วันเสาร์ที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

พิธีกรรมทางศาสนาที่เราชาวพุทธต้องทำ

     คำว่า “บวร”  จึงเป็นคำย่อ  โดยการนำเอาพยัญชนะต้นของคำว่า   บ้าน  วัด  โรงเรียน  มา  บัญญัติเป็นคำใหม่  คือ ซึ่งมีองค์ประกอบของ  “บวร”  (ธนพรรณ   ธานี,2545,น.6) ดังต่อไปนี้
                1. สถาบันการปกครอง  (บ้าน)  ซึ่งประกอบไปด้วย   กำนัน  ผู้ใหญ่บ้าน   คณะกรรมการหมู่บ้าน    อบต.  สาธารณสุขตำบล   เกษตรตำบล  เป็นต้น     รวมทั้งระบบกลไกในการบริหารที่มาจากรัฐ ในรูปอื่นๆ  ด้วย
                2.  สถาบันศาสนา  (วัด)  ประกอบด้วย  เจ้าอาวาส   พระภิกษุ  สามเณร  อุบาสก  อุบาสิกา  และ กลุ่ม หรือ  ชมรมทางศาสนา   ซึ่งในความหมายในเชิงกว้าง อาจจะหมายรวมถึง องค์กรหรือ หรือ สถาบันทางศาสนาต่างๆ ในชุมชนนั้นๆ ด้วย  
                3. สถาบันการศึกษา (โรงเรียน)  ประกอบ ด้วย   ครูใหญ่   อาจารย์ใหญ่ คณะครู นักวิชาการ และบุคคลากรทางการศึกษาอื่นๆ  ทั้งในโรงเรียน   วิทยาลัย   มหาวิทยาลัย  และองค์กรทางการศึกษาอื่นๆ ด้วย 
                จุดแข็งอย่างหนึ่งของสังคมไทย ก็คือ การมีพระพุทธศาสนาและได้รับการยอมรับโดยพฤตินัยว่า  ประเทศไทยเป็นเมืองแห่งพระพุทธศาสนา  มีบุคลากรทางพระพุทธศาสนาที่เป็นพระภิกษุและสามเณร จำนวน  340,303 รูป  มีวัดที่มีพระสงฆ์อยู่จำพรรษาจำนวน  33,674  วัด   (ข้อมูลจาก  สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ,2547)
      นอกจากนี้ความผูกพันระหว่างวัดและชุมชน จึงเป็นทุนทางจิตวิญญาณ (Spiritual  capital)  ทุนทางวัฒนธรรม (Cultural  capital)  ในสังคมไทยมาตั้งแต่อดีตจนปัจจุบัน  ตั้งแต่เกิดจนตาย  “บ้าน   วัด   โรงเรียน” จึงเป็นทุนมรดกทางสังคม ที่มีมาคู่สังคมไทย    สถาบันทั้ง 3  จึงมีความสัมพันธ์ในทางสังคม และเป็นตัวเชื่อมโยงกิจกรรมในชุมชนทั้ง มิติทางด้าน  เศรษฐกิจ    สังคม และ วัฒนธรรม
                  ลักษณะชุมชนที่ปรากฏในสังคมไทยจึงมักประกอบด้วย   “บ้าน” (ชุมชน ซึ่งเป็นแหล่งรวมของผู้คนและระบบชีวิตที่ก่อเกิดกิจกรรมทางสังคมที่หลากหลาย)   “วัด” (สถาบันศาสนาซึ่งเป็นตัวขัดเกลาและบ่มเพาะวัฒนธรรมและศูนย์รวมจิตใจของชุมชน)  “โรงเรียน” (สถานศึกษาเป็นตัวเพิ่มเติมความรู้และถ่ายทอดการศึกษาอย่างเป็นระบบ)   สถาบันทั้ง 3  จึงเป็นสถาบันสำคัญในทางสังคมที่จะสามารถนำมาเป็นกลไปที่ก่อให้เกิดกระบวนการสร้างสังคมให้เข้มแข็ง  พัฒนาให้เกิดเครือข่าย  นำสู่ภราดรภาพและสังคมสมานฉันท์  อันเป็นจุดหมายปลายทางของการพัฒนาชุมชนและสังคมได้อีกรูปแบบหนึ่ง
     เพราะฉนั้นชีวิตเราทุกคนผูกพันกับวัดดังนั้นเราจะไม่ศึกษาพิธีกรรมที่สำคัญและจำเป็นเอาไว้หรือ เพื่อที่เราจะได้ปฏิบัติ
ได้อย่างถูกต้อง

พิธีกรรมที่สำคัญในศาสนาพุทธ แบ่งออกเป็น 4 ประเภทใหญ่ๆ ดังนี้


    1. เป็นพิธีกรรมเกี่ยวกับวินัยสงฆ์โดยเฉพาะ และดำเนินการทำพิธีโดยเฉพาะ    พระสงฆ์เท่านั้น ฆราวาสไม่ได้ร่วมด้วย พิธีนี้เรียกว่า สังฆกรรม ฆราวาสจะมีส่วนร่วมในส่วนอื่นที่ไม่ใช่สังฆกรรม เช่น พิธีบรรพชาอุปสมบท พิธีเข้าพรรษา พิธีออกพรรษา


    2. พิธีทำบุญในงานมงคล พระสงฆ์และฆราวาสดำเนินการร่วมกัน เพื่อให้เกิดความเป็นสิริมงคลแก่ชีวิต มีการตั้งบาตรน้ำมนต์ด้วย เช่น พิธีทำบุญงานมงคลสมรส พิธีทำบุญขึ้นบ้านใหม่ พิธีทำบุญวันเกิด พิธีทำบุญถวายสังฆทาน พิธีทำบุญทอดกฐินผ้าป่า พิธีทำบุญตักบาตรวันขึ้นปีใหม่

    3. พิธีทำบุญงานอวมงคล พระสงฆ์และฆราวาสดำเนินการร่วมกัน เพื่ออุทิศ   ส่วนกุศลแก่ญาติที่ล่วงลับไปแล้ว และเพื่อขจัดเสนียดจัญไร เช่น


                1) การทำบุญเกี่ยวกับศพ เช่น การสวดอภิธรรม การฌาปนกิจศพการบรรจุศพ การทำบุญ 7 วัน 50 วัน และ 100 วัน เป็นต้น


               2) การทำบุญขจัดเสนียดจัญไร เมื่อเกิดเหตุที่คนโบราณถือว่า ไม่เป็นมงคลในครอบครัว เช่น แร้งจับบ้าน หรือรุ้งกินน้ำในบ้าน เป็นต้น
    4. พิธีบูชาในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา เป็นพิธีที่ชาวพุทธต้องปฏิบัติร่วมกัน เช่น พิธีบูชาในวันมาฆบูชา พิธีบูชาในวันวิสาขบูชา พิธีบูชาในวันอาสาฬหบูชา


           พิธีกรรมข้อ 1 2 และ 3 เป็นพิธีกรรมที่ชาวพุทธในประเทศไทยปฏิบัติกัน ส่วนชาวพุทธในประเทศอื่นอาจจะปฏิบัติแตกต่างกันไป เพราะพิธีกรรมนี้เกี่ยวข้องกับประเพณีท้องถิ่นซึ่งยากที่จะแยกออกจากกัน


           ส่วนพิธีกรรมในข้อ 4 เป็นพิธีกรรมที่พุทธบริษัท คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกาทั่วโลกต้องปฏิบัติร่วมกัน ปฏิบัติเหมือนกันในวันและเวลาเดียวกัน ถือว่าพิธีนี้เป็นสากลสำหรับชาวพุทธ ซึ่งจะได้กล่าวในรายละเอียดของแต่ละพิธีต่อไปดังนี้


               1. พิธีบูชาในวันมาฆบูชา พิธีนี้จะปฏิบัติกันในวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 กิจกรรมที่ปฏิบัติ มีดังนี้


               1) ประดับธงธรรมจักรที่วัด สถานที่ราชการ และอาคารบ้านเรือน
               2) ทำบุญตักบาตรที่วัด
               3) ฟังเทศน์
               4) เวียนเทียนรอบปูชนียสถาน 3 รอบ การเวียนเทียนนี้ปฏิบัติกันได้ทั้งวันตั้งแต่เช้าถึงเย็น ผู้ที่มาเวียนเทียนจะมาเป็นกลุ่ม เช่น ส่วนราชการ ทหาร ตำรวจ นักเรียน และประชาชน แต่ส่วนมากจะปฏิบัติกันเวลาเย็น


           การเวียนเทียนทุกคนจะถือเครื่องสักการะคือ ดอกไม้ ธูปเทียน เวลาเวียนเทียนจะจุดธูปเทียน เพื่อบูชาคุณพระพุทธเจ้า พระธรรมเจ้า และพระสังฆเจ้า


           ประวัติความเป็นมาของวันมาฆบูชา เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสรู้แล้วเป็นเวลา 9 เดือน ขณะที่พระองค์ประทับอยู่ ณ เวฬุวันมหาวิหาร กรุงราชคฤห์ ได้มีการประชุมพระสาวกครั้งใหญ่ เรียกการประชุมครั้งนี้ว่า จาตุรงคสันนิบาตŽ คือ การประชุมมีองค์ 4 ต่อไปนี้


           1) วันนั้นเป็นวันอุโบสถ ขึ้น 15 ค่ำ เดือนมาฆะ
           2) พระสาวก 1,250 องค์ มาประชุมกันเอง โดยมิได้นัดหมาย
           3) พระสาวกทั้งหมดนี้ล้วนเป็นพระอรหันต์
           4) พระอรหันต์สาวกเหล่านี้เป็นผู้ได้รับการอุปสมบทจากพระพุทธองค์เอง


           การประชุมครั้งนั้น เป็นการประชุมใหญ่ครั้งแรก พระองค์เห็นว่าเป็นโอกาสอันเหมาะที่จะได้ประกาศหลักพระพุทธศาสนา เพื่อให้พระสาวกถือไปเป็นนโยบายในการประกาศพระศาสนา จึงได้ทรงแสดง โอวาทปาฏิโมกข์Žแปลว่า หลักแห่งคำสอน


           โอวาทปาฏิโมกข์ ที่พระองค์ทรงแสดงนั้น ถือกันว่าเป็นหลักหรือหัวใจศาสนาพุทธเป็นภาษาบาลี 3 คาถา ซึ่งพอจะจับใจความได้ดังนี้


           "ความอดทนคือความอดกลั้นเป็นตบะอย่างยิ่ง พระพุทธเจ้าทั้งหลายกล่าวว่า   พระนิพพานเป็นธรรมยอดเยี่ยม บุคคลผู้ทำร้ายผู้อื่น หาได้เป็นบรรพชิตไม่ ผู้เบียดเบียนผู้อื่น ก็ไม่ชื่อว่าเป็นสมณะ


             การไม่ทำบาปทั้งปวง การทำความดีให้สมบูรณ์ การชำระจิตใจให้ผ่องใส นี้เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย


             การไม่กล่าวร้าย การไม่ทำร้าย การสำรวมในวินัย      ความรู้จักพอดีในเรื่องอาหาร การนอนการนั่งในที่อันสงบ การบำเพ็ญเพียรทางใจ นี้เป็น      คำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย"


               2. พิธีบูชาในวันวิสาขบูชา กระทำกันในวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 มีพิธีปฏิบัติและกิจกรรมเหมือนกันกับวันมาฆบูชา
  ประวัติความเป็นมาของพิธีบูชาวันวิสาขบูชา เนื่องจากวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 เป็นวันคล้ายวันประสูติ วันตรัสรู้ และวันปรินิพพานของพระพุทธเจ้า ชาวพุทธทั่วโลกจึงถือว่าวันนี้เป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา


               3. พิธีบูชาในวันอาสาฬหบูชา กระทำกันในวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 มีวิธีปฏิบัติและกิจกรรมเหมือนวันมาฆบูชา


               ประวัติความเป็นมาของพิธีบูชาในวันอาสาฬหบูชา คือ เป็นวันที่พระพุทธองค์ทรงแสดงปฐมเทศนา คือ ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร แก่ปัญจวัคคีย์ และเมื่อทรงแสดงธรรมจบแล้วอัญญาโกณฑัญญะซึ่งเป็นหัวหน้าเหล่าปัญจวัคคีย์ได้ดวงตาเห็นธรรม พระพุทธองค์ทรงประทานอุปสมบทแก่อัญญาโกณฑัญญะเป็นคนแรก วันนั้นจึงเป็นวันที่มีพระอริยสงฆ์อุบัติขึ้นในโลกเป็นครั้งแรก จึงทำให้พระรัตนตรัยครบบริบูรณ์ทั้ง 3 ประการ คือ พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ ชาวพุทธทั่วโลกจึงถือว่าวันอาสาฬหบูชาเป็นวันสำคัญทางศาสนาพุทธอีกวันหนึ่ง

ศิลพระ

พระภิกษุต้องถือศีล ๒๒๗ ข้ออันได้แก่

ศีล ๒๒๗ ข้อที่เป็นวินัยของสงฆ์ ทำผิดถือว่าเป็นอาบัติ สามารถแบ่งออกได้เป็นลำดับขั้น ตั้งแต่ขั้นรุนแรงจนกระทั่งเบาที่สุดได้ดังนี้ ได้แก่
ปาราชิก มี ๔ ข้อ
สังฆาทิเสส มี ๑๓ ข้อ
อนิยต มี ๒ ข้อ (อาบัติที่ไม่แน่ว่าจะปรับข้อไหน)
นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๓๐ ข้อ (อาบัติที่ต้องสละสิ่งของว่าด้วยเรื่องจีวร ไหม บาตร อย่างละ ๑๐ข้อ)
ปาจิตตีย์ มี ๙๒ ข้อ (ว่าด้วยอาบัติที่ไม่ต้องสละสิ่งของ)
ปาฏิเทสนียะ มี ๔ ข้อ (ว่าด้วยอาบัติที่พึงแสดงคืน)

เสขิยะ (ข้อที่ภิกษุพึงศึกษาเรื่องมารยาท) แบ่งเป็น
สารูปมี ๒๖ ข้อ (ความเหมาะสมในการเป็นสมณะ)
โภชนปฏิสังยุตต์ มี ๓๐ ข้อ (ว่าด้วยการฉันอาหาร)
ธัมมเทสนาปฏิสังยุตต์ มี ๑๖ ข้อ (ว่าด้วยการแสดงธรรม)
ปกิณสถะ มี ๓ ข้อ (เบ็ดเตล็ด)

อธิกรณสมถะ มี ๗ ข้อ (ธรรมสำหรับระงับอธิกรณ์)

รวมทั้งหมดแล้ว ๒๒๗ ข้อ ผิดข้อใดข้อหนึ่งถือว่าต้องอาบัติ การแสดงอาบัติสามารถกล่าวกับพระภิฏษุรูปอื่นเพื่อเป็นการแสดงตนต่อความผิดได้ แต่ถ้าถึงขั้นปาราชิกก็ต้องสึกอย่างเดียว

ปาราชิก มี ๔ ข้อได้แก่
๑. เสพเมถุน แม้กับสัตว์เดรัจฉานตัวเมีย (ร่วมสังวาสกับคนหรือสัตว์)
๒. ถือเอาทรัพย์ที่เจ้าของไม่ได้ให้มาเป็นของตน จากบ้านก็ดี จากป่าก็ดี (ขโมย)
๓. พรากกายมนุษย์จากชีวิต (ฆ่าคน)หรือแสวงหาศาสตราอันจะนำไปสู่ความตายแก่ร่างกายมนุษย์
๔. กล่าวอวดอุตตริมนุสสธัมม์ อันเป็นความเห็นอย่างประเสริฐ อย่างสามารถ น้อมเข้าในตัวว่า ข้าพเจ้ารู้อย่างนี้ ข้าพเจ้าเห็นอย่างนี้ (ไม่รู้จริง แต่โอ้อวดความสามารถของตัวเอง)

