงมักประกอบด้วย   “บ้าน” (ชุมชน ซึ่งเป็นแหล่งรวมของผู้คนและระบบชีวิตที่ก่อเกิดกิจกรรมทางสังคมที่หลากหลาย)   “วัด” (สถาบันศาสนาซึ่งเป็นตัวขัดเกลาและบ่มเพาะวัฒนธรรมและศูนย์รวมจิตใจของชุมชน)  “โรงเรียน” (สถานศึกษาเป็นตัวเพิ่มเติมความรู้และถ่ายทอดการศึกษาอย่างเป็นระบบ)   สถาบันทั้ง 3  จึงเป็นสถาบันสำคัญในทางสังคมที่จะสามารถนำมาเป็นกลไปที่ก่อให้เกิดกระบวนการสร้างสังคมให้เข้มแข็ง  พัฒนาให้เกิดเครือข่าย  นำสู่ภราดรภาพและสังคมสมานฉันท์  อันเป็นจุดหมายปลายทางของการพัฒนาชุมชนและสังคมได้อีกรูปแบบหนึ่ง
     เพราะฉนั้นชีวิตเราทุกคนผูกพันกับวัดดังนั้นเราจะไม่ศึกษาพิธีกรรมที่สำคัญและจำเป็นเอาไว้หรือ เพื่อที่เราจะได้ปฏิบัติ
ได้อย่างถูกต้อง

พิธีกรรมที่สำคัญในศาสนาพุทธ แบ่งออกเป็น 4 ประเภทใหญ่ๆ ดังนี้


    1. เป็นพิธีกรรมเกี่ยวกับวินัยสงฆ์โดยเฉพาะ และดำเนินการทำพิธีโดยเฉพาะ    พระสงฆ์เท่านั้น ฆราวาสไม่ได้ร่วมด้วย พิธีนี้เรียกว่า สังฆกรรม ฆราวาสจะมีส่วนร่วมในส่วนอื่นที่ไม่ใช่สังฆกรรม เช่น พิธีบรรพชาอุปสมบท พิธีเข้าพรรษา พิธีออกพรรษา


    2. พิธีทำบุญในงานมงคล พระสงฆ์และฆราวาสดำเนินการร่วมกัน เพื่อให้เกิดความเป็นสิริมงคลแก่ชีวิต มีการตั้งบาตรน้ำมนต์ด้วย เช่น พิธีทำบุญงานมงคลสมรส พิธีทำบุญขึ้นบ้านใหม่ พิธีทำบุญวันเกิด พิธีทำบุญถวายสังฆทาน พิธีทำบุญทอดกฐินผ้าป่า พิธีทำบุญตักบาตรวันขึ้นปีใหม่

    3. พิธีทำบุญงานอวมงคล พระสงฆ์และฆราวาสดำเนินการร่วมกัน เพื่ออุทิศ   ส่วนกุศลแก่ญาติที่ล่วงลับไปแล้ว และเพื่อขจัดเสนียดจัญไร เช่น


                1) การทำบุญเกี่ยวกับศพ เช่น การสวดอภิธรรม การฌาปนกิจศพการบรรจุศพ การทำบุญ 7 วัน 50 วัน และ 100 วัน เป็นต้น


               2) การทำบุญขจัดเสนียดจัญไร เมื่อเกิดเหตุที่คนโบราณถือว่า ไม่เป็นมงคลในครอบครัว เช่น แร้งจับบ้าน หรือรุ้งกินน้ำในบ้าน เป็นต้น
    4. พิธีบูชาในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา เป็นพิธีที่ชาวพุทธต้องปฏิบัติร่วมกัน เช่น พิธีบูชาในวันมาฆบูชา พิธีบูชาในวันวิสาขบูชา พิธีบูชาในวันอาสาฬหบูชา


           พิธีกรรมข้อ 1 2 และ 3 เป็นพิธีกรรมที่ชาวพุทธในประเทศไทยปฏิบัติกัน ส่วนชาวพุทธในประเทศอื่นอาจจะปฏิบัติแตกต่างกันไป เพราะพิธีกรรมนี้เกี่ยวข้องกับประเพณีท้องถิ่นซึ่งยากที่จะแยกออกจากกัน


           ส่วนพิธีกรรมในข้อ 4 เป็นพิธีกรรมที่พุทธบริษัท คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกาทั่วโลกต้องปฏิบัติร่วมกัน ปฏิบัติเหมือนกันในวันและเวลาเดียวกัน ถือว่าพิธีนี้เป็นสากลสำหรับชาวพุทธ ซึ่งจะได้กล่าวในรายละเอียดของแต่ละพิธีต่อไปดังนี้


               1. พิธีบูชาในวันมาฆบูชา พิธีนี้จะปฏิบัติกันในวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 กิจกรรมที่ปฏิบัติ มีดังนี้


