วันจันทร์ที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2554

ปัญญามาก ปัญหาน้อย ปัญญาน้อย ปัญหามาก

.
"ผู้มีปัญญามาก ย่อมเห็นความจริงในชีวิตมาก  ผู้มีปัญญาน้อย ย่อมเห็นความจริงในชีวิตน้อย"
"ผู้มีปัญญามีความสุขมากกว่าผู้มีเงิน"
"คนมีปัญญารู้สึกทำใจให้เป็นสุข แม้ไม่ใช่เรื่องที่ไม่น่าสุข  คนโง่ ทำใจให้เป็นทุกข์ได้ แม้ใน
เรื่องที่ไม่น่าทุกข์"


ขอยกเอาพุทธศาสนสุภาษิตเอามาเป็นหัวข้อและคำคมให้ฉุกคิดเพราะมนุษย์เราเกิดแก่ เจ็บ
ตาย ทุกคนหนีไม่พ้นทุกข์ ตลอดช่วงชีวิตทุกช่วงวัย คนทุกคนต้องเจอกับปัญหาแตกต่างกันไป
ดังนั้นคนบางคนก็ต้องพึ่งหมอดูอยากรู้อนาคต หรือบางคนต้องพึ่งหมอผี ไสยศาสตร์ เพื่อบรรเทา
ความทุกข์ในใจ ดังจะได้เห็นว่าหมอดูออนไลน์ 1900 เกิดขึ้นมากมาย สาเหตุมาจากในยุคที่เจริญทาง
เทคโนโลยี เจริญทางวัตถุ ยุคไอโฟน 3G แต่คนกับป่วยทางจิตมากขึ้น ขี้เหงา น้อยเนื้อตำ่ใจ
ชอบเปรียบเทียบ ทำไมฉันไม่เกิดมารวย สวยเด่นเหมือนคนอื่น ทำไมเราไม่มีโชค ก็เลยเกิดทุกข์


ถ้าไม่พูดถึงเหตุการณ์มหาอุทกภัยที่ประเทศไทยกำลังประสบอยู่ตอนนี้คงไม่ได้เลย เพราะทำให้เราได้เรียนรู้อะไรมากมายและสามารถเป็นข้อคิด บทเรียน ในอนาคตได้ ไม่ว่าจะเป็นการที่เราต้องตั้งสติ
เตรียมตัวเก็บข้าวของ จัดลำดับความสำคัญที่ต้องทำอะไรก่อนหลัง การที่เราเห็นความมีน้ำใจของคนไทยในยามทุกข์ แต่ในวิกฤตนี้เรากลับเห็นเหตุการณ์ที่ไม่น่าเกิด ไม่ว่าจะเป็นการเห็นแก่ตัวของคนที่
ซ้ำเติมผู้ประสบภัยโดยเข้าไปขโมยข้าวของ การแย่งถุงยังชีพ การทะเลาะกันเรื่องคันกั้นน้ำที่ค่อนค่าง
รุนแรงขาดสติและไร้เหตุผล ไม่มองผลประโยชน์ส่วนรวม เป็นต้น ก็ยิ่งทำให้เรายิ่งทุกข์มากขึ้นไปอีก


"เราจะรับมือกับความทุกข์ได้อย่างไร เราจะอยู่กับความทุกข์อย่างชาญฉลาดได้อย่างไร เราจะอยู่ท่ามกลางความทุกข์ในขณะเจ็บป่วยได้อย่างไร น้ำท่วมเราจะอยูอย่างไร แผ่นดินไหวเราจะอยูอย่างไร
โดยที่ไม่โดนความทุกข์กระทืบซ้ำ เพราะล้มแล้วยังโดนซ้ำก็แย่แล้ว " พระพยอมกล่าว

คนบางคนความทุกข์ไม่ได้มากมาย แต่ตีโพยตีพายเสียเกินเหตุ แต่บางคนเจอทุกข์วิกฤตสุดๆ กลับ
อยู่ได้อย่างฉลาด ก็คงต้องยกตัวอย่างประเทศญี่ปุ่นที่เขาเจอทั้งแผ่นดินไหวและยังเจอนิวเคลียร์รั่วอีก
แต่คนของเขามีสติดีมาก สงบเสงี่ยมต่อแถวเข้าคิวรอรับของ และหยิบไปโดยจะเหลือให้คนที่ยังไม่ได้
ไม่มีแก่งแย่งโวยวาย เขากลับเห็นใจซึ่งกันและกันทั้งๆที่เขาก็นับถือพุทธศาสนาเหมือนเราแต่คนละนิกาย


ทุกข์มาปัญญาเกิด เมื่อทุกข์มาต้องให้ธรรมะเกิด ปัญหามาต้องรีบให้ปัญญาเกิด ปัญยาจะเกิดเพราะเรา
ทำสมาธิ เกิดสติ เมื่อมีสติ ปัญญาก็จะตามมา ว่าถ้าน้ำจะมาเราต้องทำอะไร เช่นพยามฟังข้อมูลข่าวสาร
และวิเคราะความเป็นไปได้ว่า น้ำจะมาถึงบ้านเราไหม บ้านเราอยู่ในทำเลเสียงใกล้แม่น้ำหรือเปล่า
ถ้าน้ำจะท่วมจะท่วมวันไหนเราจะมีเวลาเตรียมตัว น้ำจะท่วมถึงระดับไหนเราจะได้ยกของขึ้นเหนือน้ำถูก
และจะท่วมนานแค่ไหน ถ้าน้ำท่วมมากอาจโดนตัดน้ำไฟเราก็อยู่ไม่ได้ เราควรอพยพไปที่ไหนเป็นการชั่วคราว เพื่อเอาชีวิตรอดก่อน ส่วนทรัพย์สินถ้าเก็บดีแล้วก็ต้องทำใจ ไม่ต้องห่วงมาก

ต้องคิดบวกเปลียนวิกฤตเป็นโอกาศ เปลียนทุกข์เป็นไอเดีย ให้คิดว่าดีเราจะได้ไปพักผ่อนต่างจังหวัด
เพื่อชาร์จแบต ได้กลับไปเยียมญาติที่ไม่เคยไปจะได้ไปพักกับเขา หรือดีถ้าน้ำท่วมเราจะได้เปลียนเฟอร์นิเจอร์ใหม่ เป็นต้น ถ้าเราฉลาดอยู่ในความทุกข์มันจะสวิงความทุกข์เป็นสุขให้ฉลาด เราก็ไม่
เครียดยังยิ้มได้ ต้องขอยกตัวอย่าง ระหว่างที่เขียนต้นฉบับอยู่นี้เปิดทีวีดูข่าวที่สัมภาษณ์ผู้ชายคนหนึ่ง
เป็นผู้ประสบภัยแบบถาวรก็คือเขาเป็นคนทุพลลภาพ ต้องนอนและนั่งรถเข็น แต่เขาไม่ต้องอพยพออก
จากบ้านที่น้ำท่วมหมู่บ้านเมตรครึ่งแต่ไม่ได้เข้าบ้านเขาเลย เพราะเขาเรียนรู้และคำนวณวางแผนว่าน้ำ
จะเข้าบ้านสูงเท่าไรต้องทำกำแพงรับแรงน้ำเท่าไรและต้องใช้ปั้มคอยสูบน้ำออกเท่าไรภายในบ้านแห้ง
เขาบอกว่าเขาใช้ชีวิตในบ้านแบบปกติและมีความสุขมากขึ้นเพราะสมาชิกภายในบ้านกับสิบกว่าคนมา
อยู่พร้อมหน้ามานั่งคุยวางแผนกัน อย่างมีความสุข

ทำอย่างไรใจของเราจึงทุกข์น้อยลง จนกระทั้งไม่ทุกข์เลย เราจะอยูที่ไหนก็สุขทุกที่ เราคนไทยโชคดี
ที่ได้เกิดมาแล้วมีพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ เพราะพระพุทธศาสนาแตกต่างจากศาสนาอื่นตรงที่สอนว่าทำอย่างไรถึงจะดับทุกข์ในใจได้ ถ้าใครสามารถเข้าใจอารมณ์ ก็จะสามารถเข้าใจว่า
ความคิดทำงานอย่างไร ใจมันรู้อย่างไร มันดับได้ วางได้ สั้นยาวได้ คนน่าจะมีความสุขได้ทุกขณะ
นั้นคือศิลปของการใช้ชีวิตที่สูงสุด ศิลปทางโลกเราต้องค้นคว้าตลอด เรียนไปเรื่อยๆต่อเนื่องเชื่อม
โยงไปเรื่อยๆแต่เมื่อมาศึกษาพระพุทธศาสตร์เป็น ก็จบไม่ต้องไปศึกษาอะไรอีกแล้ว

ส่วนหนึ่งของปัญญาคือ คิดว่าความสุขอยูที่ไหน มันอยู่ที่ตัวของเราเอง อยูที่จิตของเราเอง ถ้าคิดได้แบบนี้แล้วมาเริ่มแก้ที่จิต ฝึกพัฒนาจิตนั้นเป็นแนวทางของผู้มีปัญญามากอย่างแท้จริง คุณไม่ต้องไปเรียนรู้
อะไรอีกเลย ถ้าใจของคุญพอ คุณก็จะมีความสุขทุกๆที่ทีไป ทุกๆอย่างที่เป็น ปัญหาต่างๆก็น้อยลง
จากทุกทุกทุกข์ ก็เป็นทุกบางทุกข์ และสุดท้ายก็จะไม่ทุกสักทุกข์

ขอให้พี่น้องคนไทยทุกคนให้มีปัญญา มีกำลังใจ ให้ผ่านปัญหาไปได้เร็วและกลับมาเริ่มต้นชีวิตใหม่ต้อนรับปีใหม่ที่กำลังจะมาในเร็วๆนี้ และฉบับหน้าต้นปีผมจะมาบอกว่าจะทำบุญอย่างไรให้ได้บุญและ
จะเป็นคนรวยบุญอย่างไร แล้วพบกันฉบับหน้าครับ

วันจันทร์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2554

ขาดสติชั่ววูบเพราะสมาธิเสื่อม

     คนเราทุกวันนี้รีบร้อน ใจร้อน กระวนกระวายและขี้หงุดหงิด อดทนรออะไรนานๆไม่ค่อยได้ ยกตัวอย่างง่ายๆที่เห็นคือเรื่องการขับรถ ในช่วงหลายวันก่อนผมขับรถไปแถวสุขุมวิท รถไม่ติดมาก แต่อาจติดบางช่วงอาจเนื่องมาจากคันหน้าขับช้าหรือไม่ก็ติดคนเปิดไฟเลี้ยวทำให้รถชลอตัว คันหลังก็ต้องหยุด และเมื่อรถไปได้ก็ต้องขับไปเรื่อยๆ แต่มีรถตู้คันหนึ่งรีบขับมาอย่างเร็วและขับแซงรถโต้โยต้าสีแดงไป ส่วนรถสีแดงเมื่อถูกแซงก็เร่งเครื่องขับตามรถตู้ไปติดๆ แล้วพยายามหาจังหวะแซงแต่ยังไม่มีโอกาศก็ขับแบบร้อนรนตามหลังรถตู้ไปเรื่อยๆเพื่อหาจังหวะ จนได้จังหวะที่แซงได้ก็ขับปาดหน้าและแซงคืนได้สมใจ

     ผมขับตามหลังอยู่เฝ้าดูเหตุการณ์ ได้นั่งขำอยู่ในใจ ไม่ได้ขำรถสีแดงคันนั้นแต่ขำตัวเองเมื่อสิบกว่าปีก่อนที่พฤติกรรมของผมเป็นแบบรถสีแดงคันนั้นและผมก็เห็นคนขำผมในตอนนั้น ซึ้งในอารมณ์ตอนนั้นผม รีบร้อน หงิดหงุด กระวนกระวาย จดจ่อกับการเอาคืน ในใจโกธรแค้นรถคันหน้าว่าทำไมต้องมาเสียมารยาทปาดหน้าเราด้วย ตอนนั้นเราขาดสติไปแล้ว ความคิดปรุงแต่งต่างๆนาๆ

      เมื่อก่อนผมมักจะเป็นคนหงิดหงุดง่าย เร่งรีบ ทำอะไรก็ต้องเร็วๆจนดูเหมือนเป็นคนรีบร้อนตลอด และผมก็เชื่อว่าคนส่วนใหญ่ทุกวันนี้ก็เป็นคนที่รีบร้อน เร่งรีบกันเสียส่วนใหญ่ สาเหตุนะหรือก็เพราะ ต้องรีบไปเพราะมีนัดเดี๋ยวไม่ทัน โอ้ยเวลามีน้อยต้องรีบๆกินเดี๋ยวเข้างานไม่ทัน เร็วๆเดี๋ยวร้านปิด ต่างๆนาๆ เนื่องจากว่าคนทุกวันนี้มีกิจกรรมมากมายหลายอย่างมากในแต่ละวันแต่ในขณะเดียวกันเวลาเรามี 24 ชั่วโมงเท่ากัน ดังนั้นเลยทำให้กลายเป็นคนเครียดง่าย ขี้หงิดหงิดและสุดท้ายกลายเป้นคนที่โกธรง่ายมาก
และรุนแรงสำหรับบางคน อย่างที่เราจะเห็นได้จากข่าวเกี่ยวกับการขับรถ ไม่ว่าจะเป็นข่าวที่กัปตันการบินไทยโดนไล่ยิง เนื่องมาจากการเปิดไฟสูงส่องใส่กัน หรือหนุ่มใหญ่ใจร้อนยิงดับคนขับสิบล้อตาย
คาพ่วงมาลัย สาเหตุขับรถเฉียวแล้วหนี เป็นต้น ซึ่งมาจากสาเหตุเล็กๆน้อยๆแต่กลายเป็นเรื่องใหญ่ถึงกับ
ต้องเอาชีวิตกันเลย

     แต่วันนี้ผมใช้ธรรมะขัดเกลากิเลสของตัวเอง ในเรื่องความโลภ ความโกธร และความหลง ให้เบาลง
เ้จ้าสามตัวนี้คือผู้ร้ายตัวจริงที่ซ้อนอยู่ในตัวเราทุกคน นับวันๆ มันจะเพิ่มพูลเพิ่มขึ้นตามวัยของเราซะด้วย
ตอนเด็กๆเราเเทบจะไม่ค่อยมีเจ้าพวกนี้เลย ต่อเมื่อเราเติบโตเรียนรู้ รับรู้เรื่องราวจากสิ่งรอบตัวมากขึ้น
มันก็โตตามเราไปเรื่อย ไม่ว่าการร้องไห้อยากได้โน้นได้นี่ ความรู้สึกที่เราไม่พอใจใครบางคน หรือการที่เราอยากได้ของเล่นเล็กๆน้อยๆเหล่านี้เริ่มก่อตัวและตกตะกอนภายในจิตใจของเรามากขึ้นๆทุกวัน ทุกเดือน ปีแล้วปีเล่าจนล่วงมา 20 30 40 หรือ 50 ปี จนมันก็แสดงฤทธิ์แสดงแดดออกมาจะมากจะน้อย รุนแรงแค่ไหนก็ขึ้นกับใครรับและสะสมไอ้ผู้ร้ายพวกนี้เอาไว้ในตัวมากน้อยแตกต่างกัน ดังนั้นถ้าเราไม่เอา
มันออกไปจากตัวเราวันหนึ่งมันจะควบคุมเรา และเราจะหาความสุขได้ยากในชีวิตนี้

     การที่เราจะควบคุมกิเลส 3 ตัวนี้ได้เราก็ต้องใช้สติให้รู้เท่าทัน ความคิด และอารมณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นมากมายในแต่และวันตั้งแต่เช้าจนกระทั่งเข้านอน วิธีการรักษาสติให้อยู่กบตัวตลอดเวลาคือการฝึกทำ
สมาธิเพื่อการสะสมพลังจิต เมื่อมีพลังจิตสูงขึ้น ก็จะไปประคองสติ และสติจะไปควบคุมอารมณ์ให้มีการยับยั้งช่างใจได้มากขึ้น เวลาเราฟุ้งซ่าน หงุดหงิด ความคิดต่างๆกำลังถูกปรุงแต่งอารมณ์ร้ายๆกำลังจะเกิดขึ้น ถ้าเรามีสติ เจริญสมาธิบริกรรม "พุทโธ ๆ " ในใจ ก็จะทำให้เราตัดความคิดปรุงแต่ง ตัดความฟุ้งซ่าน หยุดความกังวล และหยุดอารมณ์ที่กำลังขุ่นมัวให้เบาลงได้ เรื่องเล็กๆก็ไม่เป็นเรื่องใหญ่และเรื่องใหญ่ก็อาจจะเล็กลง

     การทำสมาธิไม่ใช่เรื่องยุ่งยาก สามารถทำได้ทุกที่ทุกเวลา ไม่ว่าจะที่บ้าน ที่ทำงาน หรือระหว่างเดินทาง นั่งรถเมล์คุณก็สามารถทำสมาธิได้ เพียงคุณตั้งจิตนึกถึงคุณพระพุทธ คุณพระธรรม คุณพระสงฆ์
คุณบิดามารดา คุณครูบาอาจารย์ จงมาดลบันดาลรวมใจของข้าพเจ้า จงรวมลงเป็นสมาธิ พุทโธ ธรรมโฆ สังโฆ ๆ ๆ  พุทโธ ๆ ๆ พร้อมทั้งหลับตา มือขวาวางทับบนมือซ้าย ถ้านั่งอยู่กับพื้นก็ให้นั่งขัดสมาด
เท้าขวาทับเท้าซ้าย แต่ถ้านั่งบนเก้าอี้ก็นั่งปกติ และเริ่มบริกรรม "พุทโธ ๆ ๆ " ในใจไปเรื่อยๆ เมื่อจิตเริ่มคิด
พุทโธ ๆ มันก็จะเริ่มตัดความฟุ้ซ่านในใจ ทำให้จิตเริ่มนิ่ง และค่อยๆสงบ แต่ถ้าจิตยังไม่นิ่งยังคิดโ้นนนี่อยู่
ก็ค่อยๆดึงกลับมานึก พุทโธ ๆ ใหม่ไปเรื่อยๆจนกว่าจิตนิ่ง ก็จะรู้สึกสบายเนื่องจากประสาทไม่ต้องเต้นตึบๆ
ความเครียดก็ค่อยจางลง คุณรู้สึกสงบลงไปเรื่อยๆอาจจะสักเพียงแค่ 5 นาที่สำหรับคนที่เวลาน้อยหรือไม่ค่อยมีเวลาแต่ ควรทำในตอนเช้าที่บ้านก่อนออกจากบ้านสัก 5 นาที ตอนกลางวันหลังทานข้าวเที่งก่อนเริ่มงานสัก 5 นาทีและก่อนนอนสัก 5 นาทีวันหนึ่งก็ 15 นาที่ทำทุกวัน เดือนหนึ่งตก 550 นาที่ประมาณ
7ชั่วโมงครึ่ง ก็เกินกว่ามาตราฐานขั้นต่ำ 6 ชั่วโมงแล้ว สำหรับพลังจิตที่เราสะสมเอาไว้จากการทำสมาธินี่จะไปคอยควบคุมสติของเราให้รู้เท่าทันอารมณ์ในแต่ละวัน และถ้าเรามีเวลาทำเพิ่มมากขึ้นในแต่ละวันและทำไปเรื่อยๆ พลังจิตของเราก็จะแข็งแกร่งขึ้นก็จะควบคุมอารมณ์โกธร โลภ หลงให้เบาลง

    ซึ่งพระอาจารย์หลวงพ่อวิริยังค์ สิรินทโธ ผู้ที่ก่อตั้งสถาบันพลังจิตตานุภาพ วัดธรรมมงคล ได้เขียนไว้ว่า" หน้าที่ของพุทธบริษัทจะต้องรับผิดชอบร่วมกันที่จะรักษาศิล-สมาธิ-ปัญญา โดยเฉพาะสมาธิถือว่าเป็นจุดสำคัญที่ต้องช่วยกันรักษาเพื่อเป็นประโยชน์ต่อสังคมโลก เพราะว่ามนุษย์ในโลกทุกคนก็ต้องมีความรับผิดชอบร่วมกันที่จะรักษาโลกนี้ไว้เพื่อความสงบสุข แต่ในขณะที่ชาวโลกได้ใช้แต่พลังจิตไปทุกวันๆ ไม่เคยคิดนำพลังจิตเข้ามาเลย จึงทำให้พลังจิตเสื่อมสภาพเร็วกว่าที่ควร เมื่อพลังจิตเสื่อมสภาพหมดก็จะไม่สามารถควบคุมจิตได้จึงเกิดความเครียด เมื่อความเครียดแผ่กระจายมากเท่าไหร่มนุษย์ต่อมนุษย์จะเกิดความขัดแย้งกันมากขึ้น

     สมาธิเ่ท่านั้นที่จะนำพลังจิตกลับคืนเข้าสู่ใจของมนุษย์ทำให้มนุษย์ได้เพิ่มพลังจิตขึ้น โดยวิธีที่ง่ายที่สุด ไฮเทคที่สุด จนสามารถเสริมสร้างพลังจิตให้มากและมากขึ้น ในที่สุดก็จะสามารถควบคุมจิตนั้นได้
ลดความเครียดลงได้เพราะอาศัยสมาธินี้


                                      .หัวเราะเยาะตัวเองเสียบ้าง
                                       สมนำ้หน้าตัวเองเสียบ้าง
                                      พร้อมด้วยเสียงหัวเราะเบาๆของเราเอง
                                      คิดบ้างว่าเราเป็นเพียง
                                       ตัวตลกตัวหนึ่งของโลกเท่านั้น

วันอาทิตย์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ประโยชน์ของสมาธิกับการถอนฟัน

     สืบเนื่องมาจากการที่ผมต้องการเปลียนแปลงชีวิตใหม่ในวัยสี่สิบปีโดยการไปบวชแม้เพียงระยะเวลาสั้นๆแต่นั้นก็เป็นจุดเริ่มต้นในการที่จะเข้ามาศึกษาและพัตนาจิตใจตนเองโดยใช้ธรรมะเป็นเครื่องมือ ซึ่ง
หลังจากลาสึกออกมาก็ปฏิบัติต่อเนื่องในเรื่องการทำบุญ ทำทาน รักษาศีล5 ศีล8 ทุกวันพระ สวดมนต์เช้าและเย็น พร้อมทั้งเจริญภาวนาสมาธิทุกวันไม่ขาด
     ตั้งแต่เม.ย 54 เมื่อสึกออกมาพอถีงวันพระต้องไปวัดเพื่อทำบุญเพื่อนก็แนะนำให้ไปวัดแถวบางปูพอไปถึงวัดเกิดมีงานก็เลยย้ายมาวัดแถวบางนาพอดีมีการบวชเณรก็ไม่มีการสวดมนต์มีคนแนะนำบอกทาง
ให้ไปวัดธรรมมงคล สุขุมวิท101/1 พอไปถึงวัดเห็นเจดีย์ใหญ่ทรงพุทธคยาสวยงามมากและเป็นวัดที่อยากมาเมื่อ2-3 ปีก่อนแต่เคยขับมาเองไม่ถามใครเลยมาไม่ถูกและก็ได้แต่ขับรถผ่านเส้นสุขุมวิทที่ไหรก็ได้แต่มองไม่คิดว่าวันนี้จะมาง่ายดายได้ขึ้นไปกราบพระบรมสารีริกธาตุและได้เดินชมรอบวัดจนไปถึงถ้ำวิปัสสนาเพื่อเข้าไปก็แปลกใจและคิดไปถึงว่าเมื่อคืนเหมือนจะฝันว่าใส่ชุดขาวมากับเพื่อนมานั่งพับเพียบ
อยู่ในที่ทึบๆ มืดๆ จนเมื่อเข้ามาในถ้ำก้บอกเพื่อนที่ไปด้วยว่าฝันเห็นเมื่อคืน ดังนั้นก็คิดว่าคงเลือกวัดธรรมมงคลนี้เเหลาะทีจะมาทำบุญทุกวันพระ
     ก็ต้องบอกว่าเหมือนธรรมจัดสรรในที่ทีอยากมาและในเวลาที่เหมาะสม ที่วัดมีหลักสูตรมากมายหลาย
หลักสูตรและยังเป็นโรงเรียนพระปริยัติธรรม ผมสนใจหลักสูตรการทำสมาธิ กอรปกับวัดมีสาขาที่สอนอยู่
หลายแห่งและมีสาขาวัดผ่องพลอย ที่สุขุมวิท105 ลาซาล42 ใกล้กับบ้านผมลาซาล32 ก็ตัดสินใจมาเรียนแต่เนืองจากครูสมาธิรุ่นนี้เขาเปิดปฐมนิเทศไปแล้วตั้งแต่เดือนกุมภาเป็นร่นที่28 แต่ผมเอาปลายๆเม.ย หลักสูตรมีระยะเวลา 6 เดือน ดังนั้นผมก็มานั่งเรียนไปก่อน ตั้งแต่ พ.ค มิ.ย และก.ค ไปก่อนเพื่อรอ
เรียนร่นที่ 29 ที่จะปฐมนิเทศนักศึกษาใหม่วันที่ 14 ส.ค 54 เพราะฉนั้นผจะได้เรียนหลักสูตรครูสมาธิถึง
9 เดือน เรียนเฉพาะเสาร์-อาทิตย์ 9.00-17.00 น โดยหลักสูตรนี้เป็นของสถาบันพลังจิตตานุภาพ ของหลวงพ่อวิริยังค์ สิรินธโร สอนทั้งภาคทฤษฏีและปฏิบัติ มีหนังสือและเทปหลวงพ่อประกอบการบรรยาย
เนื้อหาละเอียดมาก พร้อมทั้งมีการบ้านให้กลับมาปฏิบัติ  และที่สำคัญมีพี่เลี้ยงใจดีคอยดูแล
     เป็นเวลากว่า 4 เดือนแล้วที่ผมได้นั่งสมาธิทุกวันต่อเนื่องทั้งเช้า 15 นาที ตอนเย็น 15 นาที วันพระ
จะไปนั่งที่เจดีย์และในถ้ำที่วัดธรรมมงคล อย่างตำ 1 ชม และมาเรียนเสาร์-อาทิตย์ นั่งสมาธิ 1 ชมและ
เดินจงกลม 1 ชม เดือนหนึ่งมาเรียน นั่งสมาธิและเดินจงกลม 16 ชม นั่งที่บ้าน 15 ชม และที่วัด
วันพระประมาณ 4 ชม รวมเป็น 35 ชมต่อเดือน และ 150 ชมกว่าแล้วณวันนี้ (กย 54)เป็นการสะสมพลังจิตจากการนั่งสมาธิ ซึ่งคนที่จบหลักสูตรนี้เมื่อเรียนครบต้องไม่ต่ำกว่า 200 ชม แต่ถึงกระนั้นการทำสมาธิ
ก็คงต้องทำต่อเนื่องอย่างสมำเสมอทุกๆวัน และต้องหาโอกาศทำเพิ่มขึ้นๆ เพื่อสะสมไปเรื่อยๆตราบใดที่เรายังมีลมหายใจอยู่ อย่างพระที่เก่งท่านทำวันละ5-6 ชมต่อวัน เดือนหนึ่งไม่ต่ำกว่า 150-160 ชม ปีหนึ่งเกือบ 2000 ชม ท่านปฏิบัติมา 50 พรรษา เป็น 10000 ชม ดังนั้นพลังจิตของท่านจึงเข็งแกร่งมากๆ
     สำหรับผมแล้วก็ถือว่าการทำสมาธิเป็นเพียงเด็กทารกอยู่ ยังน้อยนิดยังต้องสะสมไปอีกแต่แม้ว่าจะเพิ่งเริ่มนั่งไม่นานก็ได้เห็นถึงประโยชน์และความอัศจรรย์หลายอย่าง อย่างเช่นความบังเอิญเล็กๆน้อย
จะเรียกว่าบังเอิญก็บังเอิญ จะเป็นโชคดีหรือฟลุ๊กบ้างหรือจะมองไปในทางว่าธรรมจัดสรรก็แล้วแต่อยากจะคิดไปกับเหตุการณ์ต่างๆ ก็ไม่ได้ไปคิดมากอะไร และที่สำคัญคือเรามีสติมากขึ้นรู้อารมณ์แม้บางที่เรา
โกธรโมโหไปแล้วแต่ก็ยังระลึกรู้และเสียใจว่าไม่น่าไปหงุดหงิดเลย และถ้าเราทำสมาธิมากกว่านี้เราก็
อาจจะยับยั้งได้มากขึ้น แต่เรื่องที่จะเล่านั้นคิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์มาจากการทำสมาธิ เมื่อวันที่ 25 มิถุ
นายน 54 ที่ผ่านมาผมได้ไปผ่าฟันคุด ซึ่งหมอบอกว่าดูจากลักษณะฟันซี่ใหญ่ อยู่ลึก ฟันก็ไม่ได้อยู่ในตำแหน่งที่จะผ่าออกง่ายนัก และอายุคนที่ผ่าก็แยอะแล้ว ดังนั้นอาจจะบวมมากและปวด อักเสบ เปลียนใจได้ แต่ถ้าไม่ก็ช่วยเซ็นต์รับทราบ หมอพูดแบบนี้เราก็กลัวเหมือนกัน ใจคิดไปถึงข่าวที่คนที่ไปถอนฟัน
แล้วเป็นไข้เพราะเชื้อขึ้นสมองอะไรทำนองนี้ แต่ก็มาแล้วนี่หมอก็ฉีดยาชาแล้วด้วยจะปฏิเสธยังไงละ
     ตลอดการผ่าฟันกว่า 2 ชม หมอก็พูดตลอด ผ่าแล้วนะ เจ็บบอกหยุดได้นะ ฟันซีใหญ่มาก อยู่ลึกผ่าลำบาก แถมพี่อายุแยอะ ต้องผ่าแผลกว้างๆหน่อย เอะ พี่ไม่เจ็บเลยหรือ พี่แข็งแรงจัง ไม่เจ็บเลยหรือ
พักก่อนไหม หมอว่าพักก่อนเถอะ ช่วยกลิ่นเลือดที่ไหลออกมา ออกมาแยอะมาก เดี๋ยวไป x-ray อีกที่
กลับมานอนให้หมอทึ้งต่อกับผู้ช่วยอีก 2 คน รวม 6 มือ กับ หนึ่งปากที่ช่วยฮ้ากว้างๆหน่อย เพราะต้อง
ยัดทั้งเครื่องเจียฟัน สายดูดน้ำลายและสายพ่นน้ำเกลือ สาระพัดสาระเพที่ต้องนอนอ้าปากอยู่ตรงนั้น
ถามว่าเจ็บไหม ในสภาพแบบนั้นซึ่งหมอเองก็คิดว่าคนไข้น่าจะเจ็บก็เลยถามตลอด แต่ผมก็ได้แต่สั้นหน้าและก็อยากให้หมอทำให้เสร็จๆโดยที่ไม่ต้องพัก ซึ่งผมก็ไม่ได้รู้สึกเจ็บมากอะไร ก็ทนได้ อาจจะเป็นเพราะยาชาที่หมอฉีดให้ด้วยหรือเปล่า หรือเป็นเพราะก่อนที่หมอจะทำการผ่า ผมก็เริ่มคิดถึง พระพุทธ
พระธรรม พระสงฆ์ ครูบาอาจารย์ ว่าให้ช่วยผมที่ผมจะทำสมาธิ พาจิตผมไปเทียว ปลายร่างนี้ให้หมอ
จัดการไป ถอดจิตแยกกาย เริ่มบริกรรม พุทโธ ๆ ไปเรื่อยไม่หยุดตลอด นี้เป็นสาเหตุหรือเปล่าก็ไม่แน่ใจ
     จนได้มาเจอบทความหนึ่งเขียนว่า " สมาธิกับการวางยาสลบ" เป็นงานวิจัยของหมอซาราห์ แมคลีน
จากสถาบันวิจัยทางการแพทย์จอนห์นส์ ฮอปกิ้นส์ ซึ่งพบว่าการนั่งสมาธสามารถเปลียนแปลงปฏิกิริยาสองอย่างหลักๆ ในการรับรู้ของเรา อย่างแรกคือเปลียนระดับของความเจ็บปวดให้เบาบางลงและอย่างที่
สองคือ เตรียมจิตใจของเราให้พร้อมรับความเจ็บปวดมากขึ้น ตัวอย่างเช่น เวลาถูกถอนฟัน ขั้นที่หนึ่งสมาธิจะช่วยให้ความคิดของเราไม่ไปจดจ่อที่ความเจ็บปวดนั้น และขั้นต่อมาสมาธจะทำให้เรารู้จักควบคุมความทุกข์ทรมานทางใจที่เกิดขึ้นจากความเจ็บปวด
     นักวิจัยจากสถาบัน Santa Bara Institute for consciousness studies ถึงกับลงความเห็นว่า " การนั่งสมาธิ
น่าจะเป็นยาขนานดีในการที่จะระงับความเจ็บปวดทุกข์ประเภท โดยเฉพาะความเจ็บปวดสาหัส เพราะ
ความคิดของเราในเวลาที่ไม่ถูกควบคุมมักจะไปขยายความเจ็บปวดให้มากเป็นทวีคูณ ความทุกข์ในใจนั้นเปนตัวการหลักของความทรมาน หาใช่ตัวบาดแผลเองไม่
     ดังนั้นถ้าเราหมั่นฝึกฝนควบคุมความคิดให้ดี เราก็สามารถควบคุมระดับของความเจ็บปวดได้ดี การนั่ง
สมาธิ ไม่จำเป็นต้องนั่งนานๆ แค่ทำเพียงวันละห้าถึงสิบนาที่แต่ทำทุกวันอย่างต่อเนื่อง ก็จะส่งผลต่อชีวิตของเราอย่างใหญ่หลวง นอกจากลดความเจ็บปวดแล้ว ยังลดความเครียด เพิ่มการหลั่งสารความสุข ทำให้หลับสบายตื่นเช้าก็สดชื่น และยังมีสติรับมือกับปัญหาต่างๆได้ตลอดวัน
     การนั่งสมาธิมีประโยชน์มากมายขนาดนี้แล้วทำไมคนไทยถึงไม่คิดที่จะอยากทำ ปล่อยให้ฝรั่งเขาทำเขาศึกษาเดินทางข้ามทวีปมาเรียนกับพระดังๆของไทย ฉนั้นเรามาเริ่มทำสมาธิกันเถอะครับแล้วท่านจะเห็นการเปลียนแปลงในชีวิตอย่างไม่น่าเชื่อ



สนใจเรียนสมาธิกับสถาบันพลังจิตตานุภาพ สาขา 10  วัดผ่องพลอยวิริยาราม   ซอยลาซาล46 สุขุมวิท105  กำลังเปิดรับสมัครนักศึกษา รุ่นที่ 29
081-5588017 (พี่สุวิทย์) 081-4438205 (พี่วิไล)
    

วันจันทร์ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

วันเข้าพรรษา 2554 ประวัติวันเข้าพรรษา วันเข้าพรรษามีความสำคัญอย่างไร


                        วันเข้าพรรษา 2554 ประวัติวันเข้าพรรษา วันเข้าพรรษามีความสำคัญอย่างไร
16 กรกฏาคม 2554 นี้เชิญชวนทุกท่านปฏิบัติตนเป็นคนใหม่ ทำบุญ ถือศีล และเจริญภาวนา

เข้าถึงพระนิพพาน

คนที่ปฏิบัติเพื่อพระนิพพานจะใคร่ครวญอย่างไรจึงจะง่ายที่สุด สั้นที่สุดพระพุทธเจ้าข้า ?
"เจ้าจงใคร่ครวญอย่างนี้ จงคิดว่าเราเป็นผู้ไม่มีอะไรเลย ทรัพย์สินก็ไม่มี ญาติ เพื่อน ลูกหลาน เหลนก็ไม่มี เพราะทุกอย่างที่กล่าวมามีสภาพพังหมด เราจะทำกิจที่ต้องทำตามหน้าที่ เมื่อสิ้นภาระ คือ ร่างกายพังแล้ว เราจะไปนิพพาน เมื่อความป่วยไข้ปรากฎ จงดีใจว่าภาวะที่เราจะมีโอกาสเข้าสู่พระนิพพานมาถึงแล้ว เราสิ้นทุกข์แล้ว ร่างกายเป็นเพียงเศษธุลีที่เหม็นเน่า มีความสกปรกโสโครก ทรุดโทรม เดินไปหาความเสื่อม
แตกสลายทุกขณะ คิดไว้อย่างนี้ทุกวัน จิตจะชิน จะเห็นเหตุผล เมื่อตาย อารมณ์จะสบาย แล้วจะเข้าสู่พระนิพพานได้ทันทีพระพุทธองค์ทรงสอนต่อไปว่า ให้ลูกหลานของเธอทุกคน หรือ บริษัทของเธอทุกคน เขาตั้งใจอย่างที่ฉันพูดนะ
การไปสวรรค์ก็ดี ไปพรหมโลกก็ดี ไปนิพพานก็ดีเป็นของง่าย ไม่ใช่ของยากแบบที่นักปราชญ์ในโลกเขาพูดกันเวลานี้ เวลานี้นักปราชญ์ทั้งหลายนิยมความยาก สิ่งไหนก็ตามที่มันยาก เขาถือว่าดี เป็นแบบฉบับที่ถูกต้อง แต่ว่าฉันเห็นว่านั่นไม่ถูกต้อง ถ้าตามคติของฉัน ฉันว่าไม่ถูก เพราะสอนคนหรือพูดให้คนเข้าใจง่ายที่สุด และได้ผลมากที่สุด อันนี้ดีกว่า ดีกว่าหาวิธีที่ยากที่สุด แล้วได้ผลน้อยที่สุด อย่างนี้ไม่ดี ไม่ใช่ความประสงค์ของฉัน สัมภเกสี(ชื่อของหลวงพ่อพระราชพรหมยานที่พระพุทธองค์ทรงเรียก) เตือนบริษัทและลูกหลานของเธออย่างนี้นะ ว่าให้ทุกคนรู้ตัวแล้วว่ามีวิมานอยู่บนชั้นกามาวจร เมื่อถึงเวลาเขาทำชั่วอะไรมาก็ช่างเถอะ เวลาก่อนนอนให้นึกถึงความดีที่ทำไว้ ขึ้นชื่อว่าความชั่วทั้งหลายปล่อยมันไปนึกถึงแต่ความดี แล้วเอาใจนี้จับไว้ว่านี่เรามีวิมานแก้ว 7 ประการไว้บนสวรรค์ชั้นกามาวจร จากทำบุญ วิหารทาน สังฆทาน และธรรมทาน เมื่อเวลาที่เราตาย เราจะไปอยู่วิมานนั้น ถ้าเวลาป่วยไข้ไม่สบาย ไม่ต้องเอาอะไร นึกถึงคุณพระรัตนตรัย คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ จะนึกถึงพระพุทธก็ได้ พระสงฆ์ก็ได้ สิ่งก่อสร้างก็ได้ อย่างใดอย่างหนึ่งไว้ในใจ แล้วตั้งใจว่าเราจะไปอยู่วิมานของเราที่มีอยู่แล้ว เพียงเท่านี้นะ ถ้าเขาตาย เขาจะถึงสวรรค์ชั้นกามาวจรทันที

บรรลุโสดาบัน

ท่านสาธุชน พุทธบริษัททั้งหลาย สำหรับคืนนี้ก็มาเริ่มปฏิบัติเนื่องในโสดาปัตติมรรค หรือว่า ปฏิบัติเพื่อพระโสดาบันปัตติมรรค การเจริญพระกรรมฐานนี่ พระพุทธเจ้ามีความต้องการให้ผู้ปฏิบัติทุกท่านเข้าถึงพระอริยมรรค พระอริยผล ถ้าเราจะปฏิบัติกันอย่างเลื่อนลอยก็มีความสุขเหมือนกัน แต่มีความสุขไม่จริง ที่จะปฏิบัติให้มีความสุขจริง ๆ ก็จะต้องมีจุดใดจุดหนึ่งเป็นเครื่องเข้าถึงจึงจะใช้ได้ ในอันดับแรกนี้ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงต้องการผลอันดับต้น คือ ได้พระโสดาบันปัตติมรรคหรือพระโสดาปัตติผล หรือที่เราเรียกกันว่า พระโสดาบัน ก่อนที่ท่านทั้งหลายจะศึกษาอย่างอื่น ก็โปรดทราบว่า สำหรับพระโสดาบันนี้ละสังโยชน์ได้ ๓ ประการ คือ๑. สักกายทิฏฐิ ตัวนี้มีปัญญาเพียงเล็กน้อย เพียงแค่มีความรู้สึกว่าเราจะต้องตายเท่านั้น เป็นผู้ไม่ประมาทในชีวิต คิดอยู่เสมอว่าความตายเป็นธรรมดาของชีวิต เราไม่สามารถจะหลีกเลี่ยงความตายให้พ้นได้ และความตายนี้ จะปรากฏขึ้นกับเราเมื่อไรก็ไม่แน่นอนนัก และเชื่อว่า ตายเช้า ตายสาย ตายบ่าย ตายเที่ยง ตายกลางคืน ตายกลางวัน อย่างนี้ก็ไม่มีความแน่นอน
เพราะว่าความตายไม่มีนิมิต ความตายไม่มีเครื่องหมาย แต่ถึงอย่างไรก็ดี เราก็ไม่สามารถจะหลีกเลี่ยงให้พ้นจากความตายไปได้ นี่สำหรับข้อแรก

สักกายทิฏฐิ ที่เห็นว่าร่างกายก็คือ ขันธ์ ๕ ได้แก่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ที่เรานิยมเรียกกันว่า ร่างกาย
พระโสดาบันมีความรู้สึกว่ามีปัญญาเพียงเล็กน้อย รู้แค่ตายเท่านั้น ยังไม่สามารถจะจำแนกแยกร่างกายว่าไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเราได้ ความรู้สึกของพระโสดาบันยังมีความรู้สึกว่าร่างกายเป็นเรา เป็นของเรา ทรัพย์สินทั้งหลายยังเป็นเรา เป็นของเรา
แต่ทว่ามีความรู้สึกว่า สิ่งทั้งหลายที่เป็นของเรานี้ทั้งหมด เมื่อเราตายแล้วเราก็ไม่มีสิทธิ์ที่จะเข้ามาครอบครอง หรือถ้าว่าเรายังไม่ตาย สักวันหนึ่งข้างหน้ามันก็ต้องสลายตัวไป เนื่องในข้อว่า สักกายทิฏฐิ พระโสดาบันคิดได้เพียงเท่านี้ ยังไม่สามารถจะแยกกายทิ้งไปได้ทันทีทันใด องค์สมเด็จพระจอมไตรจึงกล่าวว่า พระโสดาบันมีปัญญาเพียงเล็กน้อย

ในข้อที่ ๒. วิจิกิจฉา พระโสดาบันไม่สงสัยในคำสั่งและคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
คำว่า คำสั่ง ก็ได้แก่ ศีล
คำสอน ก็ได้แก่ จริยาอันหนึ่งที่เราเรียกกันว่า ธรรมะ เป็นความประพฤติดีประพฤติชอบ
ศีล พระพุทธเจ้าสั่งให้ละ หมายความว่า ละตามสิกขาบทที่กำหนดไว้ให้ คำสอนทรงแนะนำว่า จงทำอย่างนี้จะมีความสุข อีกทั้งคำสั่งก็ดี ทั้งคำสอนก็ดี พระโสดาบันมีความเชื่อมั่นในคุณพระรัตนตรัย คือ เชื่อพระพุทธเจ้า ในการเชื่อก็ใช้ปัญญาพิจารณาก่อน ไม่ใช่สักแต่ว่าเชื่อ
นี่สำหรับสังโยชน์ข้อที่ ๓. สัลัพพตปรามาส เพราะอาศัยที่พระโสดาบันมีความเคารพในพระพุทธเจ้า มีความเคารพในพระธรรม มีความเคารพในพระสงฆ์ เมื่อพระพุทธเจ้าทรงแนะนำบรรดาพระสงฆ์ว่า จงนำธรรมะนี้ไปสอน พระสงฆ์ก็ไปสอน พระโสดาบันใช้ปัญญาเล็กน้อยมีความเข้าใจดี ยินยอมรับนับถือคำสั่งและคำสอนขององค์สมเด็จพระชินสีห์ ที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสมา แล้วพระสงฆ์นำมาแสดง

อาศัยมีศรัทธาในพระรัตนตรัยทั้ง ๓ ประการนี้ พระโสดาบันจึงเป็นผู้มีศีลบริสุทธิ์ เป็นอันว่า พระโสดาบัน ถ้าเราจะไปพิจารณากันจริง ๆ ก็ไม่เห็นมีอะไรสำคัญ มีสภาวะเหมือนชาวบ้านชั้นดีนั่นเอง ทีนี้เราจะกล่าวถึง องค์ของพระโสดาบัน ท่านที่เป็นพระโสดาบันจริง ๆ นั้น มีอารมณ์ใจ คำว่า "องค์" นี่หมายความว่า อารมณ์ที่ฝังอยู่ในใจ อารมณ์ใจของพระโสดาบันจริง ๆ ก็คือ
๑. มีความเคารพในพระพุทธเจ้า
๒. มีความเคารพในพระธรรม
๓. มีความเคารพในพระสงฆ์
๔. มีศีล ๕ บริสุทธิ์
อันนี้ก็ตรงกับพระบาลี ที่องค์สมเด็จพระชินสีห์ตรัสว่า พระโสดาบันกับพระสกิทาคามี เป็นผู้มีอธิศีล
สำหรับกิเลสส่วนอื่นจะเห็นได้ว่า พระโสดาบันยังมีกิเลสทุกอย่าง ตามที่เรากล่าวกันคือ : -
โลภะ ความโลภ
ราคะ ความรัก
โทสะ ความโกรธ
โมหะ ความหลง
จะว่ารักก็รัก อยากรวยก็อยากรวย โกรธก็โกรธ หลงก็หลง แต่ไม่ลืมความตาย คำที่ว่าหลงก็เพราะว่า พระโสดาบันยังต้องการความร่ำรวยด้วยสัมมาอาชีวะ พระโสดาบันยังต้องการความสวยสดงดงาม ต้องการมีคู่ครอง
อย่าง นางวิสาขามหาอุบาสิกาก็ดี ภรรยาของพระกุกกุฏมิตรก็ดี ทั้งสองท่านนี้เป็นพระโสดาบันตั้งแต่อายุ ๗ ปี แต่ในที่สุด ท่านก็แต่งงานมีเครื่องประดับประดาสวยงาม เป็นอันว่ากิเลสที่เราต้องการกัน เนื่องจากการครองคู่ระหว่างเพศ พระโสดาบันยังมี และก็ยังมีครบถ้วน เพราะว่าอยู่ในขอบเขตของศีล
ไม่ทำกาเมสุมิจฉาจาร ไม่ละเมิดความรักของบุคคลอื่น
ไม่ทำให้ผิดประเพณีหรือกฎหมายของบ้านเมือง และเป็นไปตามศีลทุกอย่าง คือ รักอยู่ในคู่ผัวตัวเมียตามปกติ
นี่ขอบเขตของพระโสดาบันมีเท่านี้ มีความต้องการรวยด้วยสัมมาอาชีวะ พระโสดาบันยังประกอบอาชีพ แต่ไม่คดไม่โกง ไม่ยื้อไม่แย่งใครเท่านั้น หามาได้แม้จะร่ำรวยแสนจะร่ำรวยก็ได้มาด้วยคามบริสุทธิ์ ไม่คดไม่โกงเขา พระโสดาบันยังมีความโกรธ ไอ้โกรธน่ะโกรธได้ แต่ว่าพระโสดาบันยังไม่ฆ่าใคร เกรงว่าศีลจะขาด
พระโสดาบันยังมีความหลง แต่หลงไม่เลยความตาย ยังมีความรู้สึกอยู่ว่าต้องการชีวิต ชีวิตของเรามีอยู่ ต้องการทำประโยชน์ให้เกิดขึ้น ยังไง ๆ เราก็ตายแน่ การที่จะหลีกเลี่ยงให้พ้นจากความตายไม่สามารถจะหลีกเลี่ยงได้
เป็นอันว่าถ้าเราพิจารณากันจริง ๆ ความเป็นพระโสดาบันนี่รู้สึกว่าไม่ยาก

การทำบุญ 10 อย่าง

ในทางพระพุทธศาสนา  การทำบุญมีด้วยกัน 10 วิธี  เรียกว่า บุญกิริยาวัตถุ 10” หรือ สิ่งอันเป็นที่ตั้งแห่งการทำบุญ 10 ประการ ได้แก่
1. ให้ทาน หรือ ทานมัย อัน หมายถึง การให้ การสละ หรือการเผื่อแผ่แบ่งปัน ไม่ว่าจะเป็นเงินทอง ข้าวของเครื่องใช้หรือสิ่งอื่นใด และไม่ว่าจะให้แก่ใครก็ถือเป็นบุญทั้งสิ้น  เพราะการให้ทานเป็นการลดความเห็นแก่ตัว ความตระหนี่ถี่เหนียว และความคับแคบในจิตใจให้น้อยลง ทำให้เราไม่ยึดติดในวัตถุสิ่งของ อีกทั้งสิ่งที่เราบริจาคหรือให้ทานแก่ผู้อื่นก็จะช่วยบรรเทาความเดือดร้อน และเป็นประโยชน์ต่อผู้รับ และสังคมโดยส่วนรวม การให้ทานนี้อยู่ที่ไหนๆ ก็ทำได้ และไม่จำเป็นต้องเงิน  เช่น การแบ่งของกินให้กับแม่บ้านที่ทำงาน หรือยาม เป็นต้น ข้อสำคัญ สิ่งที่บริจาคหรือให้ทานแก่ผู้อื่น ควรเป็นสิ่งยังใช้ได้ มิใช่เป็นการกำจัดของเหลือใช้ที่หมดอายุ หมดคุณภาพให้ผู้อื่น  ผลการให้ทานดังกล่าวจะทำให้ผู้ปฏิบัติเกิดความปีติอิ่มเอิบใจ

2. รักษาศีล หรือ สีลมัย  คำว่า ศีล หมายถึง ข้อบัญญัติทางพระพุทธศาสนา ที่กำหนดการปฏิบัติทางกายและวาจา  เช่น ศีล ศีล 8 หรืออาจจะหมายถึงการรักษากายวาจาให้เรียบร้อย การรักษาศีล เป็นการฝึกฝนมิให้ไปเบียดเบียนผู้อื่น ในขณะเดียวกันก็เป็นการลด ละ เลิกความชั่ว  มุ่งให้กระทำความดี อันเป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิต มิให้ตกต่ำลง  เช่น ไม่ไปเป็นชู้เป็นกิ๊กกับใครที่ทำงาน ทำให้ครอบครัวเขาไม่แตกแยก  เป็นแม่ค้าไม่โกหกหลอกขายของไม่ดีแก่ลูกค้า  เป็นพ่อบ้านไม่กินเหล้าเมายา ทำให้ลูกเมียมีความสุข เพื่อนบ้านก็สุข เพราะไม่ต้องทนฟังเสียงรบกวน จากการทะเลาะวิวาทกัน เหล่านี้ล้วนเป็นการรักษาศีล และเป็นหนึ่งในการทำบุญอีกรูปแบบหนึ่ง  ซึ่งผลบุญข้อนี้จะทำให้เรากลายเป็นคนเยือกเย็น  สุขุมด้วย
3. เจริญภาวนา หรือภาวนามัย เป็นการทำบุญอีกรูปแบบ ที่มุ่งพัฒนาจิตใจและปัญญา ทำให้จิตใจสงบ เห็นคุณค่าสิ่งต่างๆ ตามความเป็นจริง ซึ่งในข้อนี้หลายคนอาจจะทำเป็นประจำอยู่แล้ว เช่น นั่งสมาธิ วิปัสสนา แต่หลายคนอาจจะคิดว่าเป็นเรื่องยากเกินกำลัง ดังนั้น อาจจะทำง่ายๆ ด้วยวิธีการสวดมนต์เป็นคาถาสั้นๆ บูชาพระที่เราเคารพบูชาก่อนนอนทุกคืน เช่น คาถาพระพุทธเจ้าชนะมาร คาถาหลวงปู่ทวด เป็นต้น การสวดมนต์เป็นประจำ อย่างน้อยก็เป็นการน้อมนำจิตใจของเรา ไปสู่สิ่งที่เป็นมงคลในชีวิต เป็นการเตือนสติให้เรายึดมั่นในการประพฤติปฏิบัติชอบ ตามสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่เรานับถือ และผลบุญข้อนี้จะทำให้เกิดปัญญาแก่ผู้ปฏิบัติ
4. การอ่อนน้อมถ่อมตน หรือ อปจายนมัย หลายคนคงคิดไม่ถึงว่า การประพฤติตนเป็นคนอ่อนน้อมถ่อมตน จะถือเป็นบุญอย่างหนึ่ง ทั้งนี้ ก็เพราะว่าการอ่อนน้อมถ่อมตน ไม่ว่าจะเป็นผู้น้อยประพฤติต่อผู้ใหญ่  และการที่ผู้ใหญ่แสดงตอบด้วยความเมตตา หรือการอ่อนน้อมต่อผู้มีคุณธรรม รวมถึงการให้เกียรติ ให้ความเคารพต่อความคิด ความเชื่อ และวิถีปฏิบัติของบุคคล หรือสังคมอื่นที่แตกต่างจากเรานั้น เป็นการลดความยึดมั่นถือมั่นในความเป็นตัวตนของเรา ช่วยให้สังคมทุกระดับเกิดความเข้าใจต่อกัน และช่วยให้ชาติบ้านเมืองเกิดความสงบสุข จึงถือเป็นบุญอย่างหนึ่ง ผลบุญข้อนี้จะทำให้เกิดความเมตตาต่อกัน
5. การช่วยขวนขวายทำในกิจที่ชอบ หรือไวยาวัจจมัย พูดง่ายๆ ว่า เป็นการให้ความช่วยเหลือแก่สังคมรอบข้าง ในการทำกิจกรรมความดีต่างๆ เช่น ช่วยพ่อแม่ค้าขายไม่นิ่งดูดาย ช่วยสอดส่องดูแลบ้านให้เพื่อนบ้าน ยามที่เขาต้องไปธุระต่างจังหวัด ช่วยงานเพื่อนที่ทำงานให้แล้วเสร็จทันเวลา ให้กำลังใจแก่เพื่อนที่มีความทุกข์ เป็นต้น สิ่งเหล่านี้ถือเป็นบุญอีกแบบหนึ่ง และผลบุญในข้อนี้ก็จะช่วยให้เกิดความรักความสามัคคีขึ้นด้วย
6. การให้ผู้อื่นมาร่วมทำบุญกับเรา หรือ ปัตติทานมัย กล่าวคือ ไม่ว่าจะทำบุญอะไร ก็เปิดโอกาสให้คนอื่นได้มาร่วมทำบุญด้วย ไม่ขี้เหนียว หรืองกบุญเพราะอยากได้บุญใหญ่ไว้คนเดียว เช่น จะทำบุญสร้างระฆัง ก็ให้คนอื่นได้ร่วมสร้างด้วย ไม่คิดจะทำเพียงคนเดียว เพราะคิดว่าทำบุญระฆัง จะได้กุศลกลายเป็นคนเด่นคนดัง เลยอยากดังเดี่ยว ไม่อยากให้ใครมาร่วมด้วย เป็นต้น นอกจากนี้ การเปิดโอกาสให้คนอื่นมาร่วมทำงาน  ร่วมแสดงความคิดเห็น รวมไปถึงการทำบุญ อุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ล่วงลับไปแล้ว ก็ถือเป็นการทำบุญในข้อนี้ด้วย ผลบุญดังกล่าว จะช่วยให้เราเป็นคนใจกว้าง และปราศจากอคติต่างๆ เพราะพร้อมเปิดใจรับผู้อื่น
 
7. การอนุโมทนาส่วนบุญ
หรือ ปัตตานุโมทนามัย คือ การยอมรับหรือยินดีในการทำความดีหรือทำบุญของผู้อื่น  เมื่อใครไปทำบุญมาก็รู้สึกชื่นชมยินดีไปด้วย โดยไม่คิดอิจฉาหรือระแวงสงสัยในการทำความดีของผู้อื่น เช่น เพื่อนเดินทางไปสักการะสังเวชนียสถานมา ก็ร่วมอนุโมทนา ที่เขามีโอกาสได้ไปทำบุญ ในดินแดนศักดิ์สิทธิ์ ไม่อิจฉาเขา แม้เราไม่ได้ไป ก็อย่าไปคิดอกุศลว่า เขาได้ไปเพราะชู้รักออกเงินให้ เป็นต้น  การไม่คิดในแง่ร้าย จะทำให้เรามีจิตใจไม่เศร้าหมอง แต่จะแช่มชื่นอยู่เสมอ เพราะได้ยินดีกับกุศลผลบุญต่างๆ อยู่ตลอดเวลา แม้จะมิได้ทำเองโดยตรงก็ตาม
 
8. การฟังธรรม หรือ ธรรมสวนมัย การฟังธรรม จะทำให้เราได้ฟังเรื่องที่ดี มีประโยชน์ทั้งต่อสติปัญญา และการดำเนินชีวิต  ซึ่งการฟังธรรมนี้ ไม่จำเป็นต้องไปฟังที่วัด หรือจากพระท่านโดยตรง แต่อาจจะฟังจากเทป ซีดี หรือเป็นการฟังจากผู้รู้ต่างๆ และธรรมในที่นี้ ก็มิได้หมายถึงแต่เฉพาะหลักธรรม ในทางศาสนาเท่านั้น  แต่ยังหมายรวมไปถึงเรื่องจริง เรื่องดีๆ ที่ทำให้ผู้ฟังเกิดความรู้และปัญญา ผลบุญข้อนี้จะทำให้ผู้ฟังเกิดการรู้แจ้งเห็นจริงยิ่งขึ้น

9. การแสดงธรรม หรือ ธรรมเทศนามัย คือการให้ธรรมะหรือข้อคิดที่ดีๆ แก่ผู้อื่น ด้วยการนำธรรมะหรือเรื่องดีๆ ที่เป็นประโยชน์ไปบอกต่อ หรือให้คำแนะนำให้เขาได้รู้จักวิธีการดำเนินชีวิตที่ดี เช่น สอนวิธีการทำงานให้  แนะหลักธรรมที่ดีที่เราได้ยินได้ฟังมา และปฏิบัติได้ผลแก่เพื่อนๆ  เป็นต้น ผลบุญในข้อนี้ นอกจากจะทำให้ผู้อื่นได้รับรู้สิ่งที่เป็นประโยชน์แล้ว ยังทำให้ผู้บอกกล่าวได้รับการยกย่องสรรเสริญอีกด้วย
10. การทำความเห็นให้ถูกต้อง เหมาะสม หรือ ทิฏฐุชุกรรม คือ การไม่ถือทิฐิ  เอาแต่ความคิดเห็นของตนเป็นใหญ่  แต่ให้รู้จักแก้ไข ปรับปรุงพัฒนาความคิดเห็น และความเข้าใจในเรื่องต่างๆ ให้ถูกต้องตามธรรมอยู่เสมอ  หรือจะพูดง่ายๆ ว่า ให้คิดและประพฤติตนให้ถูกต้อง ตามทำนองคลองธรรมก็ได้ ซึ่งข้อนี้แม้จะเป็นข้อสุดท้ายแต่ก็สำคัญยิ่ง เพราะไม่ว่าจะทำบุญใดทั้ง 9 ข้อที่กล่าวมา หากมิได้ตั้งอยู่ในทำนองคลองธรรม การทำบุญนั้นก็ไม่บริสุทธิ์ และให้ผลได้ไม่เต็มที่ ดังจะได้กล่าวถึงเกณฑ์การวัดบุญต่อไป
สำหรับการทำบุญ ที่จะให้ได้ผลบุญมากหรือน้อยนั้น มีหลักเกณฑ์อยู่ 3 ประการคือ 
1.ผู้รับ จะต้องเป็นผู้มีศีล มีคุณธรรมความดี แต่ไม่จำเป็นจะต้องเป็นพระสงฆ์ หรือนักบวช จะเป็นคนทั่วไปก็ได้ ถ้าผู้รับดี ผู้ทำก็ได้บุญมาก หากผู้รับไม่ดี ก็อาจจะทำให้เราได้บุญน้อย เพราะเขาอาจอาศัยผลบุญของเรา ไปทำชั่วได้ เช่น ให้เงินช่วยเหลือเพื่อนๆ กลับเอาไปปล่อยกู้ สร้างความเดือดร้อนแก่ผู้อื่น  เป็นต้น
2.วัตถุสิ่งของที่ให้ต้องบริสุทธิ์หรือได้มาโดยสุจริต เป็นของที่เหมาะและมีประโยชน์ต่อผู้รับ เช่น ให้เสื้อผ้าของเล่นแก่เด็กกำพร้า เป็นต้น ของที่ให้ดีผู้ทำก็ได้บุญมาก หากได้มาโดยทุจริต แม้จะเอาไปทำบุญก็ได้บุญน้อย
3.ผู้ให้ ต้องมีศีลมีธรรมและมีเจตนาที่เป็นบุญกุศลในการทำ จึงจะได้บุญมาก นอกจากนี้ เจตนาหรือจิตใจในขณะทำบุญ ก็เป็นองค์ประกอบสำคัญกล่าวคือ ก่อนให้ ขณะให้ และหลังให้ หากผู้ให้มีความตั้งใจดี  ตั้งใจทำ  เมื่อทำแล้วก็เบิกบานใจ คิดถึงบุญกุศลที่ได้ทำเมื่อใด จิตใจก็ผ่องใสเมื่อนั้น เช่นนี้ก็จะทำให้ผู้ทำได้บุญมาก ถ้าไม่รู้สึกเช่นนั้น บุญก็ลดน้อยถอยลงตามเจตนา

ทั้งหมดที่กล่าวมานี้ จะเห็นได้ว่า ใครก็ตามแม้จะไม่มีโอกาส ให้ทานอันเป็นการทำบุญที่ง่าย และเป็นรูปธรรมที่สุด แต่เราทุกคนก็สามารถเลือกทำบุญในลักษณะอื่นๆ ได้อีกถึง 9 วิธี และเป็นสิ่งที่ทำได้ไม่ยาก เช่น การอ่อนน้อมถ่อมตน การช่วยเหลือแนะนำน้องๆ ที่ทำงาน การไม่ถือทิฐิหรือดื้อหัวชนฝา การร่วมยินดีกับการทำบุญของเพื่อน เป็นต้น เพียงแค่นี้ก็เห็นผลทันตาแล้ว คือ ความอ่อนน้อมถ่อมตน ทำให้ผู้ใหญ่เมตตาต่อเรา การช่วยเหลือเพื่อนฝูงทำให้ไปไหนเพื่อนๆ ก็รักใคร่ ยินดีต้อนรับ  ดังนั้น เริ่มต้นทำ บุญเมื่อใด บุญก็ส่งให้เห็น ผลเ มื่อนั้น

***สาระส่วนหนึ่งนำมาจากหนังสือ ฉลาดทำบุญโดยเครือข่ายชาวพุทธเพื่อพระพุทธศาสนาและสังคมไทย

ขอขอบคุณข้อมูลข่าว : อมรรัตน์ เทพกำปนาท กลุ่มประชาสัมพันธ์  สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม

วันเสาร์ที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ชีวิตและการต่อสู้ของอาโกเป็นแบบอย่างที่ดี

เขียนประวัติเริ่มเกิด ตอนเด็กใครเลียง เริ่มไปทำงานอายุเท่าไหร่ที่ไหน ตอนกลับมาอยู่กับย่าเรือยมาจนแต่งงานและเริ่มมีร้านเป็ดและลูกๆ ช่วงที่พ่อพานิชเข้ามาและลูกๆของโก นำทุกข์ใจมา วิกฤติหนักๆเรื่อง
อะไร จนมาปัจจุบัน เล่าจากถามและจำได้จากการสอน จดจำ แต่สรุปพอเห็นภาพและน่าสนใจเพื่อมาเป็นคำสอน อนุสรณ์ ให้ลูกหลานจดจำ


     ผมกับอาโกผูกพันกันมากเพราะผมต้องไปช่วยอาโกขายของตั้งแต่ตอนเด็กๆเหมือนจะอายุ 8-9 ปี
เห็นจะได้เพราะพ่อกับแม่ไปวิ่งรถอยู่ที่จันทบุรี ทำให้ผมกับน้องๆอีก 3 คนต้องอยูที่บ้านตลาดเก่า อำเภอพานทอง และก็ให้ผมซึ่งเป็นพี่ชายคนโตต้องดูแลน้อง 2 คน เพราะตอนนั้นน้องชายคนเล็กเพียง3-4 ขวบเท่นั้นเองแม่เลยเอาไปจ้างเขาเลี้ยง เพราะฉนั้นวันหยุดเสาร์อาทิตย์ผมจึงไปช่วยอาโกขายของที่ตลาดสด ที่ร้านขายเกี๋ยวเตียวแผ่นและของทะเลสดๆ ผมยังเคยไปซื้อของสดมาขายกับอาโกที่ตลาดวัดกลางในเมืองชลต้องตื่นแต่ตี 2-3 นั่งรถสองแถวที่เขาจะรับแม่ค้าไปและซื้อเสร็จกลับมาขายที่ตลาดพานทองเกือบๆตีห้า ต้องจัดของเตรียมของให้เสร็จก่อนลูกค้าจะมาซื้อตอนเช้าสักหกโมงและก็จะขายดีและยุ่งมากตอนเช้าๆสองคนอาหลานช่วยกัน

ต้นตระกูลสุภวัตร

     สุภวัตร    มาจาก สุภ ที่แปลว่า ดีงาม  วัตร ที่แปลว่า กิจวัตร โดยรวมแปลว่า ผู้ที่มีกิจวัตรที่ดีงาม
นั้นเป็นที่มาของนามสกุล ของตระกูล ซึ้งเจ้าของต้นตระกูลต้องการสื่อความหมายให้ลูกหลานในตระกูล
ให้ยึดมั้นในเจตนารมณ์ของผู้ก่อตั้งวงศ์ตระกูลสุภวัตรขึ้นมาคือ นายเจริญ สุภวัตร และนางส้มจีน
สุภวัตรผู้ที่เป็นคุณปู่และคุญย่าหรือคุณทวด ของผู้เขียนกับน้องๆและหลานๆ
     จากคำบอกเล่าจากปากของป้าและอาโก ที่ผู้เขียนเคยได้รับฟังมาตอนเด็กๆว่าคุณปู่ท่านเสียชีวิตตอนท่านยังหนุ่มๆ ปู่เป็นคนหน้าตาดี เรียนเก่ง ลายมือสวย และชอบสั่งสอน นั้นเป็นคำพูดของป้า(เอ็ง)ที่ผู้เขียนยังจำได้สมัยเด็กๆ ผู้เขียนยังจินตนาการไปเรื่อยเพราะคุญปู่เสียตอนที่คุญพ่ออายุเพียง6-7 ปีเท่านั้นดังนั้นความทรงจำเกียวกับคุญปู่นั้นน้อยมากแต่กับคุญย่าส้มจีนนั้นผู้เขียนพอจะจดจำได้บ้างเพราะตอนคุญย่าเสียผู้เขียนมีอายุประมาณ 6-7 ปีได้มั้ง ย่าเป็นคนใจดีและย่าดูเหมือนจะรักผู้เขียนมากอาจเป็นเพราะเป็นหลานคนแรกของท่าน จำได้ว่าตอนเด็กๆ จะไปช่วยย่าขายของประจำเพราะย่าจะเตรียมขนมเอาไว้รอเสมอ มีอยูวันหนึ่งขณะที่ผู้เขียนจะไปหาย่าต้องเดินผ่านห้องของอีนวล มันเป็นหมาที่ย่าเลี้ยงไว้มันโดดกัดขาผู้เขียนทั้งๆที่มันถูกล่ามไว้ จำได้แม่นเลย และผู้เขียนอยากขายของย่าก็ซื้อพวกขนมมาให้ผู้เขียนขายกับน้องสาว หลังเรากลับจากโรงเรียน ย่าชอบให้นวดให้ประจำ ให้ขึ้นไปเหยียบบนหลังของท่านชอบให้เหยียบแรงๆผู้เขียนเลยกลายเป็นหมอนวดประจำตัวของย่า ย่าชอบเรียกใช้ไปนวดอยู่บ่อยๆ มันเป็นช่วงเวลาที่สั้นๆที่ได้ผูกพันกับย่า จำได้ว่าย่าไม่สบาย ท่านเป็นเบาหวานต้องกินยาและไปโรงพยาบาล
เหมือนตอนย่าเสีย เป็นช่วงกลางคืนไม่ดึกมากที่โรงพยาบาลพานทอง ตอนผู้เขียนไปถึงเห็นหมอและพยาบาลช่วยกันปั้มหัวใจ แต่ย่าก็ไม่ได้ตอบสนองแล้ว ตอนนั้นมีอาโก อาเจ็ก อยู่ด้วยแต่พ่อพานิชไม่อยู่
เพราะตอนนั้นพ่อไปทำงานอยู่ที่จันทบุรี แต่แม่ได้โทรให้พ่อกลับมาจัดงานศพย่า ผู้เขียนรักย่าร้องไห้เสียใจที่ย่าจากไปและยั้งคิดถึงย่าอยู่หลายปี ผู้เขียนยังทันเห็นย่าแม้จะเป็นช่วงเวลาที่ไม่นานนักแต่กับปู่ไม่ค่อยจะได้รับรู้เรื่องราวของปู่เท่าไหร จนมาไม่นานนักหลังจากพ่อพานิชได้เสียไป เมื่อพค 53 ประมาณ 1 ปี
พค 54 อาโกก็ได้เอาสมุดบันทึกของปู่ที่อาโกได้เก็บเอาไว้มาให้อ่านและบอกประวัติคราวๆ ก็ให้ทราบถึงประวัติท่านเพิ่มมากขึ้นและมีคำสอนต่างๆที่ท่านได้เขียนเอาไว้ก่อนที่จะเสียได้เขียนถึงเหตุการณ์ต่างๆเอาไว้ดังนี้


     ปู่เป็นบุตรชายของก๋งย่งไผ่และยายหอยแครง แซ่จึง ซึ่งก๋งย๋งไผ่มาจากเมืองจีนมาอยู่เมืองไทยตั้งแต่
เล็กๆกับน้องชายคือเล่าเจ็ก.....เป็นชาวจีนแต้จิ๋วที่มณทลกวางตุ้งที่อบยพมาทางเรือและมาอยู่ประเทศไทยและก๋งย่งไผ่ก็ได้แต่งงานกับยายหอยแครงเป็นชาวไทยและมีบุตรชายคือนายเจริญ แซ่จึงเป็นบุตรชายคนเดียวจนนายเจริญเติบโตอายุ 18 ปี และเริ่มรับราชการที่อำเภอพานทองในแผนกศึกษาธิการและได้แต่งงานกับนางส้มจีนอยู่กินกันมามีบุตร 3 คนต่อมาลาออกจากราชการาออกมาค้าขายกับเพื่อนและปู่มีการเขียนบันทึกเล่าเรื่องแบบย่อๆ
     บันทึกเมื่อ 24 มิถุนายน 2490
พานิช ลูกรักสมุดน้อยเล่มนี้ พ่อบันทึกด้วยลายมือของพ่อเอง เพื่อไว้เป็นอนุสรณ์ของลูก ลูกเกิดมาเมื่อพ่ออายุได้ 35 ปี แม่อายุได้ 33 ปี หลังจากอยู่กินด้วยกันมา 7 ปีจึงมามีพานิชลูกรักของพ่อ พานิชหนูคลอดที่บ้านท่านขุนอินทวราคม สาธารณสุขจังหวัดชลบุรี ณ บ้านตำบลบางปลาสร้อย โดยนางสาวทองแถม บุตรท่านขุนอินทวราคม เป็นนางผดุงครรภ์ทำคลอด การที่ไปคลอดที่นั้นก็เกรงว่าแม่ของหนูจะคลอดยากเพราะมามีลูกตอนอายุมาก แม่หนูเจ็บท้องนานถึง 2 วันเมื่อพานิชคลอดออกมามีรกพันคอสามรอบและใช้มือปิดหูสองข้างออกมานานตั้ง 7 นาทีจึงร้องได้ ทั้งนี้เข้าใจว่าจะสำลักน้ำค่ำและสลบ
แม่ทองแถมแก้ไขจนฟื้น ขณะที่คลอดพานิชพ่อก็อยู่และเกิดมาประมาณ 30 นาทีพ่อก็ตั้งชื่อให้ "พานิช"
การที่ให้ชื่อว่าพานิชก็โดยอาศัยเหตุที่ว่า พอมาทำการค้าขายก็มาได้ลูกชาย พ่อจึงให้ชื่อพานิช
     การทำการค้าเล็กน้อยโดยแม่ของพานิชเป็นผู้ขาย ส่วนพ่อคงทำราชการที่อำเภอพานทอง อาศัยเงิน
เดือนมาจุนเจือครอบครัว พ่อรับราชการเมื่ออายุ 18 ปี มาลาออกเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2490 เมื่อ
พานิชอายุได้ 3 ปี ตอนเมื่อพานิชเกิดเป็นช่วงระหว่างที่ประเทศไทยอยู่ในสภาพสงครามกับอังกฤษและ
อเมริกา โดยไทยเราเข้ากับฝ่ายญี่ปุ่นสงครามสงบเมื่อ 16 สิงหาคม 2488 ญี่ปุ่นยอมจำนนเพราะอนุภาพแห่งระเบิดปรมาณูที่อเริกานำไปทิ้งเกาะญี่ปุ่น ระหว่างสงครามเครื่องบริโภคแพงทุกอย่าง เมื่อสงครามสงบแล้วเครื่องบริโภคแพง
     พานิช คลอดได้ 9 วันพอวันที่ 10 แม่ก็พาขึ้นรถยนต์โดยสารจากชลบุรีกลับบ้านท่าตระกูด ในระยะแรกแม่ของพานิช มีนมไม่พอต้องจ้างแม่นมอยู่ราว 3 เดือน แม่ให้พานิชอดนมเมื่อพานิชอายุได้ 18 เดือน ในวันที่ 2 กรกฏาคม 2487 พ่อทำการโกนผมไฟให้พานิช มีการเลี้ยงพระและเลี้ยงโต๊ะจีนแก่บรรดา
มิตรสหายและญาติกับผู้ที่นับถือ เมื่อพานิชอายุได้ย่าง 12 เดือนป่วยเป็นหวัดและตัวร้อนถึงกับชัก
พอ่และแม่เป็นทุกข์ร้อนเมื่อหายป่วยแล้วจึงรู้สึกสบายใจ พานิชหนูเกิดมาได้เห็นแต่ยาย ส่วนปู่,ย่า,ตา
หนูไม่เห็น
     ความสำคัญของสมุดเล่มนี้พ่อประสงค์จะฝากคำเตือนใจไว้สำหรับลูก หากว่าพ่อตายไปแล้ว คำเตือน
นี้จะเป็นเครื่องระลึกสำคัญสำหรับลูกให้ทำดี อนาคตของลูกทั้งสองพ่อเป็นห่วงมาก คำที่พ่อขอฝากไว้
เตือนใจคือ " เกรียติ"  "วินัย" และ "กล้าหาญ"  พ่อเขียนมาถึงตรงนี้พ่อตื้นตัน ถึงแก่น้ำตาไหล สอื้น
ทำไมถึงเป็นเช่นนี้ พ่อออ่นแอขี้ขลาดหรือเปล่า ไม่ใช่เช่นนั้น พ่อสอนลูกให้รู้จักความกล้าหาญ พ่อจะ
อ่อนแอและขี้ขลาดไม่ได้ การที่พ่อน้ำตาไหลมันไหลเพราะความรักและสงสารพานิชกับพาณี  โดยเกรง
ว่าชีวิตพ่อจะอยู่ไม่นานพอที่จะเห็นอนาคตของลูก เพราะสุขภาพพ่อไม่ดี ดังนั้นพ่อจึงเขียนบันทึกไว้
เมื่อลูกได้อ่านครั้งใดก็เหมือนกับลูกได้รับคำสอนของพ่อ
     "เกรียติ" ขอให้ลูกจงรักเกรียติยิ่งชีวิต จงประพฤติแต่ความดี จงงดเว้นการประพฤติชั่วทุกอย่าง
อันเป็นทางทำให้เสื่อมเกรียติ จงข่มใจอย่าทำชั่ว ขอให้นึกถึงพ่อไว้
     "วินัย" คนเราจะทำการใดต้องยึดมั่นในระเบียบวินัย ทำโดยรอบครอบ ไม่หุนหันพลันแล่น ทำโดย
มีสติ ตรึกตรองนึกถึงทางได้ทางเสีย
     "กล้าหาญ" คือกล้าในสิ่งที่ควรกล้า ไม่ใช่กล้าอย่างบ้าบิ่น กล้าในการเผชิญต่อชีวิตไม่ท้อแท้
บากบั่นในการทำมาหากิน ในทางที่ชอบเพื่อสร้างฐานะให้เป็นปึกแผ่น กล้าเสียสละเพื่อชาติและผู้
มีพระคุณ จงรู้จักที่ต่ำที่สูง อย่าเป็นคนหยิ่งจองหอง จงประพฤติตนสุภาพและอ่อนโยนไม่ใช่อ่อนแอ
จงเป็นผู้มีใจเมตตากรุณาและอย่าลืมบุญคุญผู้มีพระคุญ ขอให้มีความกตัญญู
     จงรักความยุติธรรม อย่าเอารัดเอาเปรียบผู้อื่น จงมีความซื่อสัตย์สุจริต ความซื่อสัตย์สุจริตเป็น
ปัจจัยสำคัญที่ลูกพึงยึดถือและจงบูชาความเป็นธรรมและความจริง ให้มีความสามัคคีและโอบอ้อมอารีแก่ผู้คบหาสมาคม
     น้องพาณีเป็นผู้หญิงขอให้มีความเป็นห่วงและเอาใจใส่ดูแล ให้น้องเดินในทางที่ถูก จงมีความสามัคคีระหว่างพี่น้อง เอื้อเฟื้อช่วยเหลือซึ่งกันและกัน การประกอบอาชีพจะเป็นทางใดก็ได้แล้วแต่
ถนัดแต่ต้องเป็นสัมมาอาชีพและต้องขยันหมั่นเพียรในอาชีพนั้นจริงๆ พ่อตั้งใจอยูว่าถ้ายังไม่สิ้นบุญพ่อ
และพ่อมีหนทางที่จะช่วยได้ พ่อตั้งใจให้ลูกเรียนแพทย์ อาชีพข้าราชการนั้นเมื่อจะทำจะต้องหยั้งดูว่าเรามีความรู้แค่ไหน ถ้ามีความรู้สูงและเห็นว่าจะสร้างชิวิตให้ก้าวหน้าในราชการได้ อย่างน้อยในตำแหน่ง
หัวหน้าแผนกจึงควรเข้าทำราชการ ถ้ามีความรู้น้อยจะทำราชการได้เพียงตำแหน่งเสมียนและอับเฉา
อยู่แค่นั้นอย่าทำเลย หากินในทางอื่นที่อิสระดีกว่า
     อีกอย่างหนึ่งการคบเพื่อนคบฝูงก็สำคัญ คบคนดีย่อมชักนำและพาให้ทำดี คบคนชั่วคนพาลย่อมทำ
ให้เราเสียได้ ดังภาษิตว่า "คบพาลพาลไปหาผิด คบบัญฑิตพาไปหาผล" ฉนั้นการคบคนต้องสังเกตุ
ดูนิสัยและความประพฤติของคนนั้นๆว่าสมควรจะสมาคมเพียงใดหรือไม่ เพื่อนกินสินทรัพย์แหนงหนี
หาง่ายมาก เพื่อนตายหายาก
     การมีคู่ครองก็เป็นเรื่องสำคัญมาก ต้องสังเกตุนิสัยใจคอ อย่าให้ความรักเข้าครอบงำ จนมองเห็นดี
ไปหมด สังเกตุถึงน้ำใจว่าเป็นคนโหดร้ายหรือใจบุญ ไม่สุรุยสุร่ายจับจ่ายฟุ่มเฟือย

     นั้นเป็นบันทึกของปู่ที่ท่านได้เขียนไว้เพื่อเป็นเสมื่อนตัวแทนคำสั่งสอนของท่านให้กับพ่อพานิชและ
อาโก เพราะท่านคิดว่าท่านอาจจะอายุสั้น อันเนื่องมาจากการที่ท่านป่วยและเหมื่อนจะรู้ตัวดีว่าถ้ารักษา
ไม่หายท่านจะไม่ได้อยู่ดูอนาคตของลูกๆ ดั้งนั้นในความเป็นพ่อที่รักลูกและเป็นห่วง สิ่งเดียวที่ท่านคิดว่าน่าจะฝากไว้เป็นอนุสรณ์เตือนใจก็คือคำสอนจากประสบการณ์ของท่านในฐานะที่ท่านเคยรับราชการ
เป็นศึกษาธิการอยู่ที่อำเภอพานทองและในฐานะพ่อที่รักลูกๆ ดังนั้นจะเห็นได้ว่าจากการบันทึกและคำสอนของท่านจะแสดงถึงคนที่มีความคิดความอ่านและความรู้พอสมควร ตลอดจนความละเอียดการ
สอนและข้อคิดต่างๆในทุกๆเรื่องพอสรุปได้ดั้งนี้
     1. เกรียติ
     2. วินัย
     3.กล้าหาญ
     4.ซื่อสัตย์ ยุติธรรม
     5.การกตัญญู
     6.การประกอบอาชีพ
     7.การคบเพื่อน
     8.การเลือกคู่ครอง

และในช่วงท้ายของชีวิตใกล้จะมาถึงหลังจากนั้นอีก 4 ปีซึ่งอาการป่วยเริ่มหนักมากต้องเข้ามารักษาตัวที่
กรุงเทพท่านก็มีจดหมายอีกฉบับถึงย่าสมจีนดังนี้

     6 ซ. ป้อมปู่เจ้าสมิงพราย อ.พระประแดง จ. สมุทรปราการ
  14 กันยายน 2494

  จีนที่รัก
     ฉันออกจากบ้านมาก็หวังว่าจะรักษาตัวที่ศิริราชเพราะเหนว่าอยู่ที่บ้านก็ไม่มีทางใดที่จะช่วยได้
ครั้นมาถึงกรุงเทพแล้วเหตุการณ์ก็กลับหมดหวัง ความหวังทั้งหมดก็ล้มละลายสิ้น ฉันหวังว่าสุวรรณ
คงเล่าให้ฟังแล้ว ชีวิตของฉันทั้งนี้แสนระทมขมขื่น ไม่รู้ว่าบาปกรรมแต่ชาติก่อนทำไว้อย่างใด เวรจึง
ตามสนองในชาตินี้ ฉันเกิดมาก็ตั้งใจทำความดีแก่ทุกๆคนและเคยช่วยเหลือคน แต่ความดีของเราไม่สนองผล ชีวิตบั้นปลายของฉันถูกเพื่อนหักหลังป้ายสี ชีวิตวันนี้ยังมาประสบอีก ความจริงถ้าเหตุการณ์
มันจะเป็นเช่นนี้ ฉันอยู่กับบ้านสบายกว่าออกจากบ้านมา 5 วันแล้วการรักษาก็ไม่ดีพอกว่าที่บ้านเรานัก
นับตั้งแต่ที่ฉันมาอาหารฉันรับไม่ใคร่ได้ กำลังของฉันก็ลดน้อยลงทุกๆที่
     ฉันรู้สึกว่ากำลังจะต้านทานไม่ไหว ตายอยู่กับบ้านฉันยังเห็นหน้าลูกเมียและเพื่อนฝูง ลูกฉันรักเสมอกันทุกๆคนแต่เฉพาะพานิชฉันเป็นห่วงเขาเพราะเกรงว่าเขาจะเป็นโรคอย่างพ่อ เพราะมันเป็นขึ้นแล้วก็จะ
ลำบาก ยาที่ซื้อมาอุสาห์ให้เขากินตามคำอธิบายอย่าทอดทิ้งไว้ ถ้าเป็นมากก็จะรักษาไม่หายเป็นน้อยๆ
รักษาก็จะมีหวังขอให้จีนมีชีวิตเพื่อต่อสู้เลี้ยงลูกๆไป การค้าขายขอให้จีนทำไปตามกำลังเท่าที่จะทำได้
อุส่าห์บากบั้บไปอย่าท้อถอย เพื่ออนาคตของลูกจีนจะต้องรับภาระแต่คนเดียว ข้อที่หนักใจที่สุดคือหนี้
สินที่เราเป็นหนี้เขาอยู่มันจะเป็นภาระหนักสำหรับจีนต่อไป ฉันเป็นห่วงเรื่องหนี้สินนี้มากเพราะเราต้องเสียดอกเบี้ยให้เขา
     ขอให้จีนนึกเสียว่าชีวิตของคนเราไม่หวานก็ขม เป็นไปตามพรหมลิขิตสุดแต่สวรรค์บรรดาล ขอให้
หักห้ามหังใจเอาไว้ โดยสงบและขอให้ระลึกถึงความจริงที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนได้ว่า
   1. คนเราเกิดมาแล้วย่อมมีความตายเป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความตายไปได้
   2. คนเราเกิดมาแล้วย่อมมีความเจ็บป่วยเป็นธรรมดาไม่ล่วงพ้นความเจ็บไปได้
   3. คนเราเกิดมาแล้วมีความแก่เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความแก่ไปได้
   4. คนเราเกิดมาแล้วต้องพลัดพรากจากของรักของชอบใจไปทั้งสิ้น
   5. คนเราเกิดมาแล้วมีกรรมเป็นของตัว ทำดีได้ดีทำชั่วได้ชั่ว
 ความจริงทั้ง 5 ข้อนี้ ขอให้หมั่นพิจราณาไว้จะบรรเทาความทุกข์ทั้งหลายได้
     สมุดบันทึกวัน เดือน ปี เกิดสำหรับลูกๆทุกคน ฉันเก็บไว้ที่ตู้ห้องนอนเล่นข้างครัว สมุดบันทึกปกแข็งเล่มใหญ่เขียนเรื่องอนิจังเพื่อนเราแต่ยังไม่จบ เล่มนี้เก็บไว้ให้ลูกเพื่อเป็นบทเรียนต่อไป
     ในที่สุดนี้ขอให้จีนและลูกทุกๆคนจงประสบแต่ความสุขความเจริญ

                                                                                        โดยความเจริญ
                                                                                   เจริญ           สุภวัตร

ป.ล.  ฉันได้รับความเอื้อเฟื้อจากสุวรรณทุกๆอย่างและช่วยเหลือฉันทุกๆอย่างเป็นอย่างดี จะหาคนดีอย่างอย่างสุวรรณคงไม่ง่ายนัก จงสอนลูกให้รู้จักบุญคุณของเขาไว้

จากหลานถึงปู่

     นั้นเป็นจดหมายฉบับสุดท้ายของปู่ที่เขียนสั่งเสียและสั่งสอนของปู่เจริญให้กับย่าจีน ที่แสดงถึงความเป็นห่วงย่าจีนและลูกๆ พร้อมทั้งเขียนข้อความธรรมะของพระพุทธเจ้าให้เห็นถึงสัจจะธรรมของชีวิตมนุษย์ที่ไม่อาจฝืนในวัฏฏสงสารนี้ไปได้เพื่อเป็นการปลอบใจย่าให้เข้าใจถึงสัจจะธรรมข้อนี้และให้กำลังใจสู้เพื่อลูกๆ และยังแอบตัดพ้อบ้างต่อโชคชะตา ที่ตลอดชีวิตทำตัวเป็นคนดีช่วยเหลือคนมาตลอดแต่ก็ยังไม่วายโดยเพื่อนหักหลังเพราะความที่เป็นคนดี
     จากการอ่านบันทึกและจดหมายที่ปู่เจริญได้เขียนถึงย่าส้มจีนกับพอ่พานิช อาโกพาณี และอาเจ็ก
ผู้เขียนก็พอจะทราบได้ว่าปู่เจริญท่านเป็นคนที่มีความรู้ ความคิดดีเพราะว่าท่านทำงานในแผนกศึกษา
ซึ่งเกี่ยวกับครู ดังนั้นท่านจึงชอบสั่งสอน ท่านเป็นคนดีมีความกตัญญูและมีความซื่อสัตย์รักความยุติธรรม โอบอ้อมอารีและรักครอบครัวเป็นอย่างมาก
     วันนี้ถ้าปู่ยังอยู่ก็อายุ 102 ปี(จากไปปี2494อายุ 42 ปีและปัจจุบัน25540จากไป 60 ปี)ผู้เขียนในตอนนี้
อายุ 42 ปี ชั่งบังเอิญเหลือเกินที่ปู่กับหลานเกิดปีระกาปีเดียวกัน ปู่ก็เป็นคนชอบเรียนรู้ ชอบสั่งสอนมีข้อ
คิดต่างๆเข้าใจหลักธรรม ซึ่งก็ไม่ต่างกับหลานที่ชอบเรียนรู้ ชอบสอน ชอบคิดชอบพูดและเชื่อว่าถ้าปู่ยังมีอายุอยู่ทันเห็นหลาน หลานก็จะได้นิสัย ความรู้ ความคิดอันมากมายจากปู่ หลานเขียนถึงตรงนี้ก็รู้สึก
ตื้นตันใจเป็นอย่างมากและก็รู้สึกดีใจ ภูมิใจ ที่มีปู่เป็นคนที่ดี เป็นคนเก่ง น่าเคารพยกย่อง แม้หลานจะไม่เคยเห็นปู่แต่หลานมีความเชื่อว่า ปู่ของหลานต้องเป็นคนที่มีเกียรติ มีวินัยมีความกล้าหาญ มีความซื่อสัตย์ยุติธรรมและมีความกตัญญูอย่างแน่นอน
    จากปู่เจริญสู่พ่อพานิชจนมาถึงหลานๆ จากรุ่น1 สู่ รุ่น 2 จนมาสู่รุ่นหลานเป็นรุ่นที่ 3 ไปสู่รุ่นที่4 รุ่นที่ 5
และรุนต่อๆไป พวกเราจะภาคภูมิใจว่าต้นตระกูล สุภวัตร ของเราท่านเป็นคนดี สมกับความหมายของนามสกุลที่แปลว่า ผู้ที่มีกิจวัตรอันดีงาม ดังนั้นเราจงรักษาชื่อเสียงและนามสกุลเอาไว้สืบต่อให้รุ่นลูกหลาน เหลน ของเราต่อไป

เมื่อคุญพ่อได้จากผมไป

   ณ โรงพยาพาลชลบุรี วันที่เวลา

โชคดีที่ได้ตาย โชคร้ายที่มีเกิด

  การที่จะรอดพ้นจากทุกข์อันเกิดจากความแก่และความตายได้นั้น ก็คือการที่ไม่ต้องมาเกิดอีก เพราะถ้าเกิดเมื่อไหร่ก็ทุกข์เมื่อนั้น ส่วนข้อดีของการมาเกิดในโลกมนุษย์ก็คือ ท่านได้ลงสนามเพื่อทดสอบจิตวิญญาณของท่านเอง ท่านมีโอกาสที่จะเลือกตอบสนองต่อกรรมที่เข้ามากระทบ ไม่ว่าจะตอบโต้แบบทำลายล้างหรือแบบสร้างสรรค์คุณงามความดี ก็แล้วแต่ตัวท่านจะเลือก ท่านทั้งหลายสามารถให้อภัยกันและกันได้ สามารถอโหสิกรรมต่อกันได้ก็ตอนที่มีชีวิตอยู่นี้ ดังนั้นท่านจะใช้ชีวิตอย่างไร้สาระ ก็แล้วแต่ท่านจะเลือก แต่จะตระหนักไว้เสมอว่าการเกิดเป็นมนุษย์แต่ละครั้งนั้นยากแสนยาก จึงควรทำให้การเกิดในแต่ละรอบมีประโยชน์สูงสุดเท่าที่จะทำได้
     การจะหยุดการเวียนว่ายตายเกิดอันเป็นทุกข์ยาวนานได้นั้นถ้าไม่ใช่พระพุทธเจ้าหรือพระปัจเจกพระพุทธเจ้าแล้วนั้น บุคคลทั้งหลายต้องอาศัยการฟังธรรมหรือการศึกษาธรรม ที่พระพุทธเจ้าได้ทรงตรัสไว้ สัตว์ทั้งหลายต้องเวียนว่ายตายเกิดไปตามกรรมเรื่อยๆ ไปไม่ว่าจะอยากเกิดหรือไม่อยากเกิดก็ตาม ถ้าเหตุปัจจัยมันบังคับให้เกิด อย่างไรก็ต้องมาเกิดอีก เนื่องด้วยความอยากในโลกเป็นต้นเหตุให้ต้องเกิด ไม่ว่าจะเป็นการอยากได้ อยากมีอยากเป็นอะไรต่างๆ นานา เมื่อเกิดมาแล้วก็ไม่สามารถพ้นจากทุกข์ไปได้ ส่วนการจะเกิดมาทรามหรือประณีตดีเลว ก็แล้วแต่กรรมจะชักนำไป แต่ละคนมีชีวิตอยู่ในโลกอย่างไร ก็เป็นไปตามกรรมที่ได้สร้างสมไว้ บางท่านก็ตั้งใจเกิดมาเพื่อใช้กรรมเก่า บางท่านเกิดมาเพื่อสร้างสมบุญบารมี บางท่านเกิดมาเพื่อทำกิเลสให้เบาบาง บางท่านเกิดมาเพื่อละความอยากในโลกเพื่อทำนิพพานให้แจ้ง แต่บางท่านก็เกิดมาเพื่อใช้บุญเก่าให้หมดไป เป็นการเกิดมาเพื่อเหนื่อยเปล่าโดยไม่ได้ประโยชน์อะไรกลับไป
(คัดบางส่วนมาจาก เวปลานโพธิ พระอาจารย์กมล)

ไม่ทุกข์ ทุก ทุกข์

    พระพุทธศาสนาเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้เราพ้นทุกข์และดับทุกข์ดังนั้นถ้าใครได้ฝึกต้องอย่างถูกต้องตามหลักแล้วคนนั้นก็จะไม่ทุกข์อะไรเลยในทุกๆเรื่องที่เกิดขึ้นกับคนๆนั้นเพราะเข้าใจที่มา สาเหตุและหนทางที่ดับทุกข์ จนมองเป็นเรื่องธรรมดาไม่ยินดี ยินร้ายอะไรทั้งนั้น แนวทางนี้เป็นแนวทางหลุดพ้นทุกข์ที่ถูกค้นพบมาเกือบ 2600 ปีมาแล้วโดยองค์สมมาสัมพุทธเจ้า ศาสดาแห่งศาสนาพุทธของเรา
    ในสังคมปัจจุบันคนมีความทุกข์มากมาย ยิ่งมีความเจริญทางวัตถุมากเท่าไหร่ก็ยิ่งเสื่อมทางจิตใจมากยิ่งเท่านั้น ผิดกับประเทศที่มีความเจริญทางวัตถุไม่มากแต่กันยังคงรักษาความสูงส่งและจิตใจที่ดีงามเอาไว้ยกตัวอย่างประเทศศรีลังกา เขาให้ความสำคัญกับวันวิสาขบูชามากให้เป็นวันขึ้นปีใหม่ของเขาจัดฉลองกันใหญ่โตทั่วที้งประเทศ งานนี้ไม่มีการนัพศพคนตายเหมือนบ้านเราเพราะเขาถือศีล8 และทุกวันพระคนเขาจะนุ่งขาวห่มขาวไปทำบุญถือศีลกันโดยเฉพาะเด็กๆเห็นพระแล้วจะรีบเข้ามากราบที่เท้าแต่ของบ้านเราเป็นไงแทบจะเดินชนจนพระต้องหลบ เพราะฉนั้นเวลาดูข่าวจะมีข่าวคลิปเด็กผู่หญิงม4รุมตบม2 จับแก้ผ้าถ่ายคลิปประจานอะไรกันนี้ หรือจะเป็นการเลียนแบบเรยา ในละครหรือยังไงก็ไม่รู้ ดังนั้นก็ไม่ต้องแปลกใจว่าทำไมสังคมวุ่นวาย ประเทศเสียหาย คนมีแต่ความทุกข์กันมากมาย จนมองว่าน่าเบื่อไม่น่าอยู่ ชีวิตนี้เป็นทุกข์มากมาย นั้นเหลาะยิ่งทุกข์มาก ยิ่งเบื่อโลกมาก ก็ยิ่งต้องใกล้ชิดกับศาสนามากแล้ว
     ถึงเวลาหรือยังที่เราจะมองหาเครื่องมือหรือแนวทางอะไรมาเยียวยาตัวเรา ครอบครัวและสังคมให้มันกับมาเหมือนในอดีต ที่คนรักกัน มีน้ำใจเผื่อแผ่ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน แม้ไม่ใช่พีน้องกัน แบ่งปัน ไว้ใจไม่ต้องกลัว ลักขโมย หลอกลวง.....................

   

ชีวิตเปลียนไป

     วันนี้ผมสึกมาก็เกือบ 2 เดือนแล้ว ก็อย่างที่บอกว่าผมตั้งใจบวชเพื่อเปลียนแปลงชีวิตใหม่ พูดง่ายๆคืออยากเป็นคนใหม่ในวัยกลางคน คือ 40-41 ปีตั้งแต่นี้เป็นต้นไปดั้งนั้นแม่จะบวชสั้นๆไม่ถึงพรรณษาหรือ 1เดือนแต่กอ่นบวชก็ตั้งใจศึกษาและปฏิบัติเพื่อตอนบวชจะได้เต็มที่ ซึ่งตอนบวชนี้ต้องถือว่าเลือกช่วงจังหวะเวลาได้ดีจริงๆ คือช่วง 12-19 เมยายน 54 เป็นวันหยุดและปีใหม่ไทย จริงๆตอนแรกตั้งใจบวชเงียบๆไม่บอกใคร ยกเว้นญาติสนิดและวัดใกล้บ้านเพราะตั้งใจบวชให้คุญพ่อที่เสียไปเกือบปีและให้แม่กับอาโกและก็คิดว่าเอาสะดวกท่านจะได้ไม่ลำบากและเดินทาง กอรปกับคิดว่าบวชน้อยวัน ก็เลยเข้าวัดแบบเงียบๆเรียบร้อย โกนผม แห่รอบโบสถ์และทำพิธีทางสงฆ์ และจะได้เรียนรู้ฝึกจิตแบบสงบแต่ที่ไหนได้ลืมคิดว่าช่วงที่บวชวันหยุดยาว ทุกคนกลับบ้านต่างจังหวัดหมดเพื่อมาปีใหม่ที่บ้านและมี่ทำบุญเลี้ยงพระกัน เพราะฉนั้นตั้งแต่วันแรกที่บวชโปรแกรมในแต่ละวันนี้ยาวจริงๆ ไม่ว่าจะตีสามตื่นมาเตรียมตัวทำวัตรเช้าตอนตีสี่เสร็จตีห้ากว่าๆ ต้องกวาดลานวัด หกโมงลงฉันที่ศาลางานศพ เสร็จกลับมากวาดลานวัดต่อ เกือบๆเจ็ดโงครึ่งเตียมตัวลงศาลาวัดเพราะญาติโยมมาทำบญที่วัดเพราะวันที่13 เป็นวันขึ้นปีใหม่ลงศาลาเกือบๆแปดโมง สวดและฉันเสร็จก็ใกล้ๆจะเก้าโมง ถูกนิมนต์ไปสวดบังสกุลที่เจดีย์คนตายอีกเป็นสิบๆราย ก็ปาเข้าไปใกล้จะสิบโงครึ่งต้องรีบขึ้นรถมารับไปฉันเพลที่บ้านโยน สวดและฉันเพลเสร็จก็สิบเอ็ดโมงกว่าๆ กลับวัด รู้สึกง่วงนอนมากเพราะตื่นแต่เช้าตีสามอยากจะจำวัดสักหน่อยแต่หลวงพีก็เรียกไปช่วยกันจัดศาลาเพราะวัดนี้พระเพียง2-3 รูปไม่รวมเจ้าอาวาสและที่สำคัญไม่มีมักทายกพระก็เลยต้องออกแรงจัดศาลา ยกโต๊ะ จัดโต๊ะหมู่เตรียมของ เก็บโต๊ะ ปูเสื่อ เป็นต้นต้นกว่าจะเสร็จปาเข้าไปบ่ายสองกว่าๆ ต้องรีบไปกวาดลานวัดต่อรู้สึกชอบจริงๆกวาดลานวัดนี้ได้เหงื่อและเป็นการออกกำลังกายได้ดีแถมมีสัจจะธรรมแถมให้อีกกวาดสะเพลินต้องรีบไปสรงน้ำใกล้จะสี่โมงแล้วเดี๋ยวต้องทำวัดเย็นต่อเสร็จก็ห้าโมงกว่าๆ ดีใจจะได้พักแล้วแต่หลวงพี่มาตามบอกว่าประมาณทุ่มนึงเตรียมตัวไปสวดอภิธรรมศพนะ อ้าว ผมจะสวดอย่างไรละครับ หลวงพี่ตอบไม่เป็นไรเดี๋ยวเอาตารปัตรปิดหน้าไว้ก็แล้วกัน กว่าจะเสร็จก็ใกล้สามทุ่มต้องรีบเข้านอนแต่ก่อนนอนก็ต้องนั่งสมาธิก่อนเพราะติดเป็นนิสัย เป็นอันว่ากิจกรรมของการบวชพระวันแรกก็ผ่านไปหนหนึ่งวันและทุกวันก็จะเป็นแบบนี้เพราะช่วงสงกรานต์คนมาทำบูญทุกวันไม่เว้นและวันก่อนสึกก็เป็นวันพระอีกก็ถือว่ากิจกรรมเยอะจริงๆเทียบจะไม่มีเวลวฉันกาแฟหรือแม้แต่อยากจะไปห้องน้ำใครว่าเป็นพระสบาย ผมเป็นฆารวาสยังสบายกว่าเยอะเลย

     แม้วันนี้(18 ,มิถุนายน)ผมจะสึกมาแล้วสองเดือนแต่ผมก็ยังจำวันเวลาที่อยู่ในผ้าเหลืองได้ละเอียดแม้ผมจะไม่ได้เรียนรู้ในเรื่องปริยัทเพราะเวลาบวชน้อยแต่ก็เน้นปฏิบัติและอยู่ในวินัยสงฆ์และศิล ซึ่งก่อนบวชผมก้ได้ศึกษาค้นคว้าจากในอินเตอร์เน็ทมาบ้าง และก็พยายามปฎิบัติอย่างเคร่งคัดแม้แต่เรื่องการรับเงิน ซึ่งตอนก่อนบวชผมไปเป็นลูกศิษย์พระสายวัดป่าท่านจะเคร่งเรื่องนี้แต่วัดที่ผมบวชสายวัดบ้านซึ่งก็ต้องเข้าใจการเค่งในวินัยสงฆก็ต้องลดลงไปเพราะต้องปรับตัวเข้ากันสังคมเมืองแต่ผมก็แก้ปัญหาไปว่าถ้าญาติโยมถวายปัจจัยแล้วผมคงจะไม่สามารถปฏิเสธเขาได้ก็ต้องรับมาเพียงแต่ว่าเงินที่เขาให้ผมจะไปทำบูญสร้างหลังคาโบสถ์ให้หมดโดยตั้งใจไว้ว่าจะให้ได้ 10000 บาทถ้าไม่ถึงจะบอกบูญโยมโก โก๋แต่ผลปรากฏว่าได้พอดี ก่อนสึกก็ถวายเงินกับท่านเจ้าอาวาส ท่านให้พระนวโกฐเศรษฐีให้หนึ่งองค์

   เมื่อผมสึกกลับมาบ้านสิงแรกที่ทำคือผมทำห้องพระเลยเอาไว้สวดมนต์เช้าและเย็น ทำสมาธิทั่งสองเวลา วันพระก็ไปทำบุญพร้อมทั้งถือศีล 8 ทำจนเป็นนิสัยไม่ขาดตั้งแต่สึกออกมาเรื่อยๆและได้ไปศึกษาหลักสูตรครูสมาธิที่วัดธรรมมงคลเสาร์ อาทิตย์เพื่อมาปฎิบัติให้ถูกต้องและต่อเนื่องไปเรื่อยๆวันนี้ชีวิตผมเปลียนไป จากเดิมที่ไม่ได้สวดมนต์ ทำบุญ นั่งสมาธิจนใช้โอกาสที่จะตอบแทนพระคุณของบิดามารดา
เพื่อบวชทดแทนและเริ่มกับมาประพฤติปฎิบัติตนเสียใหม่และใช้พระพุทธศาสนาเป็นเครื่องมือในการดับทุกข์

วันศุกร์ที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2554

หน้าที่ชาวพุทธ

หน้าที่ชาวพุทธ
   ชาวพุทธ  คือ  ผู้ที่เคารพเลื่อมใสและศรัทธาในพระรัตนตรัย  มีหน้าที่ในการศึกษาและปฏิบัติตามหลักธรรมคำสอนของพระพุทธศาสนา  ในความเคารพนับถือต่อพระรัตนตรัย  เอาใจใส่ทำนุบำรุง  และบำเพ็ญประโยชน์ต่อวัดและพระสงฆ์  นอกจากนี้ยังต้องปฏิบัติตนอย่างมีมารยาท  ที่ถูกต้องและเหมาะสมต่อพระสงฆ์  และนำแนวทางการปฏิบัติตนของพระสงฆ์มาเป็นแบบอย่างที่ดีงามในการดำเนินชีวิต
๑)  หน้าที่ชาวพุทธโดยทั่วไป
   ๑)  ด้านการศึกษาและปฏิบัติธรรม

ชาวพุทธที่ดีควรให้ความสนใจศึกษาค้นคว้าหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา  และน้อมนำหลักธรรมที่ได้ศึกษาแล้วมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมแก่ฐานะของตน  รวมทั้งการแสดงความเป็นชาวพุทธที่ดีด้วยการทำบุญบำเพ็ญกุศล  เข้าร่วมพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนาในโอกาสสำคัญต่างๆ
   ๒)  ด้านการอุปถัมภ์พระพุทธศาสนา
          ๒.๑)  การอุปถัมภ์พระภิกษุสามเณร 
   พระภิกษุสามเณรนอกจากมีหน้าที่ในการศึกษาธรรม  ปฏิบัติธรรม  และสั่งสอนธรรมแล้ว  ยังต้องปฏิบัติศาสนกิจอื่นๆ  เพื่อความดีงามและความสงบสุขของประชาชน  ด้วยการแนะนำสั่งสอนประชาชนให้เป็นคนดีมีคุณธรรม  ดังนั้นเพื่อแสดงออกถึงความกตัญญูต่อคุณูปการของพระภิกษุสามเณร  ชาวพุทธที่ดีจึงควรช่วยอุปถัมภ์  บำรุงและส่งเสริมพระภิกษุสามเณร  เพื่อให้มีกำลังในการปฏิบัติศาสนกิจ  สืบต่ออายุพระพุทธศาสนาให้มั่นคงสืบไป
          ๒.๒)  การทำนุบำรุงวัดและพุทธศาสนสถาน 
   พระพุทธศษสนามีวัดเป็นศูนย์กลางสำหรับการบำเพ็ญกุศล  การฝึกอบรม  และการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้กับประชาชน  โดยมีพระสงฆ์ในฐานะศษสนบุคคลเป็นผู้ชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิต  วัดจึงเป็นอุทยานการศึกษาเพราะเป็นแหล่งการเรียนรูสำคัญทางศิลปวัฒนธรรมของชาติ  วัดบางแห่งยังได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของชาติและมรดกโลก
          ๒.๓)  ด้านการปฏิบัติตนเพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีของสังคม 
   ชาวพุทธที่ดี  คือ  ผู้ปฏิบัติตนในฐานะที่เป็นพลเมืองดีของชาติด้วยการดำรงตนอยู่ในกรอบของกฎหมาย  ปฏิบัติตนตามสิทธิและหน้าที่อย่างเหมาะสม  ไม่ละเมิดกฎระเบียบและกติกาของสังคม
          ๒.๔)  ด้านการปกป้องคุ้มครองพระพุทธศาสนา 
   พระพุทธศาสนาถือเป็นมรดกของชาติไทยที่บรรพบุรุษได้ปกป้องคุ้มครองมาด้วยชีวิต  เมื่อวิกฤตการณ์เกิดขึ้นกับพระพุทธศาสนา  ชาวพุทธไม่ควรนิ่งดูดายและปล่อยให้เป็นหน้าที่ของพระสงฆ์เพียงฝ่ายเดียว  ควรช่วยกันแก้ไขระงับเหตุการณ์มิให้ลุกลามใหญ่โต
๒)  หน้าที่ของนักเรียนในฐานะที่เป็นชาวพุทธ
   ๑)  การเรียนรู้วิถีชีวิตของพระสงฆ์ 
   พระสงฆ์  คือ  กลุ่มบุคคลที่มีความศรัทธาเลื่อมใสในคำสอนของพระพุทธเจ้า  แล้วสละความเป็นคฤหัสถ์ไปดำเนินชีวิตตามแบบบรรพชิตด้วยการศึกษาเรียนรู้  ฝึกหัดตนเองตามหลักคำสอนของพระพุทธเจ้า  และเมื่อสามารถพัฒนาตนเองให้มีความรู้ความเข้าใจในหลักธรรมได้ในระดับนึงแล้ว  ก็นำหลักธรรมเหล่านั้นมาอบรมสั่งสอนประชาชนให้มีความรู้  ความเข้าใจในธรรมะ  และนำไปปฏิบัติในการดำเนินชีวิต
   ๒)  การปฎิบัติตนอย่างเหมาะสมต่อเพื่อน
   พระพุทธศาสนาให้ความสำคัญกับการอยู่ร่วมกันในสังคม  จึงมีคำสอนเรื่องการคบเพื่อน  และการปฏิบัติตนในฐานะที่เป็นเพื่อนที่ดี  ดังนี้

                                                       เพื่อน


ข้อที่พึงปฏิบัติต่อเพื่อน

ข้อที่พึงปฏิบัติตอบแทนเพื่อน 
 เผื่อแผ่แบ่งปัน ช่วยเหลือป้องกัน  เมื่อเพื่อนประมาท
 พูดจาด้วยถ้อยคำที่ไพเราะ  มีน้ำใจ   ช่วยรักษาทรัพย์สิน  เมื่อเพื่อนประมาท
 ให้ความช่วยเหลือเกื้อกูล                                     เป็นที่พึ่งได้  เมื่อเพื่อนมีภัย                                      
 วางตนเสมอต้นเสมอปลาย  ร่วมทุกข์ร่วมสุข ไม่ละทิ้งในยามทุกข์ยาก
 ซื่อสัตย์จริงใจ ให้ความนับถือตลอดถึงญาติของเพื่อน

   นอกจากหลักปฏิบัติต่อกันระหว่างเพื่อนที่ดีดังที่กล่าวแล้ว  การคบเพื่อนควรเรียนรู้ลักษณะของเพื่อน  ที่เรียกว่า  มิตรแท้-มิตรเทียม  เพื่อส่งเสริมประโยชน์และป้องกันโทษที่จะเกิดขึ้นจากการคบเพื่อน

วันเสาร์ที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

พิธีกรรมทางศาสนาที่เราชาวพุทธต้องทำ

     คำว่า “บวร”  จึงเป็นคำย่อ  โดยการนำเอาพยัญชนะต้นของคำว่า   บ้าน  วัด  โรงเรียน  มา  บัญญัติเป็นคำใหม่  คือ ซึ่งมีองค์ประกอบของ  “บวร”  (ธนพรรณ   ธานี,2545,น.6) ดังต่อไปนี้
                1. สถาบันการปกครอง  (บ้าน)  ซึ่งประกอบไปด้วย   กำนัน  ผู้ใหญ่บ้าน   คณะกรรมการหมู่บ้าน    อบต.  สาธารณสุขตำบล   เกษตรตำบล  เป็นต้น     รวมทั้งระบบกลไกในการบริหารที่มาจากรัฐ ในรูปอื่นๆ  ด้วย
                2.  สถาบันศาสนา  (วัด)  ประกอบด้วย  เจ้าอาวาส   พระภิกษุ  สามเณร  อุบาสก  อุบาสิกา  และ กลุ่ม หรือ  ชมรมทางศาสนา   ซึ่งในความหมายในเชิงกว้าง อาจจะหมายรวมถึง องค์กรหรือ หรือ สถาบันทางศาสนาต่างๆ ในชุมชนนั้นๆ ด้วย  
                3. สถาบันการศึกษา (โรงเรียน)  ประกอบ ด้วย   ครูใหญ่   อาจารย์ใหญ่ คณะครู นักวิชาการ และบุคคลากรทางการศึกษาอื่นๆ  ทั้งในโรงเรียน   วิทยาลัย   มหาวิทยาลัย  และองค์กรทางการศึกษาอื่นๆ ด้วย 
                จุดแข็งอย่างหนึ่งของสังคมไทย ก็คือ การมีพระพุทธศาสนาและได้รับการยอมรับโดยพฤตินัยว่า  ประเทศไทยเป็นเมืองแห่งพระพุทธศาสนา  มีบุคลากรทางพระพุทธศาสนาที่เป็นพระภิกษุและสามเณร จำนวน  340,303 รูป  มีวัดที่มีพระสงฆ์อยู่จำพรรษาจำนวน  33,674  วัด   (ข้อมูลจาก  สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ,2547)
      นอกจากนี้ความผูกพันระหว่างวัดและชุมชน จึงเป็นทุนทางจิตวิญญาณ (Spiritual  capital)  ทุนทางวัฒนธรรม (Cultural  capital)  ในสังคมไทยมาตั้งแต่อดีตจนปัจจุบัน  ตั้งแต่เกิดจนตาย  “บ้าน   วัด   โรงเรียน” จึงเป็นทุนมรดกทางสังคม ที่มีมาคู่สังคมไทย    สถาบันทั้ง 3  จึงมีความสัมพันธ์ในทางสังคม และเป็นตัวเชื่อมโยงกิจกรรมในชุมชนทั้ง มิติทางด้าน  เศรษฐกิจ    สังคม และ วัฒนธรรม
                  ลักษณะชุมชนที่ปรากฏในสังคมไทยจึงมักประกอบด้วย   “บ้าน” (ชุมชน ซึ่งเป็นแหล่งรวมของผู้คนและระบบชีวิตที่ก่อเกิดกิจกรรมทางสังคมที่หลากหลาย)   “วัด” (สถาบันศาสนาซึ่งเป็นตัวขัดเกลาและบ่มเพาะวัฒนธรรมและศูนย์รวมจิตใจของชุมชน)  “โรงเรียน” (สถานศึกษาเป็นตัวเพิ่มเติมความรู้และถ่ายทอดการศึกษาอย่างเป็นระบบ)   สถาบันทั้ง 3  จึงเป็นสถาบันสำคัญในทางสังคมที่จะสามารถนำมาเป็นกลไปที่ก่อให้เกิดกระบวนการสร้างสังคมให้เข้มแข็ง  พัฒนาให้เกิดเครือข่าย  นำสู่ภราดรภาพและสังคมสมานฉันท์  อันเป็นจุดหมายปลายทางของการพัฒนาชุมชนและสังคมได้อีกรูปแบบหนึ่ง
     เพราะฉนั้นชีวิตเราทุกคนผูกพันกับวัดดังนั้นเราจะไม่ศึกษาพิธีกรรมที่สำคัญและจำเป็นเอาไว้หรือ เพื่อที่เราจะได้ปฏิบัติ
ได้อย่างถูกต้อง

พิธีกรรมที่สำคัญในศาสนาพุทธ แบ่งออกเป็น 4 ประเภทใหญ่ๆ ดังนี้


    1. เป็นพิธีกรรมเกี่ยวกับวินัยสงฆ์โดยเฉพาะ และดำเนินการทำพิธีโดยเฉพาะ    พระสงฆ์เท่านั้น ฆราวาสไม่ได้ร่วมด้วย พิธีนี้เรียกว่า สังฆกรรม ฆราวาสจะมีส่วนร่วมในส่วนอื่นที่ไม่ใช่สังฆกรรม เช่น พิธีบรรพชาอุปสมบท พิธีเข้าพรรษา พิธีออกพรรษา


    2. พิธีทำบุญในงานมงคล พระสงฆ์และฆราวาสดำเนินการร่วมกัน เพื่อให้เกิดความเป็นสิริมงคลแก่ชีวิต มีการตั้งบาตรน้ำมนต์ด้วย เช่น พิธีทำบุญงานมงคลสมรส พิธีทำบุญขึ้นบ้านใหม่ พิธีทำบุญวันเกิด พิธีทำบุญถวายสังฆทาน พิธีทำบุญทอดกฐินผ้าป่า พิธีทำบุญตักบาตรวันขึ้นปีใหม่

    3. พิธีทำบุญงานอวมงคล พระสงฆ์และฆราวาสดำเนินการร่วมกัน เพื่ออุทิศ   ส่วนกุศลแก่ญาติที่ล่วงลับไปแล้ว และเพื่อขจัดเสนียดจัญไร เช่น


                1) การทำบุญเกี่ยวกับศพ เช่น การสวดอภิธรรม การฌาปนกิจศพการบรรจุศพ การทำบุญ 7 วัน 50 วัน และ 100 วัน เป็นต้น


               2) การทำบุญขจัดเสนียดจัญไร เมื่อเกิดเหตุที่คนโบราณถือว่า ไม่เป็นมงคลในครอบครัว เช่น แร้งจับบ้าน หรือรุ้งกินน้ำในบ้าน เป็นต้น
    4. พิธีบูชาในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา เป็นพิธีที่ชาวพุทธต้องปฏิบัติร่วมกัน เช่น พิธีบูชาในวันมาฆบูชา พิธีบูชาในวันวิสาขบูชา พิธีบูชาในวันอาสาฬหบูชา


           พิธีกรรมข้อ 1 2 และ 3 เป็นพิธีกรรมที่ชาวพุทธในประเทศไทยปฏิบัติกัน ส่วนชาวพุทธในประเทศอื่นอาจจะปฏิบัติแตกต่างกันไป เพราะพิธีกรรมนี้เกี่ยวข้องกับประเพณีท้องถิ่นซึ่งยากที่จะแยกออกจากกัน


           ส่วนพิธีกรรมในข้อ 4 เป็นพิธีกรรมที่พุทธบริษัท คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกาทั่วโลกต้องปฏิบัติร่วมกัน ปฏิบัติเหมือนกันในวันและเวลาเดียวกัน ถือว่าพิธีนี้เป็นสากลสำหรับชาวพุทธ ซึ่งจะได้กล่าวในรายละเอียดของแต่ละพิธีต่อไปดังนี้


               1. พิธีบูชาในวันมาฆบูชา พิธีนี้จะปฏิบัติกันในวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 กิจกรรมที่ปฏิบัติ มีดังนี้


               1) ประดับธงธรรมจักรที่วัด สถานที่ราชการ และอาคารบ้านเรือน
               2) ทำบุญตักบาตรที่วัด
               3) ฟังเทศน์
               4) เวียนเทียนรอบปูชนียสถาน 3 รอบ การเวียนเทียนนี้ปฏิบัติกันได้ทั้งวันตั้งแต่เช้าถึงเย็น ผู้ที่มาเวียนเทียนจะมาเป็นกลุ่ม เช่น ส่วนราชการ ทหาร ตำรวจ นักเรียน และประชาชน แต่ส่วนมากจะปฏิบัติกันเวลาเย็น


           การเวียนเทียนทุกคนจะถือเครื่องสักการะคือ ดอกไม้ ธูปเทียน เวลาเวียนเทียนจะจุดธูปเทียน เพื่อบูชาคุณพระพุทธเจ้า พระธรรมเจ้า และพระสังฆเจ้า


           ประวัติความเป็นมาของวันมาฆบูชา เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสรู้แล้วเป็นเวลา 9 เดือน ขณะที่พระองค์ประทับอยู่ ณ เวฬุวันมหาวิหาร กรุงราชคฤห์ ได้มีการประชุมพระสาวกครั้งใหญ่ เรียกการประชุมครั้งนี้ว่า จาตุรงคสันนิบาตŽ คือ การประชุมมีองค์ 4 ต่อไปนี้


           1) วันนั้นเป็นวันอุโบสถ ขึ้น 15 ค่ำ เดือนมาฆะ
           2) พระสาวก 1,250 องค์ มาประชุมกันเอง โดยมิได้นัดหมาย
           3) พระสาวกทั้งหมดนี้ล้วนเป็นพระอรหันต์
           4) พระอรหันต์สาวกเหล่านี้เป็นผู้ได้รับการอุปสมบทจากพระพุทธองค์เอง


           การประชุมครั้งนั้น เป็นการประชุมใหญ่ครั้งแรก พระองค์เห็นว่าเป็นโอกาสอันเหมาะที่จะได้ประกาศหลักพระพุทธศาสนา เพื่อให้พระสาวกถือไปเป็นนโยบายในการประกาศพระศาสนา จึงได้ทรงแสดง โอวาทปาฏิโมกข์Žแปลว่า หลักแห่งคำสอน


           โอวาทปาฏิโมกข์ ที่พระองค์ทรงแสดงนั้น ถือกันว่าเป็นหลักหรือหัวใจศาสนาพุทธเป็นภาษาบาลี 3 คาถา ซึ่งพอจะจับใจความได้ดังนี้


           "ความอดทนคือความอดกลั้นเป็นตบะอย่างยิ่ง พระพุทธเจ้าทั้งหลายกล่าวว่า   พระนิพพานเป็นธรรมยอดเยี่ยม บุคคลผู้ทำร้ายผู้อื่น หาได้เป็นบรรพชิตไม่ ผู้เบียดเบียนผู้อื่น ก็ไม่ชื่อว่าเป็นสมณะ


             การไม่ทำบาปทั้งปวง การทำความดีให้สมบูรณ์ การชำระจิตใจให้ผ่องใส นี้เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย


             การไม่กล่าวร้าย การไม่ทำร้าย การสำรวมในวินัย      ความรู้จักพอดีในเรื่องอาหาร การนอนการนั่งในที่อันสงบ การบำเพ็ญเพียรทางใจ นี้เป็น      คำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย"


               2. พิธีบูชาในวันวิสาขบูชา กระทำกันในวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 มีพิธีปฏิบัติและกิจกรรมเหมือนกันกับวันมาฆบูชา
  ประวัติความเป็นมาของพิธีบูชาวันวิสาขบูชา เนื่องจากวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 เป็นวันคล้ายวันประสูติ วันตรัสรู้ และวันปรินิพพานของพระพุทธเจ้า ชาวพุทธทั่วโลกจึงถือว่าวันนี้เป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา


               3. พิธีบูชาในวันอาสาฬหบูชา กระทำกันในวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 มีวิธีปฏิบัติและกิจกรรมเหมือนวันมาฆบูชา


               ประวัติความเป็นมาของพิธีบูชาในวันอาสาฬหบูชา คือ เป็นวันที่พระพุทธองค์ทรงแสดงปฐมเทศนา คือ ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร แก่ปัญจวัคคีย์ และเมื่อทรงแสดงธรรมจบแล้วอัญญาโกณฑัญญะซึ่งเป็นหัวหน้าเหล่าปัญจวัคคีย์ได้ดวงตาเห็นธรรม พระพุทธองค์ทรงประทานอุปสมบทแก่อัญญาโกณฑัญญะเป็นคนแรก วันนั้นจึงเป็นวันที่มีพระอริยสงฆ์อุบัติขึ้นในโลกเป็นครั้งแรก จึงทำให้พระรัตนตรัยครบบริบูรณ์ทั้ง 3 ประการ คือ พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ ชาวพุทธทั่วโลกจึงถือว่าวันอาสาฬหบูชาเป็นวันสำคัญทางศาสนาพุทธอีกวันหนึ่ง

ศิลพระ

พระภิกษุต้องถือศีล ๒๒๗ ข้ออันได้แก่

ศีล ๒๒๗ ข้อที่เป็นวินัยของสงฆ์ ทำผิดถือว่าเป็นอาบัติ สามารถแบ่งออกได้เป็นลำดับขั้น ตั้งแต่ขั้นรุนแรงจนกระทั่งเบาที่สุดได้ดังนี้ ได้แก่
ปาราชิก มี ๔ ข้อ
สังฆาทิเสส มี ๑๓ ข้อ
อนิยต มี ๒ ข้อ (อาบัติที่ไม่แน่ว่าจะปรับข้อไหน)
นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๓๐ ข้อ (อาบัติที่ต้องสละสิ่งของว่าด้วยเรื่องจีวร ไหม บาตร อย่างละ ๑๐ข้อ)
ปาจิตตีย์ มี ๙๒ ข้อ (ว่าด้วยอาบัติที่ไม่ต้องสละสิ่งของ)
ปาฏิเทสนียะ มี ๔ ข้อ (ว่าด้วยอาบัติที่พึงแสดงคืน)

เสขิยะ (ข้อที่ภิกษุพึงศึกษาเรื่องมารยาท) แบ่งเป็น
สารูปมี ๒๖ ข้อ (ความเหมาะสมในการเป็นสมณะ)
โภชนปฏิสังยุตต์ มี ๓๐ ข้อ (ว่าด้วยการฉันอาหาร)
ธัมมเทสนาปฏิสังยุตต์ มี ๑๖ ข้อ (ว่าด้วยการแสดงธรรม)
ปกิณสถะ มี ๓ ข้อ (เบ็ดเตล็ด)

อธิกรณสมถะ มี ๗ ข้อ (ธรรมสำหรับระงับอธิกรณ์)

รวมทั้งหมดแล้ว ๒๒๗ ข้อ ผิดข้อใดข้อหนึ่งถือว่าต้องอาบัติ การแสดงอาบัติสามารถกล่าวกับพระภิฏษุรูปอื่นเพื่อเป็นการแสดงตนต่อความผิดได้ แต่ถ้าถึงขั้นปาราชิกก็ต้องสึกอย่างเดียว

ปาราชิก มี ๔ ข้อได้แก่
๑. เสพเมถุน แม้กับสัตว์เดรัจฉานตัวเมีย (ร่วมสังวาสกับคนหรือสัตว์)
๒. ถือเอาทรัพย์ที่เจ้าของไม่ได้ให้มาเป็นของตน จากบ้านก็ดี จากป่าก็ดี (ขโมย)
๓. พรากกายมนุษย์จากชีวิต (ฆ่าคน)หรือแสวงหาศาสตราอันจะนำไปสู่ความตายแก่ร่างกายมนุษย์
๔. กล่าวอวดอุตตริมนุสสธัมม์ อันเป็นความเห็นอย่างประเสริฐ อย่างสามารถ น้อมเข้าในตัวว่า ข้าพเจ้ารู้อย่างนี้ ข้าพเจ้าเห็นอย่างนี้ (ไม่รู้จริง แต่โอ้อวดความสามารถของตัวเอง)

สังฆาทิเสส มี ๑๓ ข้อ ถือเป็นความผิดหากทำสิ่งใดต่อไปนี้ ๑.ปล่อยน้ำอสุจิด้วยความจงใจ เว้นไว้แต่ฝัน
๒.เคล้าคลึง จับมือ จับช้องผม ลูบคลำ จับต้องอวัยวะอันใดก็ตามของสตรีเพศ
๓.พูดจาหยาบคาย เกาะแกะสตรีเพศ เกี้ยวพาราสี 
๔.การกล่าวถึงคุณในการบำเรอตนด้วยกาม หรือถอยคำพาดพิงเมถุน 
๕.ทำตัวเป็นสื่อรัก บอกความต้องการของอีกฝ่ายให้กับหญิงหรือชาย แม้สามีกับภรรยา หรือแม้แต่หญิงขายบริการ 
๖.สร้างกุฏิด้วยการขอ
๗.สร้างวิหารใหญ่ โดยพระสงฆ์มิได้กำหนดที่ รุกรานคนอื่น
๘.แกล้งใส่ความว่าปาราชิกโดยไม่มีมูล
๙.แกล้งสมมุติแล้วใส่ความว่าปาราชิกโดยไม่มีมูล
๑๐.ยุยงสงฆ์ให้แตกกัน
๑๑.เป็นพวกของผู้ที่ทำสงฆ์ให้แตกกัน
๑๒.เป็นผู้ว่ายากสอนยาก และต้องโดนเตือนถึง 3 ครั้ง
๑๓. ทำตัวเป็นเหมือนคนรับใช้ ประจบคฤหัสถ์

อนิยตกัณฑ์ มี ๒ ข้อได้แก่
๑. การนั่งในที่ลับตา มีอาสนะกำบังอยู่กับสตรีเพศ และมีผู้มาเห็นเป็นผู้ที่เชื่อถือได้พูดขึ้นด้วยธรรม
๒. ในสถานที่ที่ไม่เป็นที่ลับตาเสียทีเดียว แต่เป็นที่ที่จะพูดจาค่อนแคะสตรีเพศได้สองต่อสองกับภิกษุผู้เดียว และมีผู้มาเห็นเป็นผู้ที่เชื่อถือได้พูดขึ้นด้วยธรรม 2 ประการอันใดอันหนึ่งกล่าวแก่ภิกษุนั้นได้แก่ สังฆาทิเสสก็ดี หรือปาจิตตีย์ก็ดี ภิกษุนั้นถือว่ามีความผิดตามที่อุบาสกผู้นั้นกล่าว
๓ ประการอันใดอันหนึ่งกล่าวแก่ภิกษุนั้นได้แก่ ปาราชิกก็ดี สังฆาทิเสสก็ดี หรือปาจิตตีย์ก็ดี ภิกษุนั้นถือว่ามีความผิดตามที่อุบาสกผู้นั้นกล่าว

นิสสัคคิยปาจิตตีย์ มี ๓๐ ข้อ ถือเป็นความผิดได้แก่
๑.เก็บจีวรที่เกินความจำเป็นไว้เกิน ๑๐ วัน
๒.อยู่โดยปราศจากจีวรแม้แต่คืนเดียว
๓.เก็บผ้าที่จะทำจีวรไว้เกินกำหนด ๑ เดือน 
๔.ใช้ให้ภิกษุณีซักผ้า     
๕.รับจีวรจากมือของภิกษุณี
๖.ขอจีวรจากคฤหัสถ์ที่ไม่ใช่ญาติ เว้นแต่จีวรหายหรือถูกขโมย 
๗.รับจีวรเกินกว่าที่ใช้นุ่ง เมื่อจีวรถูกชิงหรือหายไป
๘.พูดทำนองขอจีวรดีๆ กว่าที่เขากำหนดจะถวายไว้แต่เดิม     
๙.พูดให้เขารวมกันซื้อจีวรดีๆ มาถวาย 
๑๐.ทวงจีวรจากคนที่รับอาสาเพื่อซื้อจีวรถวายเกินกว่า ๓ ครั้ง 
๑๑.หล่อเครื่องปูนั่งที่เจือด้วยไหม       
๑๒.หล่อเครื่องปูนั่งด้วยขนเจียม (ขนแพะ แกะ) ดำล้วน
๑๓.ใช้ขนเจียมดำเกิน ๒ ส่วนใน ๔ ส่วน หล่อเครื่องปูนั่ง   
๑๔.หล่อเครื่องปูนั่งใหม่ เมื่อของเดิมยังใช้ไม่ถึง ๖ ปี 
๑๕.เมื่อหล่อเครื่องปูนั่งใหม่ ให้เอาของเก่าเจือปนลงไปด้วย   
๑๖.นำขนเจียมไปด้วยตนเองเกิน ๓ โยชน์ เว้นแต่มีผู้นำไปให้
๑๗.ใช้ภิกษุณีที่ไม่ใช้ญาติทำความสะอาดขนเจียม
๑๘.รับเงินทอง
๑๙.ซื้อขายด้วยเงินทอง
๒๐.ซื้อขายโดยใช้ของแลก
๒๑.เก็บบาตรที่มีใช้เกินความจำเป็นไว้เกิน ๑๐ วัน
๒๒.ขอบาตร เมื่อบาตรเป็นแผลไม่เกิน ๕ แห่ง
๒๓.เก็บเภสัช ๕ (เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย)ไว้เกิน ๗ วัน
๒๔.แสวงและทำผ้าอาบน้ำฝนไว้เกินกำหนด ๑ เดือนก่อนหน้าฝน
๒๕.ให้จีวรภิกษุอื่นแล้วชิงคืนในภายหลัง
๒๖.ขอด้ายเอามาทอเป็นจีวร
๒๗.กำหนดให้ช่างทอทำให้ดีขึ้น
๒๘.เก็บผ้าจำนำพรรษา (ผ้าที่ถวายภิกษุเพื่ออยู่พรรษา) เกินกำหนด
๒๙.อยู่ป่าแล้วเก็บจีวรไว้ในบ้านเกิน ๖ คืน
๓๐.น้อมลาภสงฆ์มาเพื่อให้เขาถวายตน

ปาจิตตีย์ มี ๙๒ ข้อได้แก่
๑.ห้ามพูดปด         
๒.ห้ามด่า         
๓.ห้ามพูดส่อเสียด     
๔.ห้ามกล่าวธรรมพร้อมกับผู้ไม่ได้บวชในขณะสอน 
๕.ห้ามนอนร่วมกับอนุปสัมบัน(ผู้ไม่ใช้ภิกษุ)เกิน ๓ คืน   
๖.ห้ามนอนร่วมกับผู้หญิง       
๗.ห้ามแสดงธรรมสองต่อสองกับผู้หญิง   
๘.ห้ามบอกคุณวิเศษที่มีจริงแก่ผู้มิได้บวช   
๙.ห้ามบอกอาบัติชั่วหยาบของภิกษุแก่ผู้มิได้บวช     
๑๐.ห้ามขุดดินหรือใช้ให้ขุด     
๑๑.ห้ามทำลายต้นไม้ 
๑๒.ห้ามพูดเฉไฉเมื่อถูกสอบสวน   
๑๓.ห้ามติเตียนภิกษุผู้ทำการสงฆ์โดยชอบ
๑๔.ห้ามทิ้งเตียงตั่งของสงฆ์ไว้กลางแจ้ง     
๑๕.ห้ามปล่อยที่นอนไว้ ไม่เก็บงำ
๑๖.ห้ามนอนแทรกภิกษุผู้เข้าไปอยู่ก่อน     
๑๗.ห้ามฉุดคร่าภิกษุออกจากวิหารของสงฆ์   
๑๘.ห้ามนั่งนอนทับเตียงหรือตั่งที่อยู่ชั้นบน     
๑๙.ห้ามพอกหลังคาวิหารเกิน ๓ ชั้น   
๒๐.ห้ามเอาน้ำมีสัตว์รดหญ้าหรือดิน       
๒๑.ห้ามสอนนางภิกษุณีเมื่อมิได้รับมอบหมาย 
๒๒.ห้ามสอนนางภิกษุณีตั้งแต่อาทิ ตย์ตกแล้ว 
๒๓.ห้ามไปสอนนางภิกษุณีถึงที่อยู่   
๒๔.ห้ามติเตียนภิกษุอื่นว่าสอนนางภิกษุณีเพราะเห็นแก่ลาภ   
๒๕.ห้ามให้จีวรแก่นางภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ     
๒๖.ห้ามเย็บจีวรให้นางภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ   
๒๗.ห้ามเดินทางไกลร่วมกับนางภิกษุณี 
๒๘.ห้ามชวนนางภิกษุณีเดินทางเรือร่วมกัน   
๒๙.ห้ามฉันอาหารที่นางภิกษุณีไปแนะให้เขาถวาย   
๓๐.ห้ามนั่งในที่ลับสองต่อสองกับภิกษุณี   
๓๑.ห้ามฉันอาหารในโรงพักเดินทางเกิน ๓ มื้อ 
๓๒.ห้ามฉันอาหารรวมกลุ่ม 
๓๓.ห้ามรับนิมนต์แล้วไปฉันอาหารที่อื่น 
๓๔.ห้ามรับบิณฑบาตเกิน ๓ บาตร   
๓๕.ห้ามฉันอีกเมื่อฉันในที่นิมนต์เสร็จแล้ว 
๓๖.ห้ามพูดให้ภิกษุที่ฉันแล้วฉันอีกเพื่อจับผิด
๓๗.ห้ามฉันอาหารในเวลาวิกาล
๓๘.ห้ามฉันอาหารที่เก็บไว้ค้างคืน 
๓๙.ห้ามขออาหารประณีตมาเพื่อฉันเอง   
๔๐.ห้ามฉันอาหารที่มิได้รับประเคน   
๔๑.ห้ามยื่นอาหารด้วยมือให้ชีเปลือยและนักบวชอื่นๆ 
๔๒.ห้ามชวนภิกษุไปบิณฑบาตด้วยแล้วไล่กลับ   
๔๓.ห้ามเข้าไปแทรกแซงในสกุลที่มีคน ๒ คน   
๔๔.ห้ามนั่งในที่ลับมีที่กำบังกับมาตุคาม (ผู้หญิง)
๔๕.ห้ามนั่งในที่ลับ (หู) สองต่อสองกับมาตุคาม
๔๖.ห้ามรับนิมนต์แล้วไปที่อื่นไม่บอกลา 
๔๗.ห้ามขอของเกินกำหนดเวลาที่เขาอนุญาตไว้
๔๘.ห้ามไปดูกองทัพที่ยกไป
๔๙.ห้ามพักอยู่ในกองทัพเกิน ๓ คืน
๕๐.ห้ามดูเขารบกันเป็นต้น เมื่อไปในกองทัพ
๕๑.ห้ามดื่มสุราเมรัย
๕๒.ห้ามจี้ภิกษุ
๕๓.ห้ามว่ายน้ำเล่น
๕๔.ห้ามแสดงความไม่เอื้อเฟื้อในวินัย
๕๕.ห้ามหลอกภิกษุให้กลัว
๕๖.ห้ามติดไฟเพื่อผิง
๕๗.ห้ามอาบน้ำบ่อยๆเว้นแต่มีเหตุ
๕๘.ให้ทำเครื่องหมายเครื่องนุ่งห่ม
๕๙.วิกัปจีวรไว้แล้ว (ทำให้เป็นสองเจ้าของ-ให้ยืมใช้) จะใช้ต้องถอนก่อน
๖๐.ห้ามเล่นซ่อนบริขารของภิกษุอื่น
๖๑.ห้ามฆ่าสัตว์
๖๒.ห้ามใช้น้ำมีตัวสัตว์
๖๓.ห้ามรื้อฟื้นอธิกรณ์(คดีความ-ข้อโต้เถียง)ที่ชำระเป็นธรรมแล้ว
๖๔.ห้ามปกปิดอาบัติชั่วหยาบของภิกษุอื่น
๖๕.ห้ามบวชบุคคลอายุไม่ถึง ๒๐ ปี
๖๖.ห้ามชวนพ่อค้าผู้หนีภาษีเดินทางร่วมกัน
๖๗.ห้ามชวนผู้หญิงเดินทางร่วมกัน
๖๘.ห้ามกล่าวตู่พระธรรมวินัย (ภิกษุอื่นห้ามและสวดประกาศเกิน ๓ ครั้ง)
๖๙.ห้ามคบภิกษุผู้กล่าวตู่พระธรรมวินัย
๗๐.ห้ามคบสามเณรผู้กล่าวตู่พระธรรมวินัย
๗๑.ห้ามพูดไถลเมื่อทำผิดแล้ว
๗๒.ห้ามกล่าวติเตียนสิกขาบท
๗๓.ห้ามพูดแก้ตัวว่า เพิ่งรู้ว่ามีในปาฏิโมกข์
๗๔.ห้ามทำร้ายร่างกายภิกษุ
๗๕.ห้ามเงื้อมือจะทำร้ายภิกษุ
๗๖.ห้ามโจทภิกษุด้วยอาบัติสังฆาทิเสสที่ไม่มีมูล
๗๗.ห้ามก่อความรำคาญแก่ภิกษุอื่น
๗๘.ห้ามแอบฟังความของภิกษุผู้ทะเลาะกัน
๗๙.ให้ฉันทะแล้วห้ามพูดติเตียน
๘๐.ขณะกำลังประชุมสงฆ์ ห้ามลุกไปโดยไม่ให้ฉันทะ
๘๑.ร่วมกับสงฆ์ให้จีวรแก่ภิกษุแล้ว ห้ามติเตียนภายหลัง
๘๒.ห้ามน้อมลาภสงฆ์มาเพื่อบุคคล
๘๓.ห้ามเข้าไปในตำหนักของพระราชา
๘๔.ห้ามเก็บของมีค่าที่ตกอยู่
๘๕.เมื่อจะเข้าบ้านในเวลาวิกาล ต้องบอกลาภิกษุก่อน
๘๖.ห้ามทำกล่องเข็มด้วยกระดูก งา หรือเขาสัตว์
๘๗.ห้ามทำเตียง ตั่งมีเท้าสูงกว่าประมาณ
๘๘.ห้ามทำเตียง ตั่งที่หุ้มด้วยนุ่น
๘๙.ห้ามทำผ้าปูนั่งมีขนาดเกินประมาณ
๙๐.ห้ามทำผ้าปิดฝีมีขนาดเกินประมาณ
๙๑.ห้ามทำผ้าอาบน้ำฝนมีขนาดเกินประมาณ
๙๒.ห้ามทำจีวรมีขนาดเกินประมาณ

ปาฏิเทสนียะ มี ๔ ข้อได้แก่
๑. ห้ามรับของคบเคี้ยว ของฉันจากมือภิกษุณีมาฉัน
๒. ให้ไล่นางภิกษุณีที่มายุ่งให้เขาถวายอาหาร
๓. ห้ามรับอาหารในสกุลที่สงฆ์สมมุติว่าเป็นเสขะ (อริยบุคคล แต่ยังไม่ได้บรรลุเป็นอรหันต์)
๔. ห้ามรับอาหารที่เขาไม่ได้จัดเตรียมไว้ก่อนมาฉันเมื่ออยู่ป่า

เสขิยะ
สารูป มี ๒๖ ข้อได้แก่
๑.นุ่งให้เป็นปริมณฑล (ล่างปิดเข่า บนปิดสะดือไม่ห้อยหน้าห้อยหลัง)
๒.ห่มให้เป็นนปริมณฑล (ให้ชายผ้าเสมอกัน)
๓.ปกปิดกายด้วยดีไปในบ้าน       
๔.ปกปิดกายด้วยดีนั่งในบ้าน   
๕.สำรวมด้วยดีไปในบ้าน
๖.สำรวมด้วยดีนั่งในบ้าน   
๗.มีสายตาทอดลงไปในบ้าน (ตาไม่มองโน่นมองนี่)
๘.มีสายตาทอดลงนั่งในบ้าน     
๙.ไม่เวิกผ้าไปในบ้าน
๑๐.ไม่เวิกผ้านั่งในบ้าน   
๑๑.ไม่หัวเราะดังไปในบ้าน   
๑๒.ไม่หัวเราะดังนั่งในบ้าน   
๑๓.ไม่พูดเสียงดังไปในบ้าน       
๑๔.ไม่พูดเสียงดังนั่งในบ้าน
๑๕.ไม่โคลงกายไปในบ้าน
๑๖.ไม่โคลงกายนั่งในบ้าน
๑๗.ไม่ไกวแขนไปในบ้าน
๑๘.ไม่ไกวแขนนั่งในบ้าน
๑๙.ไม่สั่นศีรษะไปในบ้าน
๒๐.ไม่สั่นศีรษะนั่งในบ้าน
๒๑.ไม่เอามือค้ำกายไปในบ้าน
๒๒.ไม่เอามือค้ำกายนั่งในบ้าน
๒๓.ไม่เอาผ้าคลุมศีรษะไปในบ้าน
๒๔.ไม่เอาผ้าคลุมศีรษะนั่งในบ้าน
๒๕.ไม่เดินกระโหย่งเท้า ไปในบ้าน
๒๖.ไม่นั่งรัดเข่าในบ้าน

โภชนปฏิสังยุตต์มี ๓๐ ข้อคือหลักในการฉันอาหารได้แก่ 
๑.รับบิณฑบาตด้วยความเคารพ
๒.ในขณะบิณฑบาต จะแลดูแต่ในบาตร   
๓.รับบิณฑบาตพอสมส่วนกับแกง (ไม่รับแกงมากเกินไป)   
๔.รับบิณฑบาตแค่พอเสมอขอบปากบาตร 
๕.ฉันบิณฑบาตโดยความเคารพ
๖.ในขณะฉันบิณฑบาต และดูแต่ในบาตร 
๗.ฉันบิณฑบาตไปตามลำดับ (ไม่ขุดให้แหว่ง) 
๘.ฉันบิณฑบาตพอสมส่วนกับแกง ไม่ฉันแกงมากเกินไป 
๙.ฉันบิณฑบาตไม่ขยุ้มแต่ยอดลงไป   
๑๐.ไม่เอาข้าวสุกปิดแกงและกับด้วยหวังจะได้มาก
๑๑.ไม่ขอเอาแกงหรือข้าวสุกเพื่อประโยชน์แก่ตนมาฉัน หากไม่เจ็บไข้ 
๑๒.ไม่มองดูบาตรของผู้อื่นด้วยคิดจะยกโทษ   
๑๓.ไม่ทำคำข้าวให้ใหญ่เกินไป   
๑๔.ทำคำข้าวให้กลมกล่อม   
๑๕.ไม่อ้าปากเมื่อคำข้าวยังมาไม่ถึง 
๑๖.ไม่เอามือทั้งมือใส่ปากในขณะฉัน
๑๗.ไม่พูดในขณะที่มีคำข้าวอยู่ในปาก
๑๘.ไม่ฉันโดยการโยนคำข้าวเข้าปาก
๑๙.ไม่ฉันกัดคำข้าว
๒๐.ไม่ฉันทำกระพุ้งแก้มให้ตุ่ย
๒๑.ไม่ฉันพลางสะบัดมือพลาง
๒๒.ไม่ฉันโปรยเมล็ดข้าว
๒๓.ไม่ฉันแลบลิ้น
๒๔.ไม่ฉันดังจับๆ
๒๕.ไม่ฉันดังซูดๆ
๒๖.ไม่ฉันเลียมือ
๒๗.ไม่ฉันเลียบาตร
๒๘.ไม่ฉันเลียริมฝีปาก
๒๙.ไม่เอามือเปื้อนจับภาชนะน้ำ
๓๐.ไม่เอาน้ำล้างบาตรมีเมล็ดข้าวเทลงในบ้าน

ธัมมเทสนาปฏิสังยุตต์ มี ๑๖ ข้อคือ
๑.ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่มีร่มในมือ 
๒.ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่มีไม้พลองในมือ
๓.ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่มีของมีคมในมือ 
๔.ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่มีอาวุธในมือ
๕.ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่สวมเขียงเท่า (รองเท้าไม้) ๑   
๖.ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่สวมรองเท้า 
๗.ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่ไปในยาน 
๘.ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่อยู่บนที่นอน 
๙.ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่นั่งรัดเข่า
๑๐.ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่โพกศีรษะ
๑๑.ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่คลุมศีรษะ
๑๒.ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่อยู่บนอาสนะ (หรือเครื่องปูนั่ง) โดยภิกษุอยู่บนแผ่นดิน
๑๓.ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่นั่งบนอาสนะสูงกว่าภิกษุ
๑๔.ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่นั่งอยู่ แต่ภิกษุยืน
๑๕.ภิกษุเดินไปข้างหลังไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่เดินไปข้างหน้า
๑๖.ภิกษุเดินไปนอกทางไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่ไปในทาง

ปกิณสถะ มี ๓ ข้อ
๑. ภิกษุไม่เป็นไข้ไม่ยืนถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ
๒. ภิกษุไม่เป็นไข้ไม่ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ หรือบ้วนน้ำลายลงในของเขียว (พันธุ์ไม้ใบหญ้าต่างๆ)
๓. ภิกษุไม่เป็นไข้ไม่ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ หรือบ้วนน้ำลายลงในน้ำ อธิกรณสมถะ มี ๗ ข้อได้แก่
๑. ระงับอธิกรณ์ (คดีความ หรือความที่ตกลงกันไม่ได้) ในที่พร้อมหน้า (บุคคล วัตถุ ธรรม)
๒. ระงับอธิกรณ์ (คดีความ หรือความที่ตกลงกันไม่ได้) ด้วยการยกให้ว่าพระอรหันต์เป็นผู้มีสติ
๓. ระงับอธิกรณ์ (คดีความ หรือความที่ตกลงกันไม่ได้) ด้วยยกประโยชน์ให้ในขณะเป็นบ้า
๔. ระงับอธิกรณ์ (คดีความ หรือความที่ตกลงกันไม่ได้) ด้วยถือตามคำรับของจำเลย
๕. ระงับอธิกรณ์ (คดีความ หรือความที่ตกลงกันไม่ได้) ด้วยถือเสียงข้างมากเป็นประมาณ
๖. ระงับอธิกรณ์ (คดีความ หรือความที่ตกลงกันไม่ได้) ด้วยการลงโทษแก่ผู้ผิด
๗. ระงับอธิกรณ์ (คดีความ หรือความที่ตกลงกันไม่ได้) ด้วยให้ประนีประนอมหรือเลิกแล้วกันไป

พระในพระพุทธศาสนา

สรุปพระภิกษุฝ่ายอรัญวาส ในพระพุทธศาสนา พระภิกษุ แบ่งออกได้เป็นสองฝ่าย คือ
o ฝ่ายปริยัติ ได้แก่ พระภิกษุ ที่มุ่งศึกษาศาสนธรรม จากตำราจากคัมภีร์ ส่วนมาก พำนักอยู่ที่วัด ในเมือง หรือชุมชน จึงเรียกว่า พระฝ่ายคามวาสี หรือพระบ้าน
o พระภิกษุอีกฝ่ายหนึ่ง มุ่งศึกษาโดยการกระทำ หรือลงมือปฏิบัติ และพำนักอยู่ ตามป่าตามเขา ที่สงบ สงัด สะดวกต่อการปฏิบัติ จึงเรียกว่า พระฝ่ายอรัญวาสี หรือ พระป่า หรือ พระธุดงคกรรมฐาน
พระภิกษุ ได้รับการยกย่อง นับถือว่า เป็นพระบุพพาจารย์ใหญ่ แห่ง กองทัพธรรมพระธุดงคกรรมฐาน ในประเทศไทย ได้แก่ท่านหลวงปู่มั่น ภูริทัตตตมหาเถร ผู้ได้บำเพ็ญความเพียรในขั้นเอกอุจนบรรลุ ถึงธรรมชั้นสูงสุด ดังมีหลักฐานปรากฎ คืออัฐิของท่านกลายเป็น พระธาตุดังที่มีบรรยาไว้ว่าเป็นลักษณะของพระอรหันตสาวก ซึ่ง ปัจจุบันได้นำมาประดิษฐาน ณ วัดป่าสุทธาวาส จังหวัดสกลนคร พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ท่านเป็นพระอาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสสนากรรมฐานที่มีลูกศิษย์จำนวนมาก อาทิ

หลวงปู่ขาว อนาลโย วัดถ้ำกลองเพล จ.อุดรธานี
หลวงปู่ดุลย์ อตุโล วัดบูรพาราม จ.สุรินทร์
หลวงปู่ฝั้น อาจาโร วัดป่าอุดมสมพร จ.สกลนคร
หลวงปู่แหวน สุจิณโณ วัดดอยแม่ปั๋ง จ.เชียงใหม่
หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี วัดหินหมากเป้ง จ.หนองคาย
หลวงปู่สิม พุทธาจาโร วัดถ้ำผาปล่อง จ.เชียงใหม่
หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน วัดป่าบ้านตาด จ.อุดรธานี
หลวงปู่สมชาย ฐิตวิริโย วัดเขาสุกิม จ. จันทบุรี
หลวงปู่วิริยังค์ สิรินธโร วัดธรรมมงคล กรุงเทพฯ เป็นต้น


พระคุณเจ้าทั้งหลายนี้ได้สืบต่อการปฏิบัติข้อวัตรตามแนวทางของท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ในกาลต่อมาเมื่อศิษย์ในสายพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโตหลายองค์ถึงแก่มรณภาพอัฐิของท่าน ก็ได้ แปรสภาพ ไปในทำนองเดียวกับ ของพระอาจารย์มั่น อาทิ อัฐิธาตุ ของหลวงปู่ขาว อนาลโย ของท่าน พระอาจารย์จวน กุลเชฏโฐ ประกอบกับ ความเค่งครัด ในวินัย และศีลาจารวัติ ได้เสริมสร้าง ศรัทธา ของ ประชาชน ในการปฏิบัติกรรมฐาน เพิ่มมากขึ้น และเป็นเหตุแห่ง การฟื้นฟู วัดป่า และชักจูงให้ มีผู้บวช เป็นพระป่า พระสายปฏิบัติกรรมฐาน เพิ่มมากขึ้น เช่นกัน

สำหรับ ผู้ที่เคยเข้าไป สัมผัสวัดป่า เป็นครั้งแรก ความรู้สึก ที่กระทบจิตใจ เมื่อย่างเข้า ถึงเขต วัดป่าคือ "ความร่มรื่น" ซึ่งเกิดจากต้นไม้น้อยใหญ่ภายในวัด สิ่งกระทบใจประการที่สอง คือ ความสะอาด และมีระเบียบ "ความสงบเงียบ" ไม่อึกทึกพลุกพล่าน ต้นไม้ ธรรมชาติ จะได้รับการรักษา ให้ยืนย คงอยู่

กุฏิเสนาสนะ ที่พำนักของพระป่า จะปลูกสร้าง อย่างเรียบง่าย สมถะ ด้วยวัสดุพื้น ๆ เว้นแต่ บางแห่ง ที่มีคณะศรัทธา ญาติโยม สร้างถวาย ก็อาจใช้วัสดุ หรือการก่อสร้าง ที่พิถีพิถัน แต่บางแห่ง ท่านก็ไม่ยอมให้สร้างใหญ่โต หรือพิถีพิถัน เกินไป เพราะแกรงว่า จะทำให้ พระ คุ้นกับความสบาย จน "ติดสุข" ไม่อยากออกไป เผชิญความลำบาก ในการออกเดินธุดงค์ ซึ่งเป็นภารกิจ ที่สำคัญ ของพระป่า

โดยทั่วไป ภายในกุฏิ ของพระป่า จะมีเพียงกลด พร้อมด้วยมุ้งกลด เสื่อ ปูนอน เครื่องอัฐบริขาร ผ้าห่มนอน จีวร ตะเกียง หรือเทียนไข และหนังสือ ที่หัวนอน อาจมีหิ้งพระ รูปพระอาจารย์ต่างๆ ส่วนของมีค่า อุปกรณ์ อำนวยความสะดวกสบายนั้น ท่านไม่สะสม กุฏิแต่ละหลัง ผู้พำนักอาศัย ต้องรักษา ให้สะอาด ทั้งในกุฏิ และบริเวณ

พวกชาวเมือง ที่ได้ไปเยือนวัดป่าครั้งแรก มักจะแปลกใจว่า นี่ท่านทำอย่างไร วัดจึงสะอาดฉะนี้ ทั้งๆ ที่ มีต้นไม้ เต็มไปหมด ทุกแห่ง ทางเดินของท่าน ก็โล่งเตียน ห้องน้ำ ก็สะอาด ศาลา ก็สะอาด คำตอบคือ พระป่า ท่านปฏิบัติ ตามพระวินัย ท่านต้องรักษา เสนาสนะ ที่อยู่อาศัย และบริเวณ ให้สะอาด ทุก ๆ วัน เวลาประมาณ บ่ายสามโมง เป็นเวลา ปัดกวาดลานวัด ซึ่งปกติท่าน สมภาร หรือ ประธานสงฆ์ ก็จะลงมือกวาด ด้วย ยกเว้น ก็แต่ ผู้อาพาธ เท่านั้น งานปัดกวาดนี้ ใช้แรงมาก เพราะ ไม้กวาดหนัก และด้ามยาวกว่า จะแล้วเสร็จ ก็เหงื่อท่วมตัว ซึ่งเท่ากับ เป็นการออกกำลังกาย ไปในตัว พระป่าท่าน เดินจงกรม เดินบิณฑบาต ทุกวัน ถูศาลา ทุกวัน และกวาดวัด ทุกวัน ท่านจึงแข็งแรง และสุขภาพดี

พระพุทธศาสนา เป็นตัวอย่าง ของประชาธิปไตย ตั้งแต่เริ่มเข้ามาบวช เป็นสมาชิกของวัด ก็ต้อง ผ่านการลงมติ ของคณะสงฆ์ เสียก่อน ข้าวของต่างๆ ที่มีผู้ถวายแก่วัด ย่อมเป็นของกลาง ใครจะ นำไป เป็นประโยชน์ ส่วนตัว ไม่ได้ ทุกคน มีส่วนที่จะ ได้รับประโยชน์ จากของสงฆ์ ถ้ามีการพิพาทกัน ก็ต้อง ตั้งกรรมการ พิจารณา เหล่านี้ เป็นตัวอย่าง ของประชาธิปไตย แต่เป็นแบบพุทธ คือ เป็นการสมัครใจ ไม่บังคับ ถ้าไม่พอใจ ก็ไปที่อื่นเสีย แล้วก็ยังมีคาราวะ มีอาวุโส มีบารมี มีกรรม มีวิบาก ไม่ใช่ทุกคน เท่ากันหมด อาหารที่บิณฑบาต มาได้ จะนำมารวมกันก่อน แล้วจึงแจกไป ให้ทั่วถึง

พระป่า ท่านมีคติ อีกอย่างหนึ่ง คือ ไม่ว่าวันไหน จะบิณฑบาต ได้ภัตตาหาร มากน้อย เท่าใด ต้อง ฉันแต่น้อย แต่พอดี แม้จะมีอาหาร ล้นเหลือ ก็จะไม่ฉัน จนอิ่มตื้อ เพราะ ถ้าทำเช่นนั้น จะง่วง ภาวนา ไม่ได้ นอกจาก ระวังไม่ฉันมากแล้ว พระป่า ท่านยังระวัง ไม่ให้ติด รสอาหาร ด้วย โดยการหลีกเลี่ยง อาหารที่อร่อย ทั้งนี้ เพราะเกรงว่าจะ "ติดสุข" นั่นเอง ในเวลาฉัน ต้องพิจารณา ตามแบบ ที่พระพุทธเจ้า ทรงสอน พูดง่าย ๆ คือว่า กินเพื่ออยู่ เพื่อประทังชีวิต ประทังความหิว ท่านจึงเงียบสงบ ระหว่างฉัน ไม่สนทนาพาที อะไรกัน เพราะท่านต้อง พิจารณาอาหาร ไปด้วย

กิจวัตร ของพระป่า คือ ตื่นนอน ตั้งแต่ตีสาม หรือตีสี่ เพื่อปฏิบัติภาวนา สวดมนต์ ทำวัตรเช้า ทำกิจส่วนตัว แล้วเตรียมตัว ออกบิณฑบาต ครั้นรุ่งอรุณ พระป่า จากอรัญญวาสี จะออกบิณฑบาต เป็นแถว เป็นแนว เป็นระเบียบ

บรรยากาศ ยามรุ่งอรุณ กลิ่นไอธรรมชาติ ความบริสุทธิ์ ของชนบท ดวงหน้า ที่เอิบอิ่มใน บุญกุศล ของชาวบ้าน เป็นภาพชีวิต อันประทับใจ ผู้ได้สัมผัส พระป่าจะต้อง ออกบิณฑบาต ทุกวัน นอกจาก อาพาธ หรือเดินไม่ได้ ตามปกติ วัดป่า ต้องอยู่ ห่างหมู่บ้าน เพื่อให้พ้นจาก การรบกวน คน สัตว์ และ เสียงอึกทึก แต่ต้องไม่ไกล เกินไป จนเดินไปบิณฑบาต ไม่ไหว โดยมาก เว้นระยะห่าง จากหมู่บ้าน ประมาณ 2-3 กิโลเมตร ซึ่งพอจะเดินไปกลับ ได้ภายใน หนึ่งชั่วโมง

ารอบรม พระป่า ตามวัดต่างๆ ในสายท่าน พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต จะอาศัยหลัก อย่างเดียวกัน แต่การปฏิบัติ แตกต่างกันไป ตามความเห็น และความถนัด ของท่านอาจารย์ ทุกวัด มีการเน้นเรื่อง ศีล พระป่า ทุกองค์ จะต้องรักษาศีล อย่างบริสุทธิ์

ในการะบวนไตรสิกขา ศีลเป็นข้อที่ ง่ายที่สุด และเท่ากับ เป็นเครื่องทดสอบ พระภิกษุ เพราะ การรักษาศีล ต้องการเพียง ความตั้งใจ เท่านั้น ถ้าผู้ใด รักษาศีล ให้บริสุทธิ์ ไม่ได้ ผู้นั้น ก็ไม่มีหวัง ที่จะก้าวหน้า ไปถึงธรรมชั้นสูง ศีลเป็นเครื่องรองรับ หรือเป็นฐาน ของสมาธิ ทำให้สมาธิ เกิดง่าย และตั้งอยู่ โดยมั่นคง ศีลต้องดีก่อน สมาธิ จึงจะดีได้

นอกจากนั้น ในการออกธุดงค์ แสวงหา ที่สัปปายะ สำหรับอบรมจิต จะต้องฝ่าอันตราย ต่าง ๆ นานา พระธุดงคกรรมฐาน หรือพระป่า ท่านมีความเชื่อมั่นว่า ศีลที่บริสุทธิ์ จะเป็นเกราะกำบัง ที่ดีที่สุด พระอาจารย์ชั้นผู้ใหญ่ แต่ละองค์ มีประวัติ บุกป่าฝ่าดง ไปในแดนสัตว์ร้าย เช่น เสือ ช้าง และงู ทนแดด ทนฝน ทนลมหนาว ต้องผจญกับ มนุษย์ ที่ถูกอวิชชาครอบงำ…. แต่เพราะท่าน รักษาศีลบริสุทธิ์ สัตว์ร้าย หรือคนร้าย ตลอดจน สภาวอากาศ ที่แปรปรวน ก็ไม่อาจ ทำอันตรายท่านได้ เพราะฉะนั้น พระป่า ที่จะออกธุดงค์ จะต้องแน่ใจว่า ศีลของท่าน บริสุทธิ์จริง ๆ เพื่อให้มั่นใจ ในข้อนี้ และแน่ใจว่า จะไม่พลั้งเผลอ ท่านจึงรักษาศีล ให้บริสุทธิ์อยู่ เสมอ

ในวัดป่า จะมีการไหว้พระ สวดมนต์ร่วมกัน การสวดมนต์ มีผลให้ใจสงบลง เป็นการเตรียม สำหรับ การภาวนาต่อไป ตามปกติ เมื่อฉันเสร็จ จัดการชำระล้าง ทำความสะอาด บาตร เรียบร้อยแล้ว พระป่า ท่านจะกลับกุฏิ มาลงมือภาวนา ส่วนมาก มักจะเริ่มด้วยการ เดินจงกรม เพื่อแก้อาการง่วง ซึ่งอาจเกิดขึ้น ภายหลังฉันอาหาร ใกล้ ๆ กับกุฏิ ทุกหลัง จะมีลานเดินจงกรม กว้างประมาณ 1 เมตร ยาวประมาณ 10-15 เมตร ระหว่างเดิน อาจบริกรรมภาวนา หรือพิจารณา เกี่ยวกับสังขาร ร่างกาย จุดประสงค์ เพื่อให้เกิดความสงบ เกิดสมาธิ หรือปัญญา เมื่อหยุดเดิน ก็เข้าที่นั่งภาวนา พอเมื่อย หรือ ง่วง ก็ออกมาเดินอีก สลับกันไป ในการภาวนา พระป่า สายท่าน พระอาจารย์เสาร์ กันตสีโล และ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต จะใช้บริกรรม "พุทโธ" รวมกับอานาปานสติ เช่น หายใจเข้านึก พุท หายใจออกนึก โธ หายใจเข้านึก พุท หายใจออกนึก โธ ซึ่งวิธีเหล่านี้ ใช้กันโดยทั่วๆ ไป

ครูบาอาจารย์ จะคอยติดตาม การดำเนินของการปฏิบัติ อยู่เสมอ โดยการซักถาม ปรากฎการณ์ ทางจิต ของศิษย์ จึงสามารถ ดัดแปลงแก้ไข การปฏิบัติ ให้เหมาะสม กับภาวะ ของแต่ละคน ช่วยให้ได้ ผลดีขึ้น ไปเรื่อย ๆ ถ้าหากมีอะไร แทรกแซงขึ้นมา เช่น นิมิตเห็น ภูตผีปีศาจ หรือยักษ์ เห็นมาร อาจารย์ ก็จะชี้แจง ให้ทราบความหมาย ของนิมิตนั้น ๆ และบอกวิธี ที่จะป้องกัน ไม่ให้เกิดขึ้น ต่อไป หลักสำคัญ ประการหนึ่ง ซึ่งท่านอาจารย์ ในสายของท่าน พระอาจารย์มั่น เน้นอยู่เสมอ คือ
"ธรรมะทั้งหลาย อยู่ภายในกาย ของเราเอง"
ในการพิจารณา ให้ส่งจิต เข้าภายในกาย ไม่ให้ส่งออก ไปภายนอก เพราะนอกจาก จะไม่ได้ ประโยชน์แล้ว ยังจะเกิดการล่องลอย ของจิตอีกด้วย การแสดงธรรมของ พระป่า ไม่มีพิธีรีตองอะไร มากนัก แต่จะเน้นที่ เนื้อหาสาระ ใช้ภาษา สำนวน ที่ฟังง่าย เข้าใจง่าย ตรงไปตรงมา

การอบรมจิต แนะนำ การเจริญภาวนา วิปัสสนากรรมฐาน เป็นภาระกิจ ที่ครูอาจารย์ จะต้องให้การ อบรม แนะนำแก่ศิษย์ ทั้งที่เป็นพระภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา และชาวบ้านทั่วไป

ปฏิปทาศีลาจารวัตร ของครูบาอาจารย์ใหญ่ พระอาจารย์เสาร์ กันตสีโล พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต และสานุศิษย์ของท่าน อีกหลายองค์ เป็นประทีปนำทาง ให้พระป่า มีความวิริยะ อุตสาหะ ในการบำเพ็ญ ความเพียร เพราะเห็นแสงสว่าง ข้างหน้า ขอเพียงให้เดินโดยถูกทาง ถูกวิธี ไม่ย้อท้อ ต่อความยากแค้น และอุปสรรคทั้งมวล

พระป่า พระธุดงค์กรรมฐาน เป็นผู้ชูธงชัย แห่งกองทัพธรรม ของพระพุทธองค์ เป็นผู้ วีรอาจหาญ เป็นนักรบ ที่จะสู้ กับกิเลสตันหา ความดิ้นรน ทะยานอยาก เพื่อมุ่งสู่จุดหมาย คือ มรรคผล นิพพาน ตามรอยพระยุคลบาท พระบรมศาสดา สัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้รู้. ผู้ตื่น. ผู้เบิกบาน.

ธุดงควัตร 13

1. ถือการนุ่งห่มผ้าบังสุกุลเป็นวัตร
2. ถือการนุ่งห่มผ้าสามผืนเป็นวัตร
3. ถือการบิณฑบาตเป็นวัตร
4. ถือการบิณฑบาตไปโดยลำดับแถวเป็นวัตร
5. ถือการฉันจังหันมื้อเดียวเป็นวัตร
6. ถือการฉันในภาชนะเดียวคือฉันในบาตรเป็นวัตร
7. ถือการห้ามภัตตาหารที่เขานำมาถวายภายหลังเป็นวัตร
8. ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร
9. ถือการอยู่โคนต้นไม้เป็นวัตร
10. ถือการอยู่อัพโภกาสที่แจ้งเป็นวัตร
11. ถือการอยู่ป่าช้าเป็นวัตร
12. ถือการอยู่ในเสนาสนะตามมีตามได้เป็นวัตร
13. ถือเนสัชชิกังคธุดงค์ คือการไม่นอนเป็นวัตร
การถือธุดงคบำเพ็ญได้ด้วยการสมาทานคือด้วยอฐิษฐานใจ หรือแม้นด้วยการเปล่งวาจา คุณประโยชน์ของธุดงควัตร คือ การยังชีพโดยบริสุทธิ์ มีผลเป็นสุข เป็นของไม่มีโทษ บำบัดความทุกข์ของผู้อื่นเสีย เป็นของไม่มีภัย เป็นของไม่เบียดเบียน มีแต่เจริญฝ่ายเดียว ไม่เป็นเหตุให้เสื่อม ไม่มีมารยาหลอกลวงไม่ขุ่นมัว เป็นเครื่องป้องกัน เป็นเหตุให้สำเร็จสิ่งที่ปรารถนา กำจัดเสียซึ่งศัสตราทั้งปวง มีประโยชน์ในทางสำรวมเป็นเครื่องสมควรแก่สมณะ ทำให้สงบยิ่ง เป็นเหตุให้หลุดพ้น เป็นเหตุให้สิ้นราคะ เป็นการระงับเสียซึ่งโทสะทำโมหะให้ พินาศไปเป็นการกำจัดเสีย ซึ่งมานะ เป็นการตัดเสีย ซึ่งวิตกชั่ว ทำให้ข้ามความสงสัยได้ กำจัดเสียซึ่งความเกียจคร้าน กำจัดเสีย ซึ่งความไม่ยินดีในธรรม เป็นเหตุให้มีความอดทน เป็นของชั่งไม่ได้เป็นของหาประมาณมิได้ และทำให้สิ้นทุกข์ทั้งปวง

อานิสงส์ การปฏิบัติธุดงควัตร ทำให้พระป่าที่จาริกไป ตามป่าเขา พำนักตามโคนไม้ เพิงผาและ ตามถ้ำเป็นอยู่อย่างสมถะ เสียสละ ลดละอุปโภคบริโภค ทำให้จิตของท่าน เป็นอิสระพ้นจาก พันธนาการเครื่องร้อยรัดขัดขวาง สู่ความเบาสบาย สงบเอื้อต่อการเจริญสมาธิภาวนา บำเพ็ญความเพียร การท่องไป ในป่าที่ดารดาษ ไปด้วยสิงสาราสัตว์ ภัยอันตราย เป็นการฝึกจิต หลอมใจ ให้เข้มแข็ง มีสติระลึกรู้ มีบทบริกรรม พุทโธ อยู่กับสายลมหายใจ การเจริญสติ ก่อให้เกิดสมาธิ และจิตตานุภาพ พระธุดงคกรรมฐาน สายท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโตจะผ่านการประหารกิเลส ด้วยธุดงควัตร จิตของพระคุณเจ้า จึงมั่นคง เข้มแข็งด้วย ศีลสมาธิปัญญาศรัทธาความเพียร

พระป่า สายท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ผู้มอบกายถวายชีวิต ในพระพุทธศาสนา ดำเนิน เดินตามทางรอยธรรม พ่อแม่ครูอาจารย์ ธุดงคจาริกไป ตามวนาป่าเขา เพื่อผลานิสงส์ ในการเพิ่มพูน บารมีธรรมแห่งพระบรมศาสดา สัมมาสัมพุทธเจ้า เพื่อมรรคผล นิพพาน เพื่อสงเคราะห์โลก แลสรรพสัตว์ เป็นเนื้อนาบุญของพระพุทธศาสนา เป็นขุนพลกล้า แห่งกองทัพธรรมพระกรรมฐาน ที่มีคุณูปการ อเนกอนันต์ ตราบนิรันดร์สมัย