สังฆาทิเสส มี ๑๓ ข้อ ถือเป็นความผิดหากทำสิ่งใดต่อไปนี้ ๑.ปล่อยน้ำอสุจิด้วยความจงใจ เว้นไว้แต่ฝัน
๒.เคล้าคลึง จับมือ จับช้องผม ลูบคลำ จับต้องอวัยวะอันใดก็ตามของสตรีเพศ
๓.พูดจาหยาบคาย เกาะแกะสตรีเพศ เกี้ยวพาราสี 
๔.การกล่าวถึงคุณในการบำเรอตนด้วยกาม หรือถอยคำพาดพิงเมถุน 
๕.ทำตัวเป็นสื่อรัก บอกความต้องการของอีกฝ่ายให้กับหญิงหรือชาย แม้สามีกับภรรยา หรือแม้แต่หญิงขายบริการ 
๖.สร้างกุฏิด้วยการขอ
๗.สร้างวิหารใหญ่ โดยพระสงฆ์มิได้กำหนดที่ รุกรานคนอื่น
๘.แกล้งใส่ความว่าปาราชิกโดยไม่มีมูล
๙.แกล้งสมมุติแล้วใส่ความว่าปาราชิกโดยไม่มีมูล
๑๐.ยุยงสงฆ์ให้แตกกัน
๑๑.เป็นพวกของผู้ที่ทำสงฆ์ให้แตกกัน
๑๒.เป็นผู้ว่ายากสอนยาก และต้องโดนเตือนถึง 3 ครั้ง
๑๓. ทำตัวเป็นเหมือนคนรับใช้ ประจบคฤหัสถ์

อนิยตกัณฑ์ มี ๒ ข้อได้แก่
๑. การนั่งในที่ลับตา มีอาสนะกำบังอยู่กับสตรีเพศ และมีผู้มาเห็นเป็นผู้ที่เชื่อถือได้พูดขึ้นด้วยธรรม
๒. ในสถานที่ที่ไม่เป็นที่ลับตาเสียทีเดียว แต่เป็นที่ที่จะพูดจาค่อนแคะสตรีเพศได้สองต่อสองกับภิกษุผู้เดียว และมีผู้มาเห็นเป็นผู้ที่เชื่อถือได้พูดขึ้นด้วยธรรม 2 ประการอันใดอันหนึ่งกล่าวแก่ภิกษุนั้นได้แก่ สังฆาทิเสสก็ดี หรือปาจิตตีย์ก็ดี ภิกษุนั้นถือว่ามีความผิดตามที่อุบาสกผู้นั้นกล่าว
๓ ประการอันใดอันหนึ่งกล่าวแก่ภิกษุนั้นได้แก่ ปาราชิกก็ดี สังฆาทิเสสก็ดี หรือปาจิตตีย์ก็ดี ภิกษุนั้นถือว่ามีความผิดตามที่อุบาสกผู้นั้นกล่าว

นิสสัคคิยปาจิตตีย์ มี ๓๐ ข้อ ถือเป็นความผิดได้แก่
๑.เก็บจีวรที่เกินความจำเป็นไว้เกิน ๑๐ วัน
๒.อยู่โดยปราศจากจีวรแม้แต่คืนเดียว
๓.เก็บผ้าที่จะทำจีวรไว้เกินกำหนด ๑ เดือน 
๔.ใช้ให้ภิกษุณีซักผ้า     
๕.รับจีวรจากมือของภิกษุณี
๖.ขอจีวรจากคฤหัสถ์ที่ไม่ใช่ญาติ เว้นแต่จีวรหายหรือถูกขโมย 
๗.รับจีวรเกินกว่าที่ใช้นุ่ง เมื่อจีวรถูกชิงหรือหายไป
๘.พูดทำนองขอจีวรดีๆ กว่าที่เขากำหนดจะถวายไว้แต่เดิม     
๙.พูดให้เขารวมกันซื้อจีวรดีๆ มาถวาย 
๑๐.ทวงจีวรจากคนที่รับอาสาเพื่อซื้อจีวรถวายเกินกว่า ๓ ครั้ง 
๑๑.หล่อเครื่องปูนั่งที่เจือด้วยไหม       
๑๒.หล่อเครื่องปูนั่งด้วยขนเจียม (ขนแพะ แกะ) ดำล้วน
๑๓.ใช้ขนเจียมดำเกิน ๒ ส่วนใน ๔ ส่วน หล่อเครื่องปูนั่ง   
๑๔.หล่อเครื่องปูนั่งใหม่ เมื่อของเดิมยังใช้ไม่ถึง ๖ ปี 
๑๕.เมื่อหล่อเครื่องปูนั่งใหม่ ให้เอาของเก่าเจือปนลงไปด้วย   
๑๖.นำขนเจียมไปด้วยตนเองเกิน ๓ โยชน์ เว้นแต่มีผู้นำไปให้
๑๗.ใช้ภิกษุณีที่ไม่ใช้ญาติทำความสะอาดขนเจียม
๑๘.รับเงินทอง
๑๙.ซื้อขายด้วยเงินทอง
๒๐.ซื้อขายโดยใช้ของแลก
๒๑.เก็บบาตรที่มีใช้เกินความจำเป็นไว้เกิน ๑๐ วัน
๒๒.ขอบาตร เมื่อบาตรเป็นแผลไม่เกิน ๕ แห่ง
๒๓.เก็บเภสัช ๕ (เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย)ไว้เกิน ๗ วัน
๒๔.แสวงและทำผ้าอาบน้ำฝนไว้เกินกำหนด ๑ เดือนก่อนหน้าฝน
๒๕.ให้จีวรภิกษุอื่นแล้วชิงคืนในภายหลัง
๒๖.ขอด้ายเอามาทอเป็นจีวร
๒๗.กำหนดให้ช่างทอทำให้ดีขึ้น
๒๘.เก็บผ้าจำนำพรรษา (ผ้าที่ถวายภิกษุเพื่ออยู่พรรษา) เกินกำหนด
๒๙.อยู่ป่าแล้วเก็บจีวรไว้ในบ้านเกิน ๖ คืน
๓๐.น้อมลาภสงฆ์มาเพื่อให้เขาถวายตน

ปาจิตตีย์ มี ๙๒ ข้อได้แก่
๑.ห้ามพูดปด         
๒.ห้ามด่า         
๓.ห้ามพูดส่อเสียด     
๔.ห้ามกล่าวธรรมพร้อมกับผู้ไม่ได้บวชในขณะสอน 
๕.ห้ามนอนร่วมกับอนุปสัมบัน(ผู้ไม่ใช้ภิกษุ)เกิน ๓ คืน   
๖.ห้ามนอนร่วมกับผู้หญิง       
๗.ห้ามแสดงธรรมสองต่อสองกับผู้หญิง   
๘.ห้ามบอกคุณวิเศษที่มีจริงแก่ผู้มิได้บวช   
๙.ห้ามบอกอาบัติชั่วหยาบของภิกษุแก่ผู้มิได้บวช     
๑๐.ห้ามขุดดินหรือใช้ให้ขุด     
๑๑.ห้ามทำลายต้นไม้ 
๑๒.ห้ามพูดเฉไฉเมื่อถูกสอบสวน   
๑๓.ห้ามติเตียนภิกษุผู้ทำการสงฆ์โดยชอบ
๑๔.ห้ามทิ้งเตียงตั่งของสงฆ์ไว้กลางแจ้ง     
๑๕.ห้ามปล่อยที่นอนไว้ ไม่เก็บงำ
๑๖.ห้ามนอนแทรกภิกษุผู้เข้าไปอยู่ก่อน     
๑๗.ห้ามฉุดคร่าภิกษุออกจากวิหารของสงฆ์   
๑๘.ห้ามนั่งนอนทับเตียงหรือตั่งที่อยู่ชั้นบน     
๑๙.ห้ามพอกหลังคาวิหารเกิน ๓ ชั้น   
๒๐.ห้ามเอาน้ำมีสัตว์รดหญ้าหรือดิน       
๒๑.ห้ามสอนนางภิกษุณีเมื่อมิได้รับมอบหมาย 
๒๒.ห้ามสอนนางภิกษุณีตั้งแต่อาทิ ตย์ตกแล้ว 
๒๓.ห้ามไปสอนนางภิกษุณีถึงที่อยู่   
๒๔.ห้ามติเตียนภิกษุอื่นว่าสอนนางภิกษุณีเพราะเห็นแก่ลาภ   
๒๕.ห้ามให้จีวรแก่นางภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ     
๒๖.ห้ามเย็บจีวรให้นางภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ   
๒๗.ห้ามเดินทางไกลร่วมกับนางภิกษุณี 
๒๘.ห้ามชวนนางภิกษุณีเดินทางเรือร่วมกัน   
๒๙.ห้ามฉันอาหารที่นางภิกษุณีไปแนะให้เขาถวาย   
๓๐.ห้ามนั่งในที่ลับสองต่อสองกับภิกษุณี   
๓๑.ห้ามฉันอาหารในโรงพักเดินทางเกิน ๓ มื้อ 
๓๒.ห้ามฉันอาหารรวมกลุ่ม 
๓๓.ห้ามรับนิมนต์แล้วไปฉันอาหารที่อื่น 
๓๔.ห้ามรับบิณฑบาตเกิน ๓ บาตร   
๓๕.ห้ามฉันอีกเมื่อฉันในที่นิมนต์เสร็จแล้ว 
๓๖.ห้ามพูดให้ภิกษุที่ฉันแล้วฉันอีกเพื่อจับผิด
๓๗.ห้ามฉันอาหารในเวลาวิกาล
๓๘.ห้ามฉันอาหารที่เก็บไว้ค้างคืน 
๓๙.ห้ามขออาหารประณีตมาเพื่อฉันเอง   
๔๐.ห้ามฉันอาหารที่มิได้รับประเคน   
๔๑.ห้ามยื่นอาหารด้วยมือให้ชีเปลือยและนักบวชอื่นๆ 
๔๒.ห้ามชวนภิกษุไปบิณฑบาตด้วยแล้วไล่กลับ   
๔๓.ห้ามเข้าไปแทรกแซงในสกุลที่มีคน ๒ คน   
๔๔.ห้ามนั่งในที่ลับมีที่กำบังกับมาตุคาม (ผู้หญิง)
๔๕.ห้ามนั่งในที่ลับ (หู) สองต่อสองกับมาตุคาม
๔๖.ห้ามรับนิมนต์แล้วไปที่อื่นไม่บอกลา 
๔๗.ห้ามขอของเกินกำหนดเวลาที่เขาอนุญาตไว้
๔๘.ห้ามไปดูกองทัพที่ยกไป
๔๙.ห้ามพักอยู่ในกองทัพเกิน ๓ คืน
๕๐.ห้ามดูเขารบกันเป็นต้น เมื่อไปในกองทัพ
๕๑.ห้ามดื่มสุราเมรัย
๕๒.ห้ามจี้ภิกษุ
๕๓.ห้ามว่ายน้ำเล่น
๕๔.ห้ามแสดงความไม่เอื้อเฟื้อในวินัย
๕๕.ห้ามหลอกภิกษุให้กลัว
๕๖.ห้ามติดไฟเพื่อผิง
๕๗.ห้ามอาบน้ำบ่อยๆเว้นแต่มีเหตุ
๕๘.ให้ทำเครื่องหมายเครื่องนุ่งห่ม
๕๙.วิกัปจีวรไว้แล้ว (ทำให้เป็นสองเจ้าของ-ให้ยืมใช้) จะใช้ต้องถอนก่อน
๖๐.ห้ามเล่นซ่อนบริขารของภิกษุอื่น
๖๑.ห้ามฆ่าสัตว์
๖๒.ห้ามใช้น้ำมีตัวสัตว์
๖๓.ห้ามรื้อฟื้นอธิกรณ์(คดีความ-ข้อโต้เถียง)ที่ชำระเป็นธรรมแล้ว
๖๔.ห้ามปกปิดอาบัติชั่วหยาบของภิกษุอื่น
๖๕.ห้ามบวชบุคคลอายุไม่ถึง ๒๐ ปี
๖๖.ห้ามชวนพ่อค้าผู้หนีภาษีเดินทางร่วมกัน
๖๗.ห้ามชวนผู้หญิงเดินทางร่วมกัน
๖๘.ห้ามกล่าวตู่พระธรรมวินัย (ภิกษุอื่นห้ามและสวดประกาศเกิน ๓ ครั้ง)
๖๙.ห้ามคบภิกษุผู้กล่าวตู่พระธรรมวินัย
๗๐.ห้ามคบสามเณรผู้กล่าวตู่พระธรรมวินัย
๗๑.ห้ามพูดไถลเมื่อทำผิดแล้ว
๗๒.ห้ามกล่าวติเตียนสิกขาบท
๗๓.ห้ามพูดแก้ตัวว่า เพิ่งรู้ว่ามีในปาฏิโมกข์
๗๔.ห้ามทำร้ายร่างกายภิกษุ
๗๕.ห้ามเงื้อมือจะทำร้ายภิกษุ
๗๖.ห้ามโจทภิกษุด้วยอาบัติสังฆาทิเสสที่ไม่มีมูล
๗๗.ห้ามก่อความรำคาญแก่ภิกษุอื่น
๗๘.ห้ามแอบฟังความของภิกษุผู้ทะเลาะกัน
๗๙.ให้ฉันทะแล้วห้ามพูดติเตียน
๘๐.ขณะกำลังประชุมสงฆ์ ห้ามลุกไปโดยไม่ให้ฉันทะ
๘๑.ร่วมกับสงฆ์ให้จีวรแก่ภิกษุแล้ว ห้ามติเตียนภายหลัง
๘๒.ห้ามน้อมลาภสงฆ์มาเพื่อบุคคล
๘๓.ห้ามเข้าไปในตำหนักของพระราชา
๘๔.ห้ามเก็บของมีค่าที่ตกอยู่
๘๕.เมื่อจะเข้าบ้านในเวลาวิกาล ต้องบอกลาภิกษุก่อน
๘๖.ห้ามทำกล่องเข็มด้วยกระดูก งา หรือเขาสัตว์
๘๗.ห้ามทำเตียง ตั่งมีเท้าสูงกว่าประมาณ
๘๘.ห้ามทำเตียง ตั่งที่หุ้มด้วยนุ่น
๘๙.ห้ามทำผ้าปูนั่งมีขนาดเกินประมาณ
๙๐.ห้ามทำผ้าปิดฝีมีขนาดเกินประมาณ
๙๑.ห้ามทำผ้าอาบน้ำฝนมีขนาดเกินประมาณ
๙๒.ห้ามทำจีวรมีขนาดเกินประมาณ

ปาฏิเทสนียะ มี ๔ ข้อได้แก่
๑. ห้ามรับของคบเคี้ยว ของฉันจากมือภิกษุณีมาฉัน
๒. ให้ไล่นางภิกษุณีที่มายุ่งให้เขาถวายอาหาร
๓. ห้ามรับอาหารในสกุลที่สงฆ์สมมุติว่าเป็นเสขะ (อริยบุคคล แต่ยังไม่ได้บรรลุเป็นอรหันต์)
๔. ห้ามรับอาหารที่เขาไม่ได้จัดเตรียมไว้ก่อนมาฉันเมื่ออยู่ป่า

เสขิยะ
สารูป มี ๒๖ ข้อได้แก่
๑.นุ่งให้เป็นปริมณฑล (ล่างปิดเข่า บนปิดสะดือไม่ห้อยหน้าห้อยหลัง)
๒.ห่มให้เป็นนปริมณฑล (ให้ชายผ้าเสมอกัน)
๓.ปกปิดกายด้วยดีไปในบ้าน       
๔.ปกปิดกายด้วยดีนั่งในบ้าน   
๕.สำรวมด้วยดีไปในบ้าน
๖.สำรวมด้วยดีนั่งในบ้าน   
๗.มีสายตาทอดลงไปในบ้าน (ตาไม่มองโน่นมองนี่)
๘.มีสายตาทอดลงนั่งในบ้าน     
๙.ไม่เวิกผ้าไปในบ้าน
๑๐.ไม่เวิกผ้านั่งในบ้าน   
๑๑.ไม่หัวเราะดังไปในบ้าน   
๑๒.ไม่หัวเราะดังนั่งในบ้าน   
๑๓.ไม่พูดเสียงดังไปในบ้าน       
๑๔.ไม่พูดเสียงดังนั่งในบ้าน
๑๕.ไม่โคลงกายไปในบ้าน
๑๖.ไม่โคลงกายนั่งในบ้าน
๑๗.ไม่ไกวแขนไปในบ้าน
๑๘.ไม่ไกวแขนนั่งในบ้าน
๑๙.ไม่สั่นศีรษะไปในบ้าน
๒๐.ไม่สั่นศีรษะนั่งในบ้าน
๒๑.ไม่เอามือค้ำกายไปในบ้าน
๒๒.ไม่เอามือค้ำกายนั่งในบ้าน
๒๓.ไม่เอาผ้าคลุมศีรษะไปในบ้าน
๒๔.ไม่เอาผ้าคลุมศีรษะนั่งในบ้าน
๒๕.ไม่เดินกระโหย่งเท้า ไปในบ้าน
๒๖.ไม่นั่งรัดเข่าในบ้าน

โภชนปฏิสังยุตต์มี ๓๐ ข้อคือหลักในการฉันอาหารได้แก่ 
๑.รับบิณฑบาตด้วยความเคารพ
๒.ในขณะบิณฑบาต จะแลดูแต่ในบาตร   
๓.รับบิณฑบาตพอสมส่วนกับแกง (ไม่รับแกงมากเกินไป)   
๔.รับบิณฑบาตแค่พอเสมอขอบปากบาตร 
๕.ฉันบิณฑบาตโดยความเคารพ
๖.ในขณะฉันบิณฑบาต และดูแต่ในบาตร 
๗.ฉันบิณฑบาตไปตามลำดับ (ไม่ขุดให้แหว่ง) 
๘.ฉันบิณฑบาตพอสมส่วนกับแกง ไม่ฉันแกงมากเกินไป 
๙.ฉันบิณฑบาตไม่ขยุ้มแต่ยอดลงไป   
๑๐.ไม่เอาข้าวสุกปิดแกงและกับด้วยหวังจะได้มาก
๑๑.ไม่ขอเอาแกงหรือข้าวสุกเพื่อประโยชน์แก่ตนมาฉัน หากไม่เจ็บไข้ 
๑๒.ไม่มองดูบาตรของผู้อื่นด้วยคิดจะยกโทษ   
๑๓.ไม่ทำคำข้าวให้ใหญ่เกินไป   
๑๔.ทำคำข้าวให้กลมกล่อม   
๑๕.ไม่อ้าปากเมื่อคำข้าวยังมาไม่ถึง 
๑๖.ไม่เอามือทั้งมือใส่ปากในขณะฉัน
๑๗.ไม่พูดในขณะที่มีคำข้าวอยู่ในปาก
๑๘.ไม่ฉันโดยการโยนคำข้าวเข้าปาก
๑๙.ไม่ฉันกัดคำข้าว
๒๐.ไม่ฉันทำกระพุ้งแก้มให้ตุ่ย
๒๑.ไม่ฉันพลางสะบัดมือพลาง
๒๒.ไม่ฉันโปรยเมล็ดข้าว
๒๓.ไม่ฉันแลบลิ้น
๒๔.ไม่ฉันดังจับๆ
๒๕.ไม่ฉันดังซูดๆ
๒๖.ไม่ฉันเลียมือ
๒๗.ไม่ฉันเลียบาตร
๒๘.ไม่ฉันเลียริมฝีปาก
๒๙.ไม่เอามือเปื้อนจับภาชนะน้ำ
๓๐.ไม่เอาน้ำล้างบาตรมีเมล็ดข้าวเทลงในบ้าน

ธัมมเทสนาปฏิสังยุตต์ มี ๑๖ ข้อคือ
๑.ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่มีร่มในมือ 
๒.ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่มีไม้พลองในมือ
๓.ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่มีของมีคมในมือ 
๔.ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่มีอาวุธในมือ
๕.ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่สวมเขียงเท่า (รองเท้าไม้) ๑   
๖.ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่สวมรองเท้า 
๗.ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่ไปในยาน 
๘.ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่อยู่บนที่นอน 
๙.ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่นั่งรัดเข่า
๑๐.ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่โพกศีรษะ
๑๑.ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่คลุมศีรษะ
๑๒.ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่อยู่บนอาสนะ (หรือเครื่องปูนั่ง) โดยภิกษุอยู่บนแผ่นดิน
๑๓.ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่นั่งบนอาสนะสูงกว่าภิกษุ
๑๔.ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่นั่งอยู่ แต่ภิกษุยืน
๑๕.ภิกษุเดินไปข้างหลังไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่เดินไปข้างหน้า
๑๖.ภิกษุเดินไปนอกทางไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่ไปในทาง

ปกิณสถะ มี ๓ ข้อ
๑. ภิกษุไม่เป็นไข้ไม่ยืนถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ
๒. ภิกษุไม่เป็นไข้ไม่ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ หรือบ้วนน้ำลายลงในของเขียว (พันธุ์ไม้ใบหญ้าต่างๆ)
๓. ภิกษุไม่เป็นไข้ไม่ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ หรือบ้วนน้ำลายลงในน้ำ อธิกรณสมถะ มี ๗ ข้อได้แก่
๑. ระงับอธิกรณ์ (คดีความ หรือความที่ตกลงกันไม่ได้) ในที่พร้อมหน้า (บุคคล วัตถุ ธรรม)
๒. ระงับอธิกรณ์ (คดีความ หรือความที่ตกลงกันไม่ได้) ด้วยการยกให้ว่าพระอรหันต์เป็นผู้มีสติ
๓. ระงับอธิกรณ์ (คดีความ หรือความที่ตกลงกันไม่ได้) ด้วยยกประโยชน์ให้ในขณะเป็นบ้า
๔. ระงับอธิกรณ์ (คดีความ หรือความที่ตกลงกันไม่ได้) ด้วยถือตามคำรับของจำเลย
๕. ระงับอธิกรณ์ (คดีความ หรือความที่ตกลงกันไม่ได้) ด้วยถือเสียงข้างมากเป็นประมาณ
๖. ระงับอธิกรณ์ (คดีความ หรือความที่ตกลงกันไม่ได้) ด้วยการลงโทษแก่ผู้ผิด
๗. ระงับอธิกรณ์ (คดีความ หรือความที่ตกลงกันไม่ได้) ด้วยให้ประนีประนอมหรือเลิกแล้วกันไป

พระในพระพุทธศาสนา

สรุปพระภิกษุฝ่ายอรัญวาส ในพระพุทธศาสนา พระภิกษุ แบ่งออกได้เป็นสองฝ่าย คือ
o ฝ่ายปริยัติ ได้แก่ พระภิกษุ ที่มุ่งศึกษาศาสนธรรม จากตำราจากคัมภีร์ ส่วนมาก พำนักอยู่ที่วัด ในเมือง หรือชุมชน จึงเรียกว่า พระฝ่ายคามวาสี หรือพระบ้าน
o พระภิกษุอีกฝ่ายหนึ่ง มุ่งศึกษาโดยการกระทำ หรือลงมือปฏิบัติ และพำนักอยู่ ตามป่าตามเขา ที่สงบ สงัด สะดวกต่อการปฏิบัติ จึงเรียกว่า พระฝ่ายอรัญวาสี หรือ พระป่า หรือ พระธุดงคกรรมฐาน
พระภิกษุ ได้รับการยกย่อง นับถือว่า เป็นพระบุพพาจารย์ใหญ่ แห่ง กองทัพธรรมพระธุดงคกรรมฐาน ในประเทศไทย ได้แก่ท่านหลวงปู่มั่น ภูริทัตตตมหาเถร ผู้ได้บำเพ็ญความเพียรในขั้นเอกอุจนบรรลุ ถึงธรรมชั้นสูงสุด ดังมีหลักฐานปรากฎ คืออัฐิของท่านกลายเป็น พระธาตุดังที่มีบรรยาไว้ว่าเป็นลักษณะของพระอรหันตสาวก ซึ่ง ปัจจุบันได้นำมาประดิษฐาน ณ วัดป่าสุทธาวาส จังหวัดสกลนคร พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ท่านเป็นพระอาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสสนากรรมฐานที่มีลูกศิษย์จำนวนมาก อาทิ

หลวงปู่ขาว อนาลโย วัดถ้ำกลองเพล จ.อุดรธานี
หลวงปู่ดุลย์ อตุโล วัดบูรพาราม จ.สุรินทร์
หลวงปู่ฝั้น อาจาโร วัดป่าอุดมสมพร จ.สกลนคร
หลวงปู่แหวน สุจิณโณ วัดดอยแม่ปั๋ง จ.เชียงใหม่
หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี วัดหินหมากเป้ง จ.หนองคาย
หลวงปู่สิม พุทธาจาโร วัดถ้ำผาปล่อง จ.เชียงใหม่
หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน วัดป่าบ้านตาด จ.อุดรธานี
หลวงปู่สมชาย ฐิตวิริโย วัดเขาสุกิม จ. จันทบุรี
หลวงปู่วิริยังค์ สิรินธโร วัดธรรมมงคล กรุงเทพฯ เป็นต้น


พระคุณเจ้าทั้งหลายนี้ได้สืบต่อการปฏิบัติข้อวัตรตามแนวทางของท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ในกาลต่อมาเมื่อศิษย์ในสายพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโตหลายองค์ถึงแก่มรณภาพอัฐิของท่าน ก็ได้ แปรสภาพ ไปในทำนองเดียวกับ ของพระอาจารย์มั่น อาทิ อัฐิธาตุ ของหลวงปู่ขาว อนาลโย ของท่าน พระอาจารย์จวน กุลเชฏโฐ ประกอบกับ ความเค่งครัด ในวินัย และศีลาจารวัติ ได้เสริมสร้าง ศรัทธา ของ ประชาชน ในการปฏิบัติกรรมฐาน เพิ่มมากขึ้น และเป็นเหตุแห่ง การฟื้นฟู วัดป่า และชักจูงให้ มีผู้บวช เป็นพระป่า พระสายปฏิบัติกรรมฐาน เพิ่มมากขึ้น เช่นกัน

สำหรับ ผู้ที่เคยเข้าไป สัมผัสวัดป่า เป็นครั้งแรก ความรู้สึก ที่กระทบจิตใจ เมื่อย่างเข้า ถึงเขต วัดป่าคือ "ความร่มรื่น" ซึ่งเกิดจากต้นไม้น้อยใหญ่ภายในวัด สิ่งกระทบใจประการที่สอง คือ ความสะอาด และมีระเบียบ "ความสงบเงียบ" ไม่อึกทึกพลุกพล่าน ต้นไม้ ธรรมชาติ จะได้รับการรักษา ให้ยืนย คงอยู่

กุฏิเสนาสนะ ที่พำนักของพระป่า จะปลูกสร้าง อย่างเรียบง่าย สมถะ ด้วยวัสดุพื้น ๆ เว้นแต่ บางแห่ง ที่มีคณะศรัทธา ญาติโยม สร้างถวาย ก็อาจใช้วัสดุ หรือการก่อสร้าง ที่พิถีพิถัน แต่บางแห่ง ท่านก็ไม่ยอมให้สร้างใหญ่โต หรือพิถีพิถัน เกินไป เพราะแกรงว่า จะทำให้ พระ คุ้นกับความสบาย จน "ติดสุข" ไม่อยากออกไป เผชิญความลำบาก ในการออกเดินธุดงค์ ซึ่งเป็นภารกิจ ที่สำคัญ ของพระป่า

โดยทั่วไป ภายในกุฏิ ของพระป่า จะมีเพียงกลด พร้อมด้วยมุ้งกลด เสื่อ ปูนอน เครื่องอัฐบริขาร ผ้าห่มนอน จีวร ตะเกียง หรือเทียนไข และหนังสือ ที่หัวนอน อาจมีหิ้งพระ รูปพระอาจารย์ต่างๆ ส่วนของมีค่า อุปกรณ์ อำนวยความสะดวกสบายนั้น ท่านไม่สะสม กุฏิแต่ละหลัง ผู้พำนักอาศัย ต้องรักษา ให้สะอาด ทั้งในกุฏิ และบริเวณ

พวกชาวเมือง ที่ได้ไปเยือนวัดป่าครั้งแรก มักจะแปลกใจว่า นี่ท่านทำอย่างไร วัดจึงสะอาดฉะนี้ ทั้งๆ ที่ มีต้นไม้ เต็มไปหมด ทุกแห่ง ทางเดินของท่าน ก็โล่งเตียน ห้องน้ำ ก็สะอาด ศาลา ก็สะอาด คำตอบคือ พระป่า ท่านปฏิบัติ ตามพระวินัย ท่านต้องรักษา เสนาสนะ ที่อยู่อาศัย และบริเวณ ให้สะอาด ทุก ๆ วัน เวลาประมาณ บ่ายสามโมง เป็นเวลา ปัดกวาดลานวัด ซึ่งปกติท่าน สมภาร หรือ ประธานสงฆ์ ก็จะลงมือกวาด ด้วย ยกเว้น ก็แต่ ผู้อาพาธ เท่านั้น งานปัดกวาดนี้ ใช้แรงมาก เพราะ ไม้กวาดหนัก และด้ามยาวกว่า จะแล้วเสร็จ ก็เหงื่อท่วมตัว ซึ่งเท่ากับ เป็นการออกกำลังกาย ไปในตัว พระป่าท่าน เดินจงกรม เดินบิณฑบาต ทุกวัน ถูศาลา ทุกวัน และกวาดวัด ทุกวัน ท่านจึงแข็งแรง และสุขภาพดี

พระพุทธศาสนา เป็นตัวอย่าง ของประชาธิปไตย ตั้งแต่เริ่มเข้ามาบวช เป็นสมาชิกของวัด ก็ต้อง ผ่านการลงมติ ของคณะสงฆ์ เสียก่อน ข้าวของต่างๆ ที่มีผู้ถวายแก่วัด ย่อมเป็นของกลาง ใครจะ นำไป เป็นประโยชน์ ส่วนตัว ไม่ได้ ทุกคน มีส่วนที่จะ ได้รับประโยชน์ จากของสงฆ์ ถ้ามีการพิพาทกัน ก็ต้อง ตั้งกรรมการ พิจารณา เหล่านี้ เป็นตัวอย่าง ของประชาธิปไตย แต่เป็นแบบพุทธ คือ เป็นการสมัครใจ ไม่บังคับ ถ้าไม่พอใจ ก็ไปที่อื่นเสีย แล้วก็ยังมีคาราวะ มีอาวุโส มีบารมี มีกรรม มีวิบาก ไม่ใช่ทุกคน เท่ากันหมด อาหารที่บิณฑบาต มาได้ จะนำมารวมกันก่อน แล้วจึงแจกไป ให้ทั่วถึง

พระป่า ท่านมีคติ อีกอย่างหนึ่ง คือ ไม่ว่าวันไหน จะบิณฑบาต ได้ภัตตาหาร มากน้อย เท่าใด ต้อง ฉันแต่น้อย แต่พอดี แม้จะมีอาหาร ล้นเหลือ ก็จะไม่ฉัน จนอิ่มตื้อ เพราะ ถ้าทำเช่นนั้น จะง่วง ภาวนา ไม่ได้ นอกจาก ระวังไม่ฉันมากแล้ว พระป่า ท่านยังระวัง ไม่ให้ติด รสอาหาร ด้วย โดยการหลีกเลี่ยง อาหารที่อร่อย ทั้งนี้ เพราะเกรงว่าจะ "ติดสุข" นั่นเอง ในเวลาฉัน ต้องพิจารณา ตามแบบ ที่พระพุทธเจ้า ทรงสอน พูดง่าย ๆ คือว่า กินเพื่ออยู่ เพื่อประทังชีวิต ประทังความหิว ท่านจึงเงียบสงบ ระหว่างฉัน ไม่สนทนาพาที อะไรกัน เพราะท่านต้อง พิจารณาอาหาร ไปด้วย

กิจวัตร ของพระป่า คือ ตื่นนอน ตั้งแต่ตีสาม หรือตีสี่ เพื่อปฏิบัติภาวนา สวดมนต์ ทำวัตรเช้า ทำกิจส่วนตัว แล้วเตรียมตัว ออกบิณฑบาต ครั้นรุ่งอรุณ พระป่า จากอรัญญวาสี จะออกบิณฑบาต เป็นแถว เป็นแนว เป็นระเบียบ

บรรยากาศ ยามรุ่งอรุณ กลิ่นไอธรรมชาติ ความบริสุทธิ์ ของชนบท ดวงหน้า ที่เอิบอิ่มใน บุญกุศล ของชาวบ้าน เป็นภาพชีวิต อันประทับใจ ผู้ได้สัมผัส พระป่าจะต้อง ออกบิณฑบาต ทุกวัน นอกจาก อาพาธ หรือเดินไม่ได้ ตามปกติ วัดป่า ต้องอยู่ ห่างหมู่บ้าน เพื่อให้พ้นจาก การรบกวน คน สัตว์ และ เสียงอึกทึก แต่ต้องไม่ไกล เกินไป จนเดินไปบิณฑบาต ไม่ไหว โดยมาก เว้นระยะห่าง จากหมู่บ้าน ประมาณ 2-3 กิโลเมตร ซึ่งพอจะเดินไปกลับ ได้ภายใน หนึ่งชั่วโมง

ารอบรม พระป่า ตามวัดต่างๆ ในสายท่าน พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต จะอาศัยหลัก อย่างเดียวกัน แต่การปฏิบัติ แตกต่างกันไป ตามความเห็น และความถนัด ของท่านอาจารย์ ทุกวัด มีการเน้นเรื่อง ศีล พระป่า ทุกองค์ จะต้องรักษาศีล อย่างบริสุทธิ์

ในการะบวนไตรสิกขา ศีลเป็นข้อที่ ง่ายที่สุด และเท่ากับ เป็นเครื่องทดสอบ พระภิกษุ เพราะ การรักษาศีล ต้องการเพียง ความตั้งใจ เท่านั้น ถ้าผู้ใด รักษาศีล ให้บริสุทธิ์ ไม่ได้ ผู้นั้น ก็ไม่มีหวัง ที่จะก้าวหน้า ไปถึงธรรมชั้นสูง ศีลเป็นเครื่องรองรับ หรือเป็นฐาน ของสมาธิ ทำให้สมาธิ เกิดง่าย และตั้งอยู่ โดยมั่นคง ศีลต้องดีก่อน สมาธิ จึงจะดีได้

นอกจากนั้น ในการออกธุดงค์ แสวงหา ที่สัปปายะ สำหรับอบรมจิต จะต้องฝ่าอันตราย ต่าง ๆ นานา พระธุดงคกรรมฐาน หรือพระป่า ท่านมีความเชื่อมั่นว่า ศีลที่บริสุทธิ์ จะเป็นเกราะกำบัง ที่ดีที่สุด พระอาจารย์ชั้นผู้ใหญ่ แต่ละองค์ มีประวัติ บุกป่าฝ่าดง ไปในแดนสัตว์ร้าย เช่น เสือ ช้าง และงู ทนแดด ทนฝน ทนลมหนาว ต้องผจญกับ มนุษย์ ที่ถูกอวิชชาครอบงำ…. แต่เพราะท่าน รักษาศีลบริสุทธิ์ สัตว์ร้าย หรือคนร้าย ตลอดจน สภาวอากาศ ที่แปรปรวน ก็ไม่อาจ ทำอันตรายท่านได้ เพราะฉะนั้น พระป่า ที่จะออกธุดงค์ จะต้องแน่ใจว่า ศีลของท่าน บริสุทธิ์จริง ๆ เพื่อให้มั่นใจ ในข้อนี้ และแน่ใจว่า จะไม่พลั้งเผลอ ท่านจึงรักษาศีล ให้บริสุทธิ์อยู่ เสมอ

ในวัดป่า จะมีการไหว้พระ สวดมนต์ร่วมกัน การสวดมนต์ มีผลให้ใจสงบลง เป็นการเตรียม สำหรับ การภาวนาต่อไป ตามปกติ เมื่อฉันเสร็จ จัดการชำระล้าง ทำความสะอาด บาตร เรียบร้อยแล้ว พระป่า ท่านจะกลับกุฏิ มาลงมือภาวนา ส่วนมาก มักจะเริ่มด้วยการ เดินจงกรม เพื่อแก้อาการง่วง ซึ่งอาจเกิดขึ้น ภายหลังฉันอาหาร ใกล้ ๆ กับกุฏิ ทุกหลัง จะมีลานเดินจงกรม กว้างประมาณ 1 เมตร ยาวประมาณ 10-15 เมตร ระหว่างเดิน อาจบริกรรมภาวนา หรือพิจารณา เกี่ยวกับสังขาร ร่างกาย จุดประสงค์ เพื่อให้เกิดความสงบ เกิดสมาธิ หรือปัญญา เมื่อหยุดเดิน ก็เข้าที่นั่งภาวนา พอเมื่อย หรือ ง่วง ก็ออกมาเดินอีก สลับกันไป ในการภาวนา พระป่า สายท่าน พระอาจารย์เสาร์ กันตสีโล และ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต จะใช้บริกรรม "พุทโธ" รวมกับอานาปานสติ เช่น หายใจเข้านึก พุท หายใจออกนึก โธ หายใจเข้านึก พุท หายใจออกนึก โธ ซึ่งวิธีเหล่านี้ ใช้กันโดยทั่วๆ ไป

ครูบาอาจารย์ จะคอยติดตาม การดำเนินของการปฏิบัติ อยู่เสมอ โดยการซักถาม ปรากฎการณ์ ทางจิต ของศิษย์ จึงสามารถ ดัดแปลงแก้ไข การปฏิบัติ ให้เหมาะสม กับภาวะ ของแต่ละคน ช่วยให้ได้ ผลดีขึ้น ไปเรื่อย ๆ ถ้าหากมีอะไร แทรกแซงขึ้นมา เช่น นิมิตเห็น ภูตผีปีศาจ หรือยักษ์ เห็นมาร อาจารย์ ก็จะชี้แจง ให้ทราบความหมาย ของนิมิตนั้น ๆ และบอกวิธี ที่จะป้องกัน ไม่ให้เกิดขึ้น ต่อไป หลักสำคัญ ประการหนึ่ง ซึ่งท่านอาจารย์ ในสายของท่าน พระอาจารย์มั่น เน้นอยู่เสมอ คือ
"ธรรมะทั้งหลาย อยู่ภายในกาย ของเราเอง"
ในการพิจารณา ให้ส่งจิต เข้าภายในกาย ไม่ให้ส่งออก ไปภายนอก เพราะนอกจาก จะไม่ได้ ประโยชน์แล้ว ยังจะเกิดการล่องลอย ของจิตอีกด้วย การแสดงธรรมของ พระป่า ไม่มีพิธีรีตองอะไร มากนัก แต่จะเน้นที่ เนื้อหาสาระ ใช้ภาษา สำนวน ที่ฟังง่าย เข้าใจง่าย ตรงไปตรงมา

การอบรมจิต แนะนำ การเจริญภาวนา วิปัสสนากรรมฐาน เป็นภาระกิจ ที่ครูอาจารย์ จะต้องให้การ อบรม แนะนำแก่ศิษย์ ทั้งที่เป็นพระภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา และชาวบ้านทั่วไป

ปฏิปทาศีลาจารวัตร ของครูบาอาจารย์ใหญ่ พระอาจารย์เสาร์ กันตสีโล พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต และสานุศิษย์ของท่าน อีกหลายองค์ เป็นประทีปนำทาง ให้พระป่า มีความวิริยะ อุตสาหะ ในการบำเพ็ญ ความเพียร เพราะเห็นแสงสว่าง ข้างหน้า ขอเพียงให้เดินโดยถูกทาง ถูกวิธี ไม่ย้อท้อ ต่อความยากแค้น และอุปสรรคทั้งมวล

พระป่า พระธุดงค์กรรมฐาน เป็นผู้ชูธงชัย แห่งกองทัพธรรม ของพระพุทธองค์ เป็นผู้ วีรอาจหาญ เป็นนักรบ ที่จะสู้ กับกิเลสตันหา ความดิ้นรน ทะยานอยาก เพื่อมุ่งสู่จุดหมาย คือ มรรคผล นิพพาน ตามรอยพระยุคลบาท พระบรมศาสดา สัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้รู้. ผู้ตื่น. ผู้เบิกบาน.

ธุดงควัตร 13

1. ถือการนุ่งห่มผ้าบังสุกุลเป็นวัตร
2. ถือการนุ่งห่มผ้าสามผืนเป็นวัตร
3. ถือการบิณฑบาตเป็นวัตร
4. ถือการบิณฑบาตไปโดยลำดับแถวเป็นวัตร
5. ถือการฉันจังหันมื้อเดียวเป็นวัตร
6. ถือการฉันในภาชนะเดียวคือฉันในบาตรเป็นวัตร
7. ถือการห้ามภัตตาหารที่เขานำมาถวายภายหลังเป็นวัตร
8. ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร
9. ถือการอยู่โคนต้นไม้เป็นวัตร
10. ถือการอยู่อัพโภกาสที่แจ้งเป็นวัตร
11. ถือการอยู่ป่าช้าเป็นวัตร
12. ถือการอยู่ในเสนาสนะตามมีตามได้เป็นวัตร
13. ถือเนสัชชิกังคธุดงค์ คือการไม่นอนเป็นวัตร
การถือธุดงคบำเพ็ญได้ด้วยการสมาทานคือด้วยอฐิษฐานใจ หรือแม้นด้วยการเปล่งวาจา คุณประโยชน์ของธุดงควัตร คือ การยังชีพโดยบริสุทธิ์ มีผลเป็นสุข เป็นของไม่มีโทษ บำบัดความทุกข์ของผู้อื่นเสีย เป็นของไม่มีภัย เป็นของไม่เบียดเบียน มีแต่เจริญฝ่ายเดียว ไม่เป็นเหตุให้เสื่อม ไม่มีมารยาหลอกลวงไม่ขุ่นมัว เป็นเครื่องป้องกัน เป็นเหตุให้สำเร็จสิ่งที่ปรารถนา กำจัดเสียซึ่งศัสตราทั้งปวง มีประโยชน์ในทางสำรวมเป็นเครื่องสมควรแก่สมณะ ทำให้สงบยิ่ง เป็นเหตุให้หลุดพ้น เป็นเหตุให้สิ้นราคะ เป็นการระงับเสียซึ่งโทสะทำโมหะให้ พินาศไปเป็นการกำจัดเสีย ซึ่งมานะ เป็นการตัดเสีย ซึ่งวิตกชั่ว ทำให้ข้ามความสงสัยได้ กำจัดเสียซึ่งความเกียจคร้าน กำจัดเสีย ซึ่งความไม่ยินดีในธรรม เป็นเหตุให้มีความอดทน เป็นของชั่งไม่ได้เป็นของหาประมาณมิได้ และทำให้สิ้นทุกข์ทั้งปวง

อานิสงส์ การปฏิบัติธุดงควัตร ทำให้พระป่าที่จาริกไป ตามป่าเขา พำนักตามโคนไม้ เพิงผาและ ตามถ้ำเป็นอยู่อย่างสมถะ เสียสละ ลดละอุปโภคบริโภค ทำให้จิตของท่าน เป็นอิสระพ้นจาก พันธนาการเครื่องร้อยรัดขัดขวาง สู่ความเบาสบาย สงบเอื้อต่อการเจริญสมาธิภาวนา บำเพ็ญความเพียร การท่องไป ในป่าที่ดารดาษ ไปด้วยสิงสาราสัตว์ ภัยอันตราย เป็นการฝึกจิต หลอมใจ ให้เข้มแข็ง มีสติระลึกรู้ มีบทบริกรรม พุทโธ อยู่กับสายลมหายใจ การเจริญสติ ก่อให้เกิดสมาธิ และจิตตานุภาพ พระธุดงคกรรมฐาน สายท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโตจะผ่านการประหารกิเลส ด้วยธุดงควัตร จิตของพระคุณเจ้า จึงมั่นคง เข้มแข็งด้วย ศีลสมาธิปัญญาศรัทธาความเพียร

พระป่า สายท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ผู้มอบกายถวายชีวิต ในพระพุทธศาสนา ดำเนิน เดินตามทางรอยธรรม พ่อแม่ครูอาจารย์ ธุดงคจาริกไป ตามวนาป่าเขา เพื่อผลานิสงส์ ในการเพิ่มพูน บารมีธรรมแห่งพระบรมศาสดา สัมมาสัมพุทธเจ้า เพื่อมรรคผล นิพพาน เพื่อสงเคราะห์โลก แลสรรพสัตว์ เป็นเนื้อนาบุญของพระพุทธศาสนา เป็นขุนพลกล้า แห่งกองทัพธรรมพระกรรมฐาน ที่มีคุณูปการ อเนกอนันต์ ตราบนิรันดร์สมัย

ข้อคิดที่ได้จากการสวดมนต์

การที่เราสวดมนต์หรือท่องคาถาต่างๆ
แล้วท่องผิดหรืออ่านคำบาลีไม่ถูกต้อง จะมีผลอย่างไร ?
แล้วเราจะได้รับตามวัตถุประสงค์ของคาถานั้นหรือไม่ ?

การสวดมนต์เป็นสิ่งที่ดี
>>>...คือทำให้ใจของผู้สวดเป็นสมาธิ
>>>...จิตผ่องใส มั่นคงมากขึ้น
>>>...ซึ่งถือว่ามีความสำคัญมากที่เราจะลืมเสียไม่ได้
>>>...ก็คือ ช่วยอนุรักษ์คำสอนของพระพุทธเจ้าเอาไว้

เพราะฉะนั้นในแต่ละวันการสวดมนต์โดยเปล่งเสียงออกมาจากลึกภายในใจ
(หรือลองหาบทสวดมนต์บทต่าง ๆ มาฟัง แล้วเราเครียด กลุ้มใจ ไม่สบายใจ)
การได้ฟัง ได้สวดบทมนต์นั้น ๆ ก็สามารถให้จิตใจเราผ่องใส เบาสบาย
ได้เป็นอย่างดียิ่ง (อาตมาได้ปฏิบัติดู ได้ผลจริง ๆ)

ฟังเพลง ดูหนังดูละคร บางครั้งก็ช่วยผ่อนคลายความรู้สึกบ้าง
แต่ก็ยังไม่ดีเท่ากับการได้สวดหรือฟังบทสวดมนต์
เพราะการสวดและการฟังได้บุญด้วย

สำหรับเวลาสวดมนต์ตามวัดต่าง ๆ
ก็จะมีกำหนดเวลาแน่นอน เป็นกิจวัตรของสงฆ์

เช่น การทำวัตรเช้า ในเวลา ๐๕.๐๐ น. หรือเวลา ๐๘.๐๐ น.
การทำวัตรเย็น ในเวลา ๑๘.๐๐ น. หรือเวลา ๑๗.๐๐ น.

>>>...ซึ่งถือว่าเป็นช่วงเวลาของการบริหารออกกำลังภายในกาย
>>>...ที่จะทำให้ช่วยบริหารระบบภายในได้อย่างดี
>>>...จะได้ว่า...ส่วนใหญ่พระสงฆ์จะมีสุขภาพจิตดี
>>>...เพราะได้ปฏิบัติตามหลักที่พระพุทธองค์ทรงวางไว้

ที่พวกเราได้มีหลักธรรมคำสอนของพระพุทธศาสนาศึกษากันอยู่ตราบทุกวันนี้ ก็เพราะการสวดมนต์ของพระสมัยรุ่นแรก ๆ

เนื่องจากสมัยนั้นยังไม่มีการบันทึกเป็นหนังสือหรือตำราอย่างเช่นสมัยนี้
พระสมัยนั้น ท่านจึงต้องเรียนวินัย ข้อห้าม คำสอน
และเรื่องราวต่าง ๆ ที่พระพุทธเจ้าทรงสอนเอาไว้
ด้วยการท่องจำ ที่เรารู้จักกันว่า “มุขปาฐะ”
คือ..ท่องจำโดยปากเปล่าอย่างขึ้นใจ นั่นเอง

นี่จึงเป็นผลดีของการสวดมนต์
ขณะที่สวด ใจของผู้สวดเป็นสมาธิ
>>>...ไม่วอกแวก ไม่ฟุ้งซ่าน
>>>...ทำจิตใจให้สดชื่นเบิกบาน
>>>...คลายความเครียดกังวลต่าง ๆ ลงได้
>>>>...สุขภาพจิตดีและยังสามารถลดอาการป่วยหรือโรคภัยบางอย่างได้

สาเหตุเพราะว่า...
การสวดมนต์เป็นผลดีแก่ระบบของอวัยวะภายในร่างกายเรา
เป็นการสัมพันธ์กันระหว่างการหายใจ การออกเสียงสั้น-ยาว เป็นจังหวะ
>>>...หากเราสังเกตเวลาที่พระสวด
>>>...แต่ละบทจะมีทำนองแตกต่างกัน
>>>...บางครั้งช้า บางครั้งเร็ว
>>>...ซึ่งเป็นการออกกำลังบริหารอวัยวะภายในได้อย่างวิเศษที่สุด
>>>...ที่พระพุทธเจ้าของเราค้นพบวิธีนี้เป็นบุคคลแรก

ส่วนการสวดผิด ท่องคำผิดนั้น
มีวิธีแก้ไข คือ
>>>...แรก ๆ ให้อ่านช้า ๆ อย่างถูกต้องก่อน
>>>...ให้ชำนาญ ให้คล่องปาก
>>>...และใส่ใจในการสวด มีสติกับการสวด
>>>...หากไม่มั่นใจในคำสวดนั้น
>>>...ก็ถามผู้รู้...ก็สามารถช่วยแก้ปัญหานี้ได้..

สำหรับผู้ที่ยังสวดหรือท่องยังไม่ได้ ไม่คล่องปาก
ก็ใช้วิธีดูหนังสือบทสวดก่อน ก็ไม่ผิดอะไร
การดูหนังสือบทสวดมนต์ในขณะสวด
ก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ช่วยให้เรามีจิตใจจดจ่อเป็นสมาธิในบทสวดมนต์
และถ้าได้รู้ความหมาย แบบสวดมนต์แปลด้วย
ยิ่งทำให้เราซาบซึ้งในอรรถรสทางภาษา
และพระพุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณของพระรัตนตรัยเป็นอย่างดีด้วย

ส่วนการสวดมนต์/ท่องคาถาอย่างถูกต้อง
และคล่องปาก ขึ้นใจ เป็นสมาธิ
จิตแน่วแน่ จะทำให้เกิดผลดีต่อผู้สวดอย่างแน่นอน
>>>...และถ้าเราปฏิบัติตามหลักธรรมคำสอนด้วย
>>>...มีสติ ไม่ประมาท
>>>...ก็จะทำให้มีอานุภาพเป็นอย่างดี

การสวดมนต์ไม่ได้มีจุดมุ่งหมาย
เพื่ออ้อนวอน ขอพร โดยที่ไม่ได้ลงแรง ลงมือทำ
>>>...แต่การสวดมนต์จุดมุ่งหมาย คือ
>>>...เพื่อเป็นการระลึกถึงคุณของพระรัตนตรัย
>>>...และน้อมนำหลักธรรมคำสอนมาปฏิบัติต่างหาก
>>>...และทำจิตใจของตนเองให้เป็นสมาธิ
>>>...จิตแน่วแน่...อย่างแท้จริง
>>>...นั้นคือ จุดมุ่งหมายของการสวดมนต์อย่างแท้จริง

ส่วนผลจะเกิดอย่างไรนั้น...
สิ่งที่ได้ทันที หรือทันตาเห็น
หรือที่เรียกว่า ได้รับอานิสงส์จากการสวดมนต์ คือ
๑. ได้กล่าวภาษิตเป็นมงคล
๒. ได้ผลพัฒนาความจำ
๓. ได้ทำสติเจริญยิ่ง
๔. ได้จิตนิ่งเป็นสมาธิ
๕. ได้ผลิปัญญารู้เห็น
๖. ได้บำเพ็ญกุศลที่ถูกต้อง
๗. ไล่ความขี้เกียจ
๘. ตัดความเห็นแก่ตัว
๙. ได้เฝ้าพระพุทธเจ้า

ขอขอบคุณที่มา : สรรพธรรมนำสรรพากร..ธรรมะสวัสดี ฉบับที่ ๑๑๒

กิจวัตรของพระสงฆ์

กิจวัตรของพระ ๑๐ อย่าง

๑. ลงอุโบสถ
๒. บิณบาตเลี้ยงชีพ
๓. สวดมนต์ไหว้พระ
๔. กวาดอาวาสวิหารลานเจดีย์
๕. รักษาผ้าครอง
๖. อยู่ปริวาสกรรม
๗. โกนผมปลงหนวดตัดเล็บ
๘. ศึกษาสิกขาบทและปฏิบัติพระอาจารย์

๙. เทศนาบัติ
๑๐. พิจารณาปัจจเวกขณะทั้ง ๔ เป็นต้น

กิจวัตร ๑๐ อย่างเหล่านี้เป็นใหญ่ควรที่ภิกษุจะต้องศึกษาให้ทราบความชัดและจำไว้เพื่อปฎิบัติสมควรแก่สมณสารูปแห่งตน..
หากพระภิกษุสงฆ์ไม่ดำรงตนในขอบเขตพระธรรมวินัยแล้วใครที่ใหนจะมาช่วยค้ำชูพระพุทธศาสนา

พระวินัยนั้นเปรียบได้เหมือนดอกไม้ที่กระจัดกระจายไปทั่วและหลากสีแต่เมื่อนำมาร้อยเป็นพวงมาลัยก็จะดูสวยงามยิ่งนักน่ามองมาก

พระธรรมวินัยก็ฉันนั้นเมื่อชนทั้งหลายที่มาจากทิศทั้งสี่มาต่างวรรณะต่างศักดิ์ศรีย่อมมีทิฐิที่ต่างกันไปแต่เมื่อเข้ามาในพระธรรมวินัยนี้
แล้วต้องประพฤติปฎิบัติเหมือนกันไม่มีคำว่าชั้นสูงด้วยเกียรติด้วยยศ..ด้วยอายุการเกิดที่ใดก็ตามถึงอายุมากแต่บวชใหม่ต้องมีความ
เคารพผู้บวชก่อน..ไม่ว่าคนนั้นจะเป็นบิดาก็ตามย่อมยอมกราบแม้กระทั่งบุตรผู้บวชก่อน..ฉะนั้นพระธรรมวินัยนี้จึงเป็นสิ่งที่ควรเคารพ
มากยิ่งนักหากใครมิทำตามพระวินัยที่พระพุทธองค์ทรงสั่งไว้ก็ถือว่าเป็นการฝ่าฝืนคำสั่งสอนของพระพุทธองค์..

กว่าพระพุทธองค์จะตรัสรู้ท่านต้องทุกข์ในการทรมานตนถึงหกปี..เคารพท่านศรัทธาท่านท่านทั้งหลายผู้รักษาพระธรรมวินัยควรปฎิบัติ
ตามท่านที่พระพุทธองค์ทรงสั่งสอนเอาไว้ด้วยใจจริง..จึงชื่อว่าศิษย์พระตถาคต
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! พรหมจรรย์นี้เราประพฤติมิใช่เพื่อหลอกลวงคน
มิใช่เพื่อให้คนทั้งหลายมานับถือ มิใช่เพื่ออานิสงส์ ลาภสักการะและความสรรเสริญ ไม่เพื่อจุดมุ่งหมายเป็นเจ้าลัทธ และแก้ลัทธิ
มิใช่เพื่อให้คนรู้จักตัวว่าเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ที่แท้พรหมจรรย์เราประพฤติเพื่อสังวระ คือความสำรวม
เพื่อปหานะคือความละเพื่อวิราคะ คือความกำหนัดยินดี และเพื่อนิโรธะ คือความดับทุกข์
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ธรรมที่เราได้บรรลุแล้วนี้ลึกซึ้งเห็นได้ยากรู้ตามได้ยากสงบประณีต มิใช่วิสัยแห่งตรรก คือคิดเอาไม่ได้ หรือไม่ควร
ลงความเห็นด้วยการเดา แต่เป็นธรรมที่บัณฑิตพอจะรู้ได้
ประโยชน์ที่จะได้รับถ้าเราปฏิบัติตามกิจของสงฆ์


ลงอุโบสถประโยชน์ของการลงอุโบสถ ๖ อย่างคือ
๑.ส่งเสริมพระวินัย
๒.ทำให้เกิดความสามัคคี
๓.มีความบริสุทธิ์
๔.มุตตกนิสัย(คือพ้นนิสัย)
๕.คนเลื่อมใสศรัทธา
๖.พาให้เป็นอย่างที่ดี

บิณฑบาต
ประโยชน์ในการบิณฑบาต
๑.ได้เจริญตามรอยพระยุคลบาทของพระพุทธเจ้า
๒.ได้โอกาสออกกำลังกายตอนเช้า
๓.ได้สำนึกในพระคุณของแม่
๔.ได้เห็นทุกข์ในการแสวงหาอาหาร
๕.ได้สงเคราะห์ทานการกุศล
๖.ได้ทำตนเป็นเนื้อนาบุญดียิ่งขึ้น

ทำวัตรสวดมนต์
ประโยชน์ของการทำวัตรสวดมนต์ ๖ อย่าง
๑.ได้เฝ้าพระพุทธเจ้า
๒.เข้าใจศาสนพิธี
๓.มีจิตที่เป็นกุศล
๔.ทำตนให้กล้าหาญ
๕.ชาวบ้านศรัทธา
๖.รักษาพระสัทธรรม

กวาดวิหารลานเจดีย์
ประโยชน์ของการกวาดวิหารลานเจดีย์
๑.ได้ออกกำลังกาย
๒.ทำให้สถานที่สะอาด
๓.ปราศจากโรคภัย
๔.จิตใจคลายเครียด
๕.ขี้เกรียจจะลดลง
๖.คงไว้ซึ่ศรัทธา

รักษาผ้าครอง
ประโยชน์แก่การรักษาผ้าครอง
๑.ทำให้ตื่นแต่เช้า
๒.เอาใจใส่ในกิจวัตร
๓.ฝึกหัดจิตใจ
๔.ทำให้สุขภาพดี
๕.มีความจำเป็นเยี่ยม
๖.เตรียมตารางชีวิต

อยู่ปริวาสกรรม
ประโยชน์ในการอยู่ปริวาส
๑.ได้ปฏิบัติตามกิจวัตร
๒.ได้กำจัดอาบัติโทษ
๓.ได้โปรดญาติโยม
๔.ได้ข่มมานะละทิฏฐิ
๕.ได้ปิติปราโมทย์
๖.ได้ประโยชน์เผยแพร่พระพุทธศาสนา

โกนผมปลงหนวด
ประโยชน์ของการโกนผมปลงหนวด
๑.เป็นการประหยัด
๒.ขจัดความสกปรก
๓.ยกย่องธรรมเนียมภิกษุ

ศึกษาพระธรรมวินัย ปฏิบัติครูอาจารย์
ประโยชน์ของการศึกษาปฏิบัติครูอาจารย์
๑.เข้าใจหลักของตน
๒.พ้นความสงสัย
๓.ป้องกันภัยจากอาบัติ
๔.ยืนหยัดกตัญญู
๕.เคารพครูอาจารย์

เทศนาบัติ
ประโยชน์ของการแสดเทศนาบัติ
๑.เป็นผู้ไม่ประมาท
๒.ปราศจากมลทิน
๓.มีศีลบริสุทธิ์
๔.หยุดความวิปฏิสาร
๕.ได้บอกอาบัติ (ครุกาบัติ)

พิจารณาปัจจเวกขณะ
ประโยชน์ของการพิจารณาปัจจเวกขณะ
๑.ไม่เป็นหนี้ชาวบ้าน
๒.ฉันอาหารไม่มีโทษ
๓.เป็นประโยชน์แก่กรรมฐาน

วันพฤหัสบดีที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ขั้นตอนการบวชพระ

     ประเพณีการบวชพระ เป็นการปฏิบัติที่สืบเนื่องมาจากความเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนาของพุทธศาสนิกชน ตามประเพณีปฏิบัติในการบวชนั้น ชายที่มีอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์จะต้องเข้าพิธีอุปสมบท (บวชพระ) การอุปสมบทเป็นประเพณีที่มีความสำคัญมากอย่างยิ่ง ทั้งนี้เพราะชายที่มีอายุครบ 20 ปี เป็นวัยที่เข้าสู่วัยผู้ใหญ่ ซึ่งจะต้องมีความรับผิดชอบในชีวิตของตนมากยิ่งขึ้น  

      ฉะนั้นจึงจำเป็นต้องมีความรู้ ความเข้าใจความจริงของชีวิต เพราะพระพุทธศาสนาเป็นหลักคำสอนแห่งความจริงในโลก ที่สอนให้มนุษย์รู้สาเหตุของการเกิด แก่ เจ็บ และตาย  ช่วยให้มนุษย์มีสติสัมปชัญญะที่จะนำไปสู่ในทางที่ดีที่ชอบ การอุปสมบทจึงมีความสำคัญโดยเฉพาะต่อผู้ที่จะเป็นหลักของครอบครัว อีกทั้งผู้บวชยังได้ศึกษาพระธรรมคำสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้เป็นพระบรมครูของเรา ผู้บวชสามารถนำข้อปฏิบัติที่ได้จากการบวชพระมาใช้ในการดำรงชีวิตสืบต่อไปได้อย่างมีความสุข

ขั้นตอนการบวชพระทำอย่างไร

     ก่อนที่เราจะไปศึกษาในเรื่องของขั้นตอนการบวชพระ จะขอกล่าวถึงพิธีการบวชพระที่ใช้ในปัจจุบัน ซึ่งมีอยู่  2  แบบด้วยกัน  คือ แบบอุกาสะ และแบบเอสาหัง  โดยคำว่า "อุกาสะ"  แปลว่า ขอโอกาส  ส่วนคำว่า "เอสาหัง" แปลว่า ข้าพเจ้านั้น ในประเทศไทยการบวชพระแบบอุ กาสะนั้น จะใช้กันในคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย ซึ่งเป็นแบบเดิมที่ใช้กันมาแต่โบราณกาล ส่วนการบวชพระแบบเอสาหัง จะใช้ในคณะสงฆ์ธรรมยุตินิกาย โดยการประยุกต์มาจากแบบอุกาสะเพื่อย่อขั้นตอนให้สั้นขึ้น  มีใช้มาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4  พระบาลสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยยึดรูปแบบมาจากพระสงฆ์ประเทศพม่า

      ขั้นตอนการบวชพระ ในที่นี้จึงจะขอกล่าวถึงเฉพาะพิธีการบวชพระแบบอุกาสะเท่านั้น เนื่องจากเป็นการบวชแบบเดิมที่มีมาแต่โบราณ แม้ว่าการบวชในประเทศไทยจะมี 2 แบบ แต่ก็ยึดหลักการบวชตามพุทธบัญญัติทุกประการ ต่างกันเพียงข้อปลีกย่อยบางข้อเท่านั้น ขั้นตอนการบวชพระแบบอุกาสะ มีดังนี้
พิธีโกนผมนาค ก่อนทำการบวชพระ
1. โกนผมนาค เริ่มโดยพ่อแม่และญาติผู้ใหญ่  หรือผู้ที่มาร่วมบุญงานบวชพระในครั้งนี้ ทำการขลิบผมให้นาคเป็นปฐมฤกษ์ จากนั้นพระสงฆ์จะทำการโกนผมให้นาค ตามประเพณีการบวชพระที่ปฏิบัติโดยทั่วกันนั้น ผมนาคที่โกนแล้วจะห่อด้วยใบบัวแล้วนำไปลอยที่แม่น้ำหรือวางไว้ใต้ร่มโพธิ์   โดยเชื่อว่าจะทำให้เกิดความร่มเย็นเป็นสุข   ในการปลงผมนั้นจะปลงที่บ้านหรือที่วัดก็ได้แล้วแต่ความสะดวก   แต่โดยทั่วไปนิยมปลงผมที่วัดมากกว่า  เนื่องจากญาติหรือแขกผู้มีเกียรติที่มาร่วมงานจะได้มีโอกาสร่วมพิธีตัดผมนาค อีกทั้งยังเป็นการประหยัดเวลาของเจ้าภาพและแขกที่มาร่วมงานอีกด้วย เพราะเมื่อปลงผมเสร็จจะได้ทำพิธีเวียนประทักษิณรอบสีมา และเข้าอุโบสถประกอบพิธีอุปสมบทต่อไป
ประเพณีการบวชพระ นาคแต่งชุดขาวสง่างาม
2. แต่งตัวนาค  การแต่งตัวนาคนั้นควรแต่งด้วยชุดขาวทั้งหมด ซึ่งจะบ่งบอกถึงความสะอาดบริสุทธิ์ ทั้งกาย วาจา ใจ ของผู้ที่จะบวช การแต่งตัวนาค ไม่ควรมีเครื่องประดับประดามากจนเกินไป   โดยขอแนะนำเครื่องแต่งตัวนาคตามประเพณีนิยมดังนี้ 1. เสื้อเชิ้ตแขนยาวสีขาว 2. สบงขาว 3. อังสะขาว 4. เข็มขัด หรือสายรัดสำหรับรัดสบง ในส่วนเข็มขัดนี้ ใช้สำหรับรัดสบงขาว  ซึ่งส่วนใหญ่จะนิยมใช้เข็มขัดนาค  ในกรณีที่ไม่มีเข็มขัดนาคจะใช้เข็มขัดอย่างอื่นหรือสายรัดแทนก็ได้  ไม่ใช่ข้อกำหนดตายตัว แต่การใช้เข็มขัดนาคเป็นการปฏิบัติตามประเพณีการบวชพระที่นิยม เพื่อให้สอดคล้องกับคำว่า  "นาค"  ซึ่งเป็นชื่อเรียกผู้ที่จะบวชในพระพุทธศาสนาเท่านั้น  5. เสื้อคลุมนาค 6. สร้อยคอ หากมีสร้อยคอจะสวมให้นาคก็ได้ หรือไม่สวมก็ได้ แต่ไม่ควรคล้องพวงมาลัยให้นาค เพราะจากนาคจะกลายเป็นนักร้องแทน
3. การเดินประทักษิณเวียนขวารอบสีมา  การเวียนประทักษิณในทางพระพุทธศาสนา คือ การกระทำที่สุจริตถูกต้องชอบธรรมทั้งทางกาย ทางวาจา และทางใจ การหมุนไปทางขวา คือการหมุนไปสู่ความดีทั้งทางกาย วาจา และใจ ตรงกันข้ามกับการหมุนไปด้านซ้ายเป็นการหมุนทวนความดี คือ การกระทำที่เป็นทุจริตทางกาย วา และใจ การทำประทักษิณเวียนขวารอบสีมาก่อนเข้าอุโบสถของผู้ที่จะบวชพระนี้ นอกจากจะเป็นการแสดงความเคารพตามธรรมเนียมโบราณแล้ว ยังเป็นอุบายที่คนโบราณสอนให้รู้ว่า สิ่งที่จะทำต่อไปนี้เป็นการกระทำที่สุจริตถูกต้องชอบธรรมทั้งทางกาย ทางวาจา และทางใจ

การเวียนประทักษิณรอบอุโบสถ
     นอกจากนั้นการทำประทักษิณก่อนเข้าสู่พิธีอุปสมบท  ยังเป็นช่วงเวลาให้นาคได้มีโอกาสทำสมาธิ(Meditation)รวบรวมจิตใจไม่ให้ตื่นเต้นจนเกินเหตุ ญาติของนาคจึงไม่ควรส่งเสียงหรือโห่ร้อง ร้องรำทำเพลง ประโคมดนตรีอันจะเป็นการรบกวนสมาธิของนาค อีกทั้งไม่ควรให้นาคขี่คอ  ขึ้นคานหาม หรือแบกหามซึ่งจะดูไม่เรียบร้อย หากพลัดตกลงมาอาจเป็นอันตรายจนถึงชีวิตทำให้นาคไม่ได้บวช  จึงควรให้นาคเดินตามปกติ โดยให้นาคประณมมือ มีดอกไม้ที่เตรียมไว้อยู่ในมือเดินทำประทักษิณเวียนขวารอบอุโบสถ 3 รอบ จะมีผู้กั้นสัปทนให้นาคก็ได้ การทำประทักษิณให้เริ่มต้นจากสีมาตรงกลางด้านหน้าอุโบสถ (เริ่มจากสีมาที่จะวันทา) ส่วนญาติๆ ถือบริขารพร้อมทั้งเครื่องไทยทานที่จัดเตรียมไว้ ตามความนิยมโดยทั่วไปบิดาจะสะพายบาตรถือตาลปัตร ส่วนมารดาถือพานแว่นฟ้าสำหรับใส่ผ้าไตรครองเดินตามหลังนาค แถวถัดมาเป็นธูปเทียนแพ เครื่องไทยทานสำหรับพระอุปัชฌาย์และพระคู่สวด และเครื่องบริขารอย่างอื่นโดยลำดับ ในขณะเดินให้นาคสวดบทพุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ ดังนี้ "อิติปิโส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ สัตถา เทวะมะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติ ฯลฯ"

ประเพณีบวชพระ ช่วงพิธีกรรมในอุโบสถ
      เมื่อเดินครบ 3 รอบแล้ว นาคต้องวันทาสีมาหน้าอุโบสถก่อนเข้าไปในเขตสีมา นาควางดอกไม้เครื่องสักการะไว้บนพานที่เตรียมไว้ บางแห่งให้จุดธูปเทียนด้วย  แต่โดยมากนิยมให้ดอกไม้ธูปเทียนไว้บนพานหรืออุปกรณ์อย่างอื่นที่จัดเตรียมไว้ โดยมากไม่จุดธูปเทียน นาคกราบสีมา 3 หน แล้วยืนขึ้นกล่าวคำวันทาสีมา  จากนั้นให้นาคนั่งคุกเข่ากราบ 3 หน แล้วเข้าไปภายในอุโบสถ ในขณะเข้าประตูโบสถ์ไม่ควรยกนาคข้ามธรณีประตู หรือยกขึ้นเพื่อเอามือแตะคานประตู  ตามที่นิยมปฏิบัติกันโดยขาดความเข้าใจ เพราะอาจพลัดตกลงมาแขนขาหักได้   ให้นาคเดินเข้าอุโบสถตามปกติ  โดยบิดามารดาและญาติจะแตะที่ตัวนาคตามเข้าไปก็ได้
4. การบรรพชา (บวชสามเณร)  เมื่อนาคได้เข้าไปในอุโบสถแล้ว  นาคจะวันทาพระประธานอีกครั้งด้วยวิธีอย่างเดียวกันกับวันทาสีมา จากนั้นกลับไปนั่ง ณ สถานที่ที่จัดเตรียมไว้สำหรับนาค บิดา มารดา (หรือญาติผู้ใหญ่)มอบผ้าไตรให้นาค นาคคุกเข่ากราบ 3 หน ยื่นแขนประณมมือรับผ้าไตร จากนั้นประณมมือประคองผ้าไตรเข้าไปหาพระอุปัชฌาย์ เมื่อถึงแนวพระสงฆ์ให้คุกเข่าลงแล้วคลานเข่าเข้าไปถวายผ้าไตรนั้นแก่ท่าน รับดอกไม้ ธูปเทียนแพเครื่องสักการะ (มีผู้ส่งให้ข้างหลัง) ถวายพระอุปัชฌาย์ กราบลง 3 หน พระอุปัชฌาย์มอบผ้าไตรคืนให้ ประณมมือประคองผ้าไตร กล่าวคำ ขอบรรพชา นาคโน้มตัวเข้าไปใกล้ๆ พระอุปัชฌาย์เพื่อคล้องผ้าอังสะให้ จากนั้นนั่งพับเพียบลงประณมมือ ตั้งใจฟังโอวาทของพระอุปัชฌาย์

5. การอุปสมบท (การบวชพระ)  การอุปสมบทบวชเป็นพระภิกษุนี้  มีข้อที่ควรทำความเข้าใจ  คือ ถึงแม้จะบวชเป็นพระภิกษุ  แต่ก็ต้องเริ่มต้นด้วยการบวชเป็นสามเณรก่อนทุกครั้ง  ผู้ที่จะบวชเป็นพระภิกษุต้องขอนิสัยจากพระอุปัชฌาย์ การจะอุปสมบทบวชเป็นพระภิกษุ บริขารต้องครบทุกอย่างที่เรียกว่าบริขาร 8 จึงจะสามารถบวชได้   สามเณรรับบาตรจากบิดามารดาที่นำมาประเคนเดินด้วยเข่าเข้าไปหาพระอุปัชฌาย์ น้อมบาตรถวายท่าน กราบลง 3 หน  แล้วยืนขึ้นกล่าวคำขออุปสมบท
พิธีอุปสมบท (การบวชพระ)

6. การซักซ้อมอันตริยกธรรม  อันตริยกธรรม  แปลว่า  ธรรมที่เป็นอันตรายต่อการบวช  การซักซ้อมอันตริยกธรรม  หมายถึง การซักซ้อมสอบถามสิ่งที่เป็นข้อห้ามสำหรับผู้ที่จะบวชเป็นพระภิกษุ  เช่น  ไม่เป็นโรคน่ารังเกียจ  ไม่ทุพลภาพจนช่วยเหลือตนเองไม่ได้  ไม่มีหนี้สินติดตัว  มีอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์  เป็นต้น  การซักซ้อมอันตรายิกธรรมเป็นการทำความเข้าใจระหว่างพระคู่สวดกับผู้ที่ขอ บวชเป็นพระภิกษุว่า  หากมีข้อห้ามเหล่านี้แล้วบวชเป็นภิกษุไม่ได้   ซึ่งผู้ขอบวชจะต้องตอบคำถามเหล่านี้ตามความเป็นจริง ท่ามกลางสงฆ์ จากนั้น ฟังสวดญัตติจตุตถกรรมวาจาเพื่อยกสามเณรขึ้นเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนา ถือว่าเป็นช่วงที่สำคัญที่สุด  เสร็จแล้วกราบ 3 หน ประณมมือคลานเข่าถอยหลังออกไป พอพ้นพระสงฆ์แล้วลุกขึ้นไปยืนอยู่ที่เดิม ในกรณีที่พระอุปัชฌาย์ไม่บอกอนุศาสน์เอง  ท่านจะมอบให้พระคู่สวดเป็นผู้บอกอนุศาสน์  พระคู่สวดเดินตามไปยืนบนอาสนะสวดบอกอนุศาสน์   การสวดบอกอนุสาสน์ท่านจะบอกเป็นภาษาบาลีไว้ก่อนพระใหม่ฟังสวดอนุศาสน์ไปจนจบ   เมื่อกลับถึงที่พักแล้ว  พระอาจารย์หรือพระพี่เลี้ยงจะแนะนำรายละเอียดเกี่ยวกับอนุศาสน์อีกครั้ง
อนุศาสน์ หมายถึง คำสอนหรือคำชี้แจงที่พระอุปัชฌาย์หรือพระกรรมวาจาจารย์บอกแก่พระภิกษุผู้บวชใหม่หลังจากบวชเสร็จ คล้ายเป็นบทปฐมนิเทศ ซึ่งมีข้อบังคับไว้ว่าจะต้องบอกอนุศาสน์แก่ภิกษุผู้บวชใหม่ จะไม่บอกไม่ได้เพราะเป็นเรื่องที่พระบวชใหม่ต้องรู้เป็นเบื้องต้นทั้งนี้ เพื่อมิให้ทำผิดพลาดด้วยไม่รู้มาก่อน อนุศาสน์มีเนื้อความกล่าวถึง นิสสัย (สิ่งที่พระภิกษุทำได้) และ อกรณียกิจ (สิ่งที่พระไม่ควรทำ) คือ

1. เที่ยวบิณฑบาต ชีวิตพระภิกษุในพระพุทธศาสนาไม่มีอาชีพอื่น เช่น ไม่มีอาชีพทำนา ทำไร่ ค้าขาย เป็นต้น แต่ดำรงชีวิตอยู่ได้ด้วยการขออาหารจากชาวบ้าน ความหมายของคำว่า ภิกษุ นัยหนึ่งแปลว่าผู้เห็นภายในวัฏสงสาร  อีกนัยหนึ่งแปลว่า ผู้ขอโดยกิริยามิใช่โดยการออกปาก การบิณฑบาตจึงเป็นการเลี้ยงชีพที่บริสุทธิ์สำหรับภิกษุ  ตามวิถีทางแห่งพระพุทธศาสนา   
2. นุ่งห่มผ้าบังสุกุล  ผ้าบังสุกุล  คือ ผ้าที่ภิกษุเก็บเศษผ้าท่อนเล็กท่อนน้อยซึ่งตกอยู่ตามพื้นดิน เปื้อนผุ่นไม่สะอาด ไม่สวยไม่งาม  โดยที่สุดแม้ผ้าที่เขาใช้ห่อศพ ตกอยู่ตามป่าช้า  ภิกษุเก็บมาเย็บปะต่อกันเป็นผืน ซัก เย็บ ย้อมใช้เป็นจีวรสำหรับนุ่งห่ม ปัจจุบันภิกษุใช้ผ้าสำเร็จรูปที่ชาวบ้านถวายได้

3. อยู่โคนต้นไม้  ชีวิตพระภิกษุในพระพุทธ ศาสนาต้องสละบ้านเรือน ออกบวชเป็นผู้ไม่มีบ้านเรือน  จึงต้องอาศัยอยู่ตามร่มไม้ ป่าเขา เงื้อมผา  เถื่อนถ้ำ  ภายหลังมีผู้เลื่อมใสสร้างวัดถวาย  ปัจจุบันจึงมีวัดวาอารามเป็นที่อยู่อาศัยสำหรับพระภิกษุ

4. ฉันยาดองด้วยน้ำมูตรเน่า   ธรรมดาสังขารร่างกายเต็มไป ด้วยโรคภัยไข้เจ็บ การจะไม่มีโรคนั้นเป็นไม่มี พระพุทธองค์จึงอนุญาตให้พระภิกษุฉันสมอและมะขามป้อมดองด้วยน้ำปัสสาวะเป็นยา ได้ตลอดเวลา   เพื่อจะได้เป็นผู้มีโรคน้อย   และมีกำลังในการบำเพ็ญกิจสงฆ์
ส่วนกิจที่พระภิกษุทำไม่ได้  เรียกว่า อกรณียกิจ มี 4 ข้อ ดังนี้
1. เสพเมถุน พระภิกษุมีเพศสัมพันธ์ไม่ว่ากับคนหรือสัตว์ ทั้งที่มีชีวิตหรือตายแล้ว ขาดจากความเป็นพระภิกษุทันที    
2. ลักขโมย ภิกษุลักทรัพย์มีราคาตั้งแต่ 5 มาสกขึ้นไป ต้องอาบัติปาราชิก ขาดจากความเป็นพระภิกษุทันที
3. ฆ่ามนุษย์  ภิกษุแกล้งฆ่ามนุษย์หรือใช้ผู้อื่นให้ฆ่า   หรือทำอาวุธให้เขาด้วยเจตนาจะให้เขาฆ่าตัวตาย  หรือบังคับให้เขากินยาพิษ   หรือกล่าวพรรณนาคุณของความตายเพื่อให้เขาฆ่าตัวตาย   ทำคาถาอาคมฆ่าด้วยคุณไสย โดยที่สุดแม้การทำแท้งและแนะนำวิธีการฆ่าด้วยอุบายต่าง  ๆ  ขาดจากความเป็นพระภิกษุ
 

4. พูดอวดคุณวิเศษที่ตนเองไม่มี การพูดอวดคุณวิเศษ หมายถึง คุณวิเศษที่เกิดจาการปฏิบัติธรรม เจริญสมาธิวิปัสสนาจนได้บรรลุคุณวิเศษทางพระพุทธศาสนา ได้แก่ ฌาน  4  คือ ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน และจตุตถฌาน  วิชชา 3  คือ  ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ การระลึกชาติได้   จตูปปาตญาณ  ญาณกำหนดการเกิดการตายของสรรพสัตว์  และอาสวักขยญาณ  ญาณที่รู้การทำลายกิเลส เป็นต้น  ที่ตนเองไม่มี ไม่ได้บรรลุ  เพื่อต้องการให้คนอื่นนับถือศรัทธา  โดยหวังลาภสักการะชื่อเสียงเกียรติยศ หรืออื่นใดก็ตาม  ขาดจากความเป็นภิกษุ
     การบอกอนุศาสน์  พระอุปัชฌาย์จะเป็นผู้บอกพระภิกษุใหม่ทันทีภายหลังจากบวชเสร็จสิ้นลงแล้ว เพื่อสอนให้รู้ถึงการดำเนินชีวิตอย่างพระภิกษุ  และการป้องกันไม่ให้เกิดข้อผิดพลาดในการเป็นพุทธบุตร อนุศาสน์ทั้ง 8 ข้อนี้ท่านจะสวดเป็นภาษาบาลี สวดจบแต่ละข้อให้พระภิกษุใหม่รับ "อามะ ภันเต"
การกรวดน้ำ หลังเสร็จพิธีการบวชพระ
7. การกรวดน้ำอุทิศส่วนบุญส่วนกุศล
     1. ควรเตรียมน้ำสะอาดใส่ภาชนะที่ง่ายแก่การหลั่งริน
     2. มือขวาใช้จับ มือซ้ายประคองหลั่งน้ำ
     3. เมื่อพระสงฆ์เริ่มอนุโมทนาบท “ยะถา วาริวหา ปูรา” ให้เริ่มกรวดน้ำ
     4. น้ำที่กรวดควรให้ไหลติดต่อกันไม่ขาดสายไม่หลั่งน้ำลงบนฝ่ามือหรือใช้นิ้วรองน้ำ      
     5. ตั้งใจอุทิศส่วนบุญในใจไปจนจบหรือกล่าวคำอุทิศส่วนบุญว่า “อิทัง เม      ญาตินัง  โหตุ”  ขอบุญกุศลนี้ จงสำเร็จประโยชน์แก่ญาติทั้งหลายของ     ข้าพเจ้าด้วยเถิด
     6. เมื่อพระสวดถึงตอนที่ว่า “มะณิ โชติระโส ยะถา” ควรหลั่งน้ำที่มีอยู่ให้หมดแล้วประนมมือรับพรจากพระ 
     เมื่อเสร็จพิธีตามที่ได้กล่าวมาแล้วนี้ เป็นอันจบพิธีบรรพชาและอุปสมบท พระพุทธศาสนาก็จักได้ศาสนทายาทเพิ่ม เพื่อมาช่วยกันทำนุบำรุงให้พุทธศาสนาเจริญยิ่งๆ ขึ้นไป อีกทั้งการมีโอกาสได้บวชพระดำรงเพศสมณะเป็นผู้ตั้งใจฝึกฝนอบรมตนเอง แม้อาจเพียงช่วงเวลาสั้นๆ ก็สามารถค้นหาแหล่งความสุขที่แท้จริง ศึกษาเรื่องราวความจริงของชีวิต เป้าหมายของการเกิดมาเป็นมนุษย์ ว่าเกิดมาทำไม ตายแล้วไปไหน บาปบุญคุณโทษ นรกสวรรค์ ภพนี้ภพหน้าและสังสารวัฏ ซึ่งเป็นความรู้ที่มีอยู่แต่ในพระพุทธศาสนาที่ทนทานต่อการพิสูจน์ แม้เวลาจะผ่านไปยาวนานแค่ไหน

วิปัสนากรรมฐาน

     ผู้ปฏิบัติมั่งคงอยู่ในศีลในธรรมทำญาณให้ได้ เมื่อทำฌาน 4 ได้ แล้วจึงเริ่มวิปัสสนา การขึ้นวิปัสสนาคือการขึ้นไปหาธรรมปัญญาปัญญารู้จักละกิเลศ ขอเตือนสติไว้อย่างหนึ่งว่าขณะที่เรานั่งอย่างหนึ่งว่าในขณะที่     นั่งญาณ อยากคิดอยากมีตัณหา คือ มีความอยากมันคือกิเลศเมื่อมีกิเลศมันก็ก้าวหน้าไปได้เราต้องรู้จักทำใจของเราเฉยๆ อย่าไปคอดอย่าได้นั่นอยากได้นี่ ถึงจะนานแสนนานที่นั่งอยู่ก็ต้องทน ขั้นต้นต้องมีความอดทนมันจะเจ็บปวดก็ตามอย่าคิดอย่าเกา เช่น สมมุติมันคันขณะนั่งก็อย่าไปเกาหรือเคลื่อนไหวกายอะไรเข้าไว้     จิตนั้นจะถอยทันที เพราะจิตต้องไปสั่งงานให้กายเคลื่อนไหวจิตก็เริ่มถอยไม่ยึดกรรมฐานเสียแล้วนี่เป็นสิ่งสำคัญ ฉะนั้นทุกๆ คนเมื่อมีความมุ่งหมายต้องการจะไปพระนิพาน หรือรู้จักพระนิพพาน เราต้องปฏิบัติตามคำสั่งสอนนี้อย่างเคร่งครัด

    ผมเองยังมาไม่ถึงขั้นวิปัสนา ยังแค่สมถะโดยตั้งเป้าว่าจะนั่งทุกวันก่อนนอน ซึ่งก่อนบวช 45 วัน
ผมทำได้ตั้งใจนั่งทุกคืนประมาณ 20-30 นาทีและก็บรรทึกข้อความธรรมะดีๆที่ได้ยินได้ฟังมาทุกวัน
เป็นการปรับสภาพจิตใจให้คิดทำดี และสงบเป็นการเตรียมตัวเนินๆ

สมถะกรรมฐาน

ในการนั่งกรรมฐาน ก่อนที่เราจะนั่งต้องกราบ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์สามครั้ง กราบด้วยศรัทธา เชื่อมั่นในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ว่าเป็นของมีจริง เป็นที่เคารพศรัทธาอย่างสูง ไม่มีสิ่งใด       ที่จะเคารพยิ่ง พระรัตนตรัย แล้วกราบบิดามารดาอีกครั้งหนึ่ง กราบครูอาจารย์ผู้ที่สั่งสอนธรรมเราอีกครั้งหนึ่ง รวมแล้ว 5 ครั้ง เรียกว่าปัญจเคารพ เมื่อเราออกจากสมาธิก็กราบอีก 5 ครั้ง เช่นเดียวกัน ทั้งนี้ ก็เพื่อให้เรามีศรัทธาและมีความเคารพใน พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ บิดามารดา ครู อาจารย์ บิดามารดาของเราก็เป็นพระอรหันต์ของลูก พระพุทธองค์ตรัสไว้อย่างนั้นเป็นความจริง เราจึงจำเป็นที่จะต้องกราบไหว้บูชาเป็นการระลึกถึงพระคุณของท่าน ครูอาจารย์ก็เช่นเดียวกัน การที่เรามีความรู้ในปัจจุบันนี่ได้ต้องอาศัย ครูอาจารย์ผู้มีความรู้สั่งสอนเราเราจึงได้ความรู้ ไม่มีใครรู้ขึ้นมาเอง ต้องอาศัยครูอาจารย์ทั้งสิ้น แม้จะทางโลกก็ตามยิ่งทางธรรมดาแล้ว ยิ่งสำคัญมากเพราะการที่ครูอาจารย์ไม่รู้หรือรู้ผิด ๆ แล้วมาสอนเราผู้เป็นศิษย์เราก็ต้องรู้ผิดตามไปด้วย ต้องหลงผิดตามไปด้วย เมื่อครูอาจารย์ยังไม่รู้แจ้งเห็นจริง จะไปสอนลูกศิษย์ให้รู้แจ้งเห็นจริงได้อย่างไร นี่ให้ทำความเห็นอย่างนี้ให้ถูกต้อง ฉะนั้นจำเป็นที่จะต้องระลึกถึงพระคุณอาจารย์ด้วย เหมือนกับตัวอาจารย์นี้ ไม่เคยคิดว่าให้พวกศิษย์หรือใครๆ กราบไหว้อาจารย์หนักหนา เพราะ ในความคิดความนึกในใจของอาจารย์ ไม่มีสิ่งเหล่านี้ เพราะไม่ได้ยึดถือหลักธรรม 8 อันมี ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข ไม่ต้องการอะไรทั้งสิ้น เสื่อมลาภ เสื่อมยศนินทาและทุกข์ก็เช่นเดียวกัน อาจารย์ก็ไม่เดือดร้อนอะไรทั้งสิ้น เพราะเป็นโลกธรรม 8 ซึ่งมีฝ่ายที่ดี 4 ฝ่าย และฝ่ายไม่ดี 8 ฝ่าย ในการสั่งสอนของอาจารย์เพื่อเป็นแบบแผนให้ศิษย์มีปัญญา ถ้าศิษย์ไม่เคารพ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ บิดามารดา และครู อาจารย์ แล้ว จะไปเคารพอะไร เมื่อมีศรัทธาในการเคารพกราบไหว้บูชา อันเป็นการแสดงออกซึ่งความกตัญญูรู้คุณแล้ว ก็จะช่วยให้จิตใจของเราผ่องใสเป็นสิริมงคลก่อนที่เราจะปฏิบัติกรรมฐานต่อไป

         การนั่งก็เช่นเดียวกันเวลานั่งกรรมฐานถ้าเป็นฝ่ายอุบาสิกา จะนั่งพับเพียบก็ได้ จะนั่งขัดสมาธิก็ได้ ฝ่ายอุบาสกหรือผู้ชายนิยมนั่งขัดสมาธิ คือนั่งเอาเท้าขวาทับเท้าซ้าย มือขวาวางทับมือซ้ายบนตักของเราและตั้งตัวให้ตรง อย่าให้ตัวงอหน้าตรงอย่าก้มถ้านั่งหลังงอแล้วนั่งได้ไม่ทนมันจะปวดเอวปวดหลังทำให้เรานั่งนานเป็นชั่วโมง หรือ 40,50 นาทีไม่ได้ฉะนั้นกายให้นั่งตัวตรงเมื่อเสร็จแล้วก็เริ่มบริกรรมภาวนา คือ         ท่องในใจใช่ท่องคำว่า เกศา โลมา นขา ทันตา ตโจ เรียงกันไปเรียกว่าเป็นอนุโลม

 



         เมื่อว่าไป แล้ว จิตก็ยึดกรรมฐานได้ การที่จิตยึดกรรมฐานได้ก็ด้วยไม่หลง ถ้าหลงอย่าไปเที่ยวค้นหา เช่นว่า เกศา โลมา แล้ว มันก็ลืมเสียไม่รู้อะไรจำไม่ได้ อย่าเที่ยวนึก ถ้านึกแล้วเดี๋ยวสังขารขันธ์ หรือการปรับปรุงแต่งของจิตของเรามันจะเอาตัวอื่นมาใส่ให้ ซึ่งจะทำให้จิตมันคิดไปถึงเรื่องอื่นฉะนั้นอย่าไปนึกขึ้น ให้ตั้งต้นว่า เกศา โลมาใหม่ไม่นึกอะไร ถ้ามันนึกคิดอะไรก็ละเสีย เพราะธรรมชาติของจิตมันชอบนึกคิดอยู่นิ่งไม่ได้เมื่อเราภาวนาไปจนจิตตั้งมั่นไว้ดีแล้ว ฌาน ๑ ก็จะเกิดขึ้นไม่มีความนึกคิดอื่นมาปะปนเมื่อจิตยึดกรรมฐานได้มั่นคงแล้ว ก็จะเกิดปีติขึ้นมา โดยมีความรู้สึกต่างๆ เช่น รู้สึกว่าขนลุกขนพอง หรือซาบซ่าน      ที่ผิวกาย ขนลุกซู่ๆ ซ่าๆ อะไรอย่างนี้บางทีก็รู้สึกตัวพองออกไปหรือตัวยาวขึ้นบางทีรู้สึกว่าตัวเตี้ยลงแล้วมาตัวเล็กตัวเบา บางทีก็มีกระตุกที่มือ อาการเหล่านี้แสดงว่าฌาน ๒ เริ่มเกิดขึ้น

          ขณะที่จิตสู่ฌาน ๒ อาจจะมีการกระตุกเกิดขึ้น ก็อย่ากักไว้ กดไว้ คืออย่าเกร็งข้อมือไว้ ปล่อยให้มันเกิดขึ้นถึงตอนนี้กายอาจจะโยกคลอนหรือสั่นอย่างแรงดังสนั่นหวั่นไหวก็อย่าไปตกใจ นั่นแหละเป็นปีติของฌาน ๒ ชื่อของปีติอันอันนี้ชื่อว่า อุพเพงคาปีติ ส่วนที่รู้สึกซาบซ่านตามผิวกาย เรียกว่า ผรราปีติ  ผู้ปฏิบัติจะต้องพยายามทำให้อุพเพงคาปีติจึงจะสมบูรณ์ เพราะเหตุว่าฌาน ๒ นี้ อุพเพงคาปีติเป็นฤทธิ์กำลัง ที่เราต้องทำฌานก็เนื่องจากว่าเมื่อได้ฌาน 4 แล้วมันสู้กับทุกขเวทนาได้ คือความรู้สึกเจ็บปวดต่างๆ หรือง่วงเหงาหาวนอนจะหายไป แต่ถ้าไม่มีฌานแล้วมันสู้ไม่ได้ นอกจากนี้เมื่อปฏิบัติสูงแล้วการเหาะเหินเดินอากาศด้วยกายในกายของเรา หรือเรียกว่า กายทิพย์ ก็อาศัยฌานนี้การได้รสโผฏฐัพพะกระทบกายต่างๆ ก็รู้ด้วยฌานทั้งสิ้น หูทิพย์ ตาทิพย์หยั่งรู้ใจคนมีอิทธิฤทธิ์ระลึกชาติได้แล้วก็มีฤทธิ์ทางใจที่เรียกว่า  มโนมยิทธิ ส่วนการทำกิเลสให้ออกไปจากจิต โดยการฟอกจิตใจให้สะอาด ก็อาศัยฌานนี้แหละเป็นพื้นฐาน จึงจำเป็นที่จะต้องทำฌานถ้าขาดฌานเสียมรรคองค์ที่ 8 ก็ไม่สมบูรณ์ ฉะนั้นใครจะไปพระนิพพานกับมรรค 7,6 หรือ 5 องค์ หรือมรรคองค์เดียวไม่ใช่ทั้งสิ้น มรรค์ต้องครบทั้ง 8 องค์ จึงจะไปพระนิพพานได้

           ส่วนการเข้าฌานที่ 3 นั้น จะเข้าได้ต่อเมื่อฌาน 2 เกิดขึ้นแล้ว คือเมื่อมีอุพเพงคาปีติขึ้น โครมๆ             ดีแล้ว หรือกายสั่นท่าต่างๆ หรือ โยกหน้าโยกหลังแล้ว ซึ่งอาการของปีติเหล่านี้จะต้องมีสติเข้ากำกับอย่าให้ล้มหงายไปเมื่อมีสติอยู่รักษาจิต มันก็มีสติสัมปชัญญะสำหรับคุมกายไว้เอง เพราะสัมปชัญญะคู่สติ  สตินี้เป็นสิ่งสำคัญคอยคุมจิต สัมปชัญญะคอยคุมกายธรรม 2 ประการนี้เป็นธรรมที่มีอุปการะมาก คือส่งให้เราไปถึงพระนิพพานได้ทีเดียว เมื่อเราเข้าได้ ฌาน 2 ดีแล้ว เราก็กระตุกกายขึ้นไปให้ลำตัวตั้งตรง และให้คิดว่า ฌาน 3 อย่านึกถึงฌาน 2 แล้ว จิตของเราก็จะเข้าไปสู่ความสงบ บางครั้งก็พบกับความสุข นั่นคือ รุ้ว่าสุขกาย สุขใจฌานที่ 3 จึงได้ชื่อว่า ฌานสุข

           เมื่อเราไปอยู่ในฌาน 3 พอสมควรแล้ว เราก็มีสติกำหนดที่จิตว่า 4 กระตุกตัวขึ้นไปอีกให้กาย          ตั้งตรง อย่าลดตัวลงมาให้นิ่งเฉย แล้วก็ผ่อนลมหายใจให้อ่อนลงภาวนากรรมบานโดยท่อง เกศา โลมา นขา ทันตา ตโจ ไปเรื่อยๆ จิตก็จะแนบขึ้นๆ แนบเข้าๆ เมื่อจิตสงบมากขึ้นแล้ว บางคนจะพบว่า เท้าเริ่มชา มือเริ่มชาขึ้นมา คือชาทั้งปลายนิ้วมือ นิ้วเท้า แม้ที่ก้นของเราก็เริ่มชาขึ้นมา (ไม่ใช่เหน็บชา) ริมฝีปากก็ชา หากฌาน 4 จับดีจะชาเข้าไปถึงลิ้น แม้ข้อมือ ตลอดถึงลำแขน และหัวไหล่ก็ชา ตัวจะเกร็งเสียงที่มากระทบหูได้ยินแต่ วางเฉย แม้ฟ้าผ่าลงมาดังเปรี้ยงก็ไม่สะดุ้งเลย เพราะจิตเป็นเอกัคคตา-อุเบกขา   คือ    วางเฉย

            ตรงนี้ฝ่ายที่ปฏิบัติทางวิปัสสนา เขาตำหนิติเตียนว่า ทำทางสมถ คือทำฌานนั้นไปพระนิพพานไม่ได้เพราะว่าไปติดฌานเสียนั่นการที่กล่าวเช่นนี้เป็นความหลง หรือเป็นโมหะของผู้กล่าว ไม่รู้ถึงวิธีของการทำฌาน นอกจากนี้ยังไม่รู้ว่า เมื่อทำฌานแล้วจะไม่ให้ติดฌานได้อย่างไรโดยมากส่วนใหญ่ที่เห็นพวกปฏิบัติอยู่ในสมาธิแล้วถึงเวลาออกก็ลืมตาเฉยๆ ซึ่งถ้าขณะปฏิบัติอยู่ในสมาธิระดับลึก เช่น อุปจารสมาธิหรือฌาน 2,3,4 เวลาออกถ้าลืมตาเฉยๆ สมาธิก็จะค้างอยู่ทางที่ถูกแล้ว จะต้องถอยสมาธิออกมาเป็นขั้นๆ เช่นจากฌาน 4 ลงมา 3,2,1 แล้วสลัดกายพร้อมสติที่คิดในใจคอดว่าออกฌานก็ไม่ค้าง พระพุทธองค์สอน ไว้ดีแล้วสมบูรณ์ทุกอย่าง ทรงสอนให้เข้าใจฌานออกฌานให้ชำนิชำนาญเป็นวสี

                การเข้าฌานนั้นเราเข้าไปตั้งแต่ฌาน 1 ขึ้นฌาน 2 จากฌาน 2 ขึ้นฌาน 3 จากฌาน 3 ขึ้นฌาน 4 เรียกว่า “เข้าฌาน” เวลาออกก็จะต้องรู้จักวิธีออกฌานด้วย การออกฌานนั้นให้กำหนดที่จิตว่าถอย 3 โดยถอยจากฌาน 4 ลงมาฌาน 3 คือลดตัวลงมาหน่อยฌานก็จะถอยแล้วเมื่อจิตคิดถอย ฌาน มันก็จะถอยลงมา อุเบกขาค่อยหมดไปมาอยู่ที่ฌาน 3 ซึ่งเป็นฌานสุข แล้วก็ถอยจากฌาน 3 มาฌาน 2 พอถอยมาถึงฌาน 2      อุพเพงคาปีติก็ขึ้นโครมๆ กายโยกกายสั่นอีก ตรงนี้พวกที่ได้ฌานใหม่ๆติดมาก ที่มันติดเพราะมันสนุกชวนให้เพลินมาก รู้สึกมีกำลังชาด้วยแล้วรู้สึกกายมันเบาอยากกระโดดโลดเต้นไปด้วยซ้ำ ซึ่งถ้าจะกระโดดโลดเต้นก็จะออกอึกทึกไป เอาเพียงให้มันสั่น กายโยกกายสั่น กายคลอนบางทีหมุนติ้ว บางทีก็เอาแขนสองแขนตีปีกดังเหมือนไก่ก็มี บางทีก็ตบมือ   สองมือเลยมีลักษณะต่างๆ ปิติทั้งหมดมี 5 ชนิด แต่ละชนิดมี 8,9       อย่างอาการของปิติทั้งหมดมีถึง 38-39 อย่าง เมื่อออกจากญาณ 2 แล้วก็ให้ถอยมาฌาน 1 แล้ว ออกจากฌาน 1     โดยการสลับหัวพร้อมกับคิดว่าออกจากนั้นก็ลืมตาขึ้น เป็นการออกจากฌาน

            การเข้าฌานตามขั้นเหมือนกับเราขึ้นบรรไดเรือนขั้น 1 ขั้น 2 ขั้น 3 ขั้น 4 เวลาออกฌานก็เหมือนกับถอยหลังเดินลงมาจากขั้น 4 มาขั้น 3 2 และ 1 และก็ลงถึงพื้นเป็นแบบนี้ ถ้าใครอวดดีไม่ลงตามขั้นฌาน            คือ   ไม่ถอยลงมาจะไปติดฌาน 4 มันถอยไม่ออก จิตยังอยู่ในสมาธิ ระดับลึก เที่ยวเดินซึมอยู่นั่นแหละ     เป็นตนไม่พูด แม้บางครั้งเขาถามอะไรก็ไม่ได้ยิน บางทีพูดอะไรคำหนึ่ง แล้วก็ไม่พูดต่อมันเสียเพราะฌาน ยังค้างอยู่ ผู้ที่ได้ฌานแล้วตั้งแต่ ฌาน 2 3 4 อาจมีฤทธิ์มีอำนาจ วาจาสิทธิ์ได้เพราะวาจามีสัจจะ เราจะว่าใครให้ฉิบหายเข้าให้ป่นปี้อย่างใดอย่างหนึ่งไม่ได้ ถ้าว่าไปแล้วอาจเป็นจริง ๆขึ้นมา เพราะตอนที่เรามีฌานอยู่ ทุกวันนี้จิตเราเป็นพรหม แม้กายเรายังเป็นมนุษย์อยู่ก็จริงแต่จิตเป็นพรหม แม้กายเรายังเป็นมนุษย์อยู่ก็จริงแต่จิตเป็นพรหมจึงมีวาจาสิทธิ์ได้อย่าได้พูดปรักปรำใครอย่าได้กล่าวตำหนิใครในทางเสียหาย เขาอาจเสียจริงๆ ได้ เช่น สมมุติว่าเห็นคนขึ้นต้นไม้เราพูดเชิงเล่น ว่า เออระวังน้ำ มันจะตกลงมา อย่าพูดเข้า ถ้าพูดมันจะ     ตกลงมาจริงๆ นี่สำคัญมาก ฉะนันเราต้งระวังความคิด ระวังวาจา การทำฌานมีอานิสงฆ์มากมาย เช่น       
                    1. นอนก็หลับสบายไม่ฝันเลอะเทอะ ตื่นขึ้นมาก็สบายจิตใจผ่องใสไม่เศร้าหมอง หน้าตามีราศรี อิ่มเอบด้วยเลือดฝาด
                    2. ศาสตราวุธไม่กินกาย
                    3. ไฟก็ไม่ไหม้บ้าน แม้ยาพิษก็ทำอันตรายไม่ได้
                   4. เป็นที่รักใคร่ของมนุษย์และอมนุษย์ทั้งหลาย
                   5. เทวดาก็คุ้มครองรักษา
                   6. เป็นผู้มีโชคลาภ
                   7. โรคภัยไม่ค่อยเบียดเบียน
            ถ้าใครเกิดตายลงขณะที่มีฌานก็จะไม่เกิดในอบายภูมิ (อันมี นรก เปรต อสูรกาย สัตว์เดรัจฉาน) แต่จะเกิดในพรหมโลก แล้วแต่กำลังที่เรามี ฌานอยู่ถ้าเราอยู่ในฌานที่ 4 เต็มที่ ต้องไปเกิดในพรหมโลก ในชั้นที่ไม่เกิน 11 คือ วิสัญญีภพ มีอายุยืนถึง 500 กัลป์ (1 กัลป์ เท่า 6,420 ล้านปี ) ทุกสิ่งทุกอย่างที่อาจารย์แสดงธรรมในเรื่องการปฏิฌานที่ว่าตาทิพย์ อาจารย์ได้รู้ได้พบเห็นมาแล้วทั้งสิ้น เป็นของมีจริงเป็นจริง จึงยืนยันให้ศิษย์ทุกๆ คนจงเชื่อมั่นในคำสอนที่ให้ไว้นี้ ขอให้ตั้งใจปฏิบัติเมื่อเราได้ฌานแล้ว เราก็จะรู้ทันทีว่าคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าเป็นของมีจริงทำให้เรามีศรัทธาอันแรงกล้าขึ้นทีเดียวแล้วที่เมื่อก่อนเคยดูหมิ่นว่า พระพุทธ  พระธรรม พระสงฆ์ ไม่มีจริงอะไรเหล่านี้ เมื่อเราทำฌานได้  เราจะรู้คุณค่าของพระธรรมว่าพระธรรมเป็นของมีจริง เมื่อมีพระธรรมก็ก็ต้องมีพระพุทธเจ้าจริง พระสงฆ์ก็อาศัยพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุธเจ้าเป็นแนวทางในการประพฤติปฏิบัติจนหมดอาสวะ(กิเลสที่ละเอียด ตามเยี่ยงอย่างพระพุทธเจ้า)


        เมื่อครบแล้วก็ท่องถอยหลังว่า ตโจ ทันตา โลมา เกศา เรียกว่าปฏิโลม ระหว่างที่ภาวนาอยู่นั้น หากมีความคิดใด ๆ ขึ้นมาที่จิต ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอะไรก็ตามก็ให้พยายามมีสติรู้ว่ากำลังคิดเรื่องนั้นๆ  แล้วละความคิดนั้นเสีย หันมาภาวนาเกศา โลมา…ใหม่ โดยมากจิตเรานั้นชอบนึกชอบคิดเสมอ ดังนั้น   พระพุทธองค์จึงมีอุบายให้ภาวนา เพื่อให้จิตไปยึดกรรมฐาน ๕ (เกศา โลมา นขา ทันตา ตโจ) นอกจากกรรมฐาน ๕ แล้วยังมีกรรมฐานอื่นๆ อีกทั้งหมดตั้ง 40 อย่าง แต่จะไม่สอนเพราะถือว่ากรรมฐาน ๕ เป็นสิ่งสำคัญ ที่ว่าเป็นสิ่งสำคัญ ก็เพราะว่าตาบัญญัติเรียกว่า เป็น โกฏธาตุ คือเป็นสิ่งของที่หยาบมีอยู่ในตัวเราทั้งสิ้น สามารถเห็นด้วยตา   เนื้อ ได้
(ที่มาจากคู่มือ ณาญ 4 ของพระอาจารย์กมล สำนักปฏิบัติธรรมพุหวาย ที่ได้ไปอบรม)