               1) ประดับธงธรรมจักรที่วัด สถานที่ราชการ และอาคารบ้านเรือน
               2) ทำบุญตักบาตรที่วัด
               3) ฟังเทศน์
               4) เวียนเทียนรอบปูชนียสถาน 3 รอบ การเวียนเทียนนี้ปฏิบัติกันได้ทั้งวันตั้งแต่เช้าถึงเย็น ผู้ที่มาเวียนเทียนจะมาเป็นกลุ่ม เช่น ส่วนราชการ ทหาร ตำรวจ นักเรียน และประชาชน แต่ส่วนมากจะปฏิบัติกันเวลาเย็น


           การเวียนเทียนทุกคนจะถือเครื่องสักการะคือ ดอกไม้ ธูปเทียน เวลาเวียนเทียนจะจุดธูปเทียน เพื่อบูชาคุณพระพุทธเจ้า พระธรรมเจ้า และพระสังฆเจ้า


           ประวัติความเป็นมาของวันมาฆบูชา เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสรู้แล้วเป็นเวลา 9 เดือน ขณะที่พระองค์ประทับอยู่ ณ เวฬุวันมหาวิหาร กรุงราชคฤห์ ได้มีการประชุมพระสาวกครั้งใหญ่ เรียกการประชุมครั้งนี้ว่า จาตุรงคสันนิบาตŽ คือ การประชุมมีองค์ 4 ต่อไปนี้


           1) วันนั้นเป็นวันอุโบสถ ขึ้น 15 ค่ำ เดือนมาฆะ
           2) พระสาวก 1,250 องค์ มาประชุมกันเอง โดยมิได้นัดหมาย
           3) พระสาวกทั้งหมดนี้ล้วนเป็นพระอรหันต์
           4) พระอรหันต์สาวกเหล่านี้เป็นผู้ได้รับการอุปสมบทจากพระพุทธองค์เอง


           การประชุมครั้งนั้น เป็นการประชุมใหญ่ครั้งแรก พระองค์เห็นว่าเป็นโอกาสอันเหมาะที่จะได้ประกาศหลักพระพุทธศาสนา เพื่อให้พระสาวกถือไปเป็นนโยบายในการประกาศพระศาสนา จึงได้ทรงแสดง โอวาทปาฏิโมกข์Žแปลว่า หลักแห่งคำสอน


           โอวาทปาฏิโมกข์ ที่พระองค์ทรงแสดงนั้น ถือกันว่าเป็นหลักหรือหัวใจศาสนาพุทธเป็นภาษาบาลี 3 คาถา ซึ่งพอจะจับใจความได้ดังนี้


           "ความอดทนคือความอดกลั้นเป็นตบะอย่างยิ่ง พระพุทธเจ้าทั้งหลายกล่าวว่า   พระนิพพานเป็นธรรมยอดเยี่ยม บุคคลผู้ทำร้ายผู้อื่น หาได้เป็นบรรพชิตไม่ ผู้เบียดเบียนผู้อื่น ก็ไม่ชื่อว่าเป็นสมณะ


             การไม่ทำบาปทั้งปวง การทำความดีให้สมบูรณ์ การชำระจิตใจให้ผ่องใส นี้เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย


             การไม่กล่าวร้าย การไม่ทำร้าย การสำรวมในวินัย      ความรู้จักพอดีในเรื่องอาหาร การนอนการนั่งในที่อันสงบ การบำเพ็ญเพียรทางใจ นี้เป็น      คำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย"


               2. พิธีบูชาในวันวิสาขบูชา กระทำกันในวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 มีพิธีปฏิบัติและกิจกรรมเหมือนกันกับวันมาฆบูชา
  ประวัติความเป็นมาของพิธีบูชาวันวิสาขบูชา เนื่องจากวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 เป็นวันคล้ายวันประสูติ วันตรัสรู้ และวันปรินิพพานของพระพุทธเจ้า ชาวพุทธทั่วโลกจึงถือว่าวันนี้เป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา


               3. พิธีบูชาในวันอาสาฬหบูชา กระทำกันในวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 มีวิธีปฏิบัติและกิจกรรมเหมือนวันมาฆบูชา


               ประวัติความเป็นมาของพิธีบูชาในวันอาสาฬหบูชา คือ เป็นวันที่พระพุทธองค์ทรงแสดงปฐมเทศนา คือ ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร แก่ปัญจวัคคีย์ และเมื่อทรงแสดงธรรมจบแล้วอัญญาโกณฑัญญะซึ่งเป็นหัวหน้าเหล่าปัญจวัคคีย์ได้ดวงตาเห็นธรรม พระพุทธองค์ทรงประทานอุปสมบทแก่อัญญาโกณฑัญญะเป็นคนแรก วันนั้นจึงเป็นวันที่มีพระอริยสงฆ์อุบัติขึ้นในโลกเป็นครั้งแรก จึงทำให้พระรัตนตรัยครบบริบูรณ์ทั้ง 3 ประการ คือ พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ ชาวพุทธทั่วโลกจึงถือว่าวันอาสาฬหบูชาเป็นวันสำคัญทางศาสนาพุทธอีกวันหนึ่ง